เคยรู้รึเปล่า? "ค่าธรรมเนียมชาร์จบัตรเครดิต" ไม่จ่ายก็ได้นะ!

icon 19 มี.ค. 61 icon 68,578
เคยรู้รึเปล่า? "ค่าธรรมเนียมชาร์จบัตรเครดิต" ไม่จ่ายก็ได้นะ!

เคยรู้รึเปล่า? "ค่าธรรมเนียมชาร์จบัตรเครดิต" ไม่จ่ายก็ได้นะ!

เคยมั้ย??... เวลาไปซื้อของ หรือกินข้าวที่ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ แล้วหยิบบัตรเครดิตขึ้นมาจ่าย ส่วนใหญ่ "เราจะไม่ค่อยถูกชาร์จค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต" กันเท่าไหร่นัก แต่เวลาจะไปรูดบัตรเครดิตที่ร้านค้าเล็กๆ นอกห้าง หรือร้านค้าทั่วๆ ไป ก็อดที่จะถามก่อนรูดไม่ได้ว่า "ขอโทษนะคะ.. จ่ายด้วยบัตรเครดิตได้มั้ย แล้วมีชาร์จเพิ่มมั้ย?" และถ้าคำตอบที่ได้คือ "ชาร์จ 3%" ปุ๊บ! เราก็แทบจะวิ่งไปกดเงินสดมาจ่ายทันที! โดยหารู้ไม่ว่า จริงๆ แล้วเราสามารถปฏิเสธการจ่ายค่าธรรมเนียมชาร์จบัตรเครดิตนั้นได้ เพราะอะไร? ไปดูคำตอบกัน
ค่าธรรมเนียมชาร์จบัตรเครดิต คืออะไร?
 ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า.. เจ้าค่าธรรมเนียมที่ร้านค้าชาร์จเวลารูดบัตรเครดิต มันคืออะไร?
 จริงๆ แล้ว ค่าธรรมเนียมชาร์จบัตรเครดิต.. ที่ร้านค้าเรียกเก็บจากลูกค้านั้น เป็นหน้าที่ของร้านค้าที่จะต้องจ่ายให้กับธนาคารเจ้าของเครื่องรูดบัตร แต่ร้านค้าบางร้านก็ผลักภาระมาให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคด้วยการเรียกเก็บจากลูกค้าแทน ส่วนใหญ่จะชาร์จตั้งแต่ 0.1% - 3% แต่มันมีระเบียบข้อบังคับของบริษัทบัตรเครดิตวีซ่า มาสเตอร์การ์ด ที่กำหนดไว้ว่า "ร้านค้าไม่มีสิทธิ์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการรูดบัตรเพื่อซื้อสินค้าจากลูกค้า" หากร้านไหนทำผิดระเบียบตรงนี้.. ธนาคารเจ้าของเครื่องสามารถยึดเครื่อง EDC คืนได้ทันที คำถามก็คือ.. ทำไมร้านค้าบางร้านถึงต้องชาร์จค่าธรรมเนียมเพิ่มจากลูกค้าล่ะ?
มีใครได้ - ใครเสีย จากการรูดบัตรเครดิตแต่ละครั้ง?
เวลาที่เราไปซื้อสินค้า/ บริการอะไรก็ตาม และจ่ายด้วยบัตรเครดิต เราในฐานะที่เป็นลูกค้าเป็นคนจ่ายเงิน อาจจะไม่รู้ว่าลึกๆ แล้ว การเรียกเก็บเงินผ่านบัตรเครดิตนั้นมันมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง? จึงอยากจะนำเสนอให้ได้ทราบกันว่า ขั้นตอนการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีนั้น มันมี process อย่างไร และใครได้ค่าธรรมเนียมเท่าไหร่กันบ้าง?
ลองมาดูว่าผู้ที่มีส่วนร่วมในการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตนั้นมีใครบ้าง?
 ลูกค้าที่จ่ายเงิน
 ร้านค้าที่รับเงิน
 ธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตของลูกค้า
 ธนาคารเจ้าของเครื่องรูดบัตรของร้านค้า
 ตัวกลางในการชำระเงินระหว่างธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตของลูกค้า และธนาคารเจ้าของเครื่องรูดบัตรของร้านค้า เช่น VISA, MasterCard, JCB, Unionpay เป็นต้น
ยกตัวอย่างง่ายๆ.. ลูกค้าซื้อสินค้า 1 ชิ้น ราคา 100 บาท จ่ายเงินด้วยบัตรเครดิต SCB Ultra Platinum (ประเภท VISA) ณ ร้านค้าที่มีเครื่องรูดบัตรของธนาคารกสิกรไทย จะมีขั้นตอนการจ่ายเงินดังนี้

Step 1
ไทยพาณิชย์รับเงินจากลูกค้าจำนวน 100 บาท ส่งต่อเงินไปยัง VISA จำนวน 98.20 บาท นั่นหมายความว่าไทยพาณิชย์จะได้รับเงินค่าธรรมเนียมเป็นจำนวน 1.80 บาท ในฐานะที่เป็นธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต

