วิวัฒนาการ "การชำระเงิน" จากอดีตจนก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

icon 21 ส.ค. 60 icon 9,758
วิวัฒนาการ "การชำระเงิน" จากอดีตจนก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

วิวัฒนาการ "การชำระเงิน" จากอดีตจนก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

"เงิน" นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีวิตจากอดีตจนถึงปัจจุบันค่ะ เท่าที่จำความได้ สมัยเด็กๆ ก็ได้เงินเหรียญบาทใหญ่ๆ 3 เหรียญที่แม่ให้พกไปโรงเรียน และด้วยความที่กลัวตกหาย แม่ก็เอายางรัดที่กระเป๋ากระโปรงนักเรียนไว้ให้ จะใช้ทีก็ต้องเปิดกระโปรงแกะยางออก เพื่อเอาเงินออกมาใช้จ่าย นึกไปก็ตลก ขำๆ ดีกับเรื่องสมัยวัยเด็กนะคะ จนมาถึงปัจจุบันเด็กสมัยนี้ก็พกธนบัตร แบงค์ร้อย แบงค์ห้าร้อยไปโรงเรียนกันแล้ว (อ่านดูก็คงรู้กันนะคะว่าผู้เขียนเป็นคน Gen ไหน^^)
และเมื่อวิวัฒนาการทางการเงินผ่านมาเรื่อยๆ จากที่ต้องใช้เงินเหรียญใหญ่ๆ จนมาเหรียญเล็กจิ๋ว ธนบัตรใบใหญ่ กลายมาเป็นธนบัตรใบเล็กลง ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในการพกพานั่นเองค่ะ จนก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ก็แทบจะกลายเป็นไม่ต้องพกเงินก็สามารถไปไหนมาไหน และใช้จ่ายได้ โดยผ่านเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ทันสมัยขึ้น วันนี้เราจะมาดูวิวัฒนาการของ "การชำระเงิน" จากอดีต จนถึงปัจจุบันกันนะคะว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง 

เงินเหรียญ และธนบัตร สู่บัตรอิเล็กทรอนิกส์

จากอดีตจนปัจจุบัน การใช้เงินสดก็ยังเป็นที่แพร่หลายกันอยู่ค่ะ เพราะการดำเนินชีวิตใน 1 วัน เรามีโอกาสได้ใช้เงินสดกันบ่อยครั้ง เริ่มจากเช้ามาก็ต้องจ่ายค่าเดินทาง ค่าอาหารเช้า พอกลางวันก็ต้องจ่ายค่าอาหารกลางวัน ค่าขนม ค่ากาแฟ ค่าเครื่องดื่ม ค่าขนมขบเคี้ยว บลาๆๆๆ ต้องใช้เงินสดทั้งนั้นค่ะ พกกันมาทั้งธนบัตร ทั้งเหรียญ หนักกระเป๋าเชียว หรือเมื่อไปเดินซื้อของตามตลาดนัด หรือตามห้างสรรพสินค้า หากของมีราคาหน่อย พกเงินมาไม่พอก็ซื้อไม่ได้ หรือแม้แต่การซื้อของออนไลน์ที่หากใช้เงินสดก็ต้องไปหาที่โอนเงินให้ยุ่งยากกันไปค่ะ ก็