Step 2
หลังจากที่ VISA ได้รับเงินจำนวน 98.20 บาท แล้ว จะส่งเงินต่อไปที่กสิกรไทย (ธนาคารเจ้าของเครื่องรูดบัตร) จำนวน 98.09 บาท นั่นหมายความว่า VISA จะคิดค่าธรรมเนียมการเป็นตัวกลางในการชำระเงินจำนวน 0.11 บาท

Step 3
หลังจากที่กสิกรไทย ได้รับเงินจำนวน 98.09 บาท แล้ว จะส่งต่อไปยังร้านค้าด้วยจำนวนเงิน 97.76 บาท โดยคิดเป็นค่าธรรมเนียมจำนวน 0.33 บาท จากการเป็นธนาคารเจ้าของเครื่องรูดบัตร

ใครได้ค่าธรรมเนียมเยอะที่สุด?
จากตัวเลขค่าธรรมเนียมที่มองเห็นได้ชัดคือ ธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตได้รับค่าธรรมเนียมเยอะที่สุดถึง 1.80 บาท แต่อย่าลืมว่าธนาคารเจ้าของบัตรฯ ก็ต้องนำเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดแคมเปญต่างๆ ให้ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นคะแนนสะสม หรือ Cash Back ต่างๆ หรือเรียกว่าต้องใช้ต้นทุนในการจัดการมากที่สุดก็ได้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าเก่าอยากใช้บัตรเครดิตต่อไป ลูกค้าใหม่อยากสมัครบัตรเครดิตมากขึ้น ในขณะที่ธนาคารเจ้าของเครื่องรูดบัตรฯ ได้รับเงินค่าธรรมเนียมรองลงมาคือ 0.33 บาท แต่ใช้แค่ต้นทุนในการจัดหาร้านค้าเพื่อติดตั้งเครื่องรูดบัตรของตนเท่านั้น

และสุดท้าย.. ตัวกลางในการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตที่ได้รับค่าธรรมเนียมเพียง 0.11 บาท มองดูเผินๆ อาจจะดูเป็นตัวเลขที่น้อยนิด แต่ถือว่าเป็นองค์กรที่ไม่ต้องเจอความเสี่ยงมากเท่ากับอีก 2 องค์กรที่กล่าวมา และใช้ต้นทุนในการดำเนินงานค่อนข้างน้อย เพราะไม่ต้องออกไปหาลูกค้าหรือหาร้านค้า แต่ก็ต้องลงทุนกับการสร้างภาพลักษณ์ความเป็นแบรนด์บัตรของตนเอง และด้วยความเป็นสังคมไร้เงินสดในปัจจุบัน ที่รณรงค์ให้มีการใช้บัตรกันมากกว่าใช้เงินสด ทำให้มองภาพในอนาคตได้ว่า Transactions ของการใช้บัตรต่างๆ น่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น.. แล้วประโยชน์สูงสุดจะตกไปไหนอื่นไกลได้ล่ะคะ
สรุป : ค่าธรรมเนียมชาร์จบัตรเครดิต ลูกค้าไม่จ่ายได้มั้ย?
จากภาพแสดงการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต 100 บาท (ด้านบน) ผ่านขั้นตอนกระบวนการต่างๆ จากหน่วยงานผู้ที่เกี่ยวข้องในการชำระเงินทั้งหมด ก็น่าจะพอชี้ให้เห็นคร่าวๆ แล้วว่าเงินตกไปถึงร้านค้าแค่เพียง 97.76 บาท ซึ่งร้านค้าก็ได้รับไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยสักเท่าไหร่ จึงทำให้ร้านค้าบางร้าน (เล็กๆ) ที่มีต้นทุนในการผลิต - การขายน้อย เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมชาร์จบัตรเครดิตเพิ่มจากลูกค้าผู้ถือบัตรฯ และเราในฐานะที่เป็นลูกค้า เป็นคนจ่ายเงิน ก็คงจะได้คำตอบกันแล้วว่า สมควรจ่ายเงินจำนวนนั้นๆ หรือไม่? ถ้าการจ่ายด้วยบัตรเครดิตแล้วต้องเสียค่าธรรมเนียมการรูดเพียงเล็กน้อยเพื่อแลกกับความสะดวกสบาย และความรวดเร็วในบางครั้ง ก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร แต่ถ้าร้านค้ามีช่องทางในการชำระเงินอื่นๆ นอกเหนือจากบัตรเครดิต เช่น QR Code หรือพร้อมเพย์ ก็ถือว่าเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะจะทำให้ทั้งเราและร้านค้าไม่มีใครได้ -ใครเสียผลประโยชน์.. จริงมั้ยคะ?
แท็กที่เกี่ยวข้อง บัตรเครดิต credit card
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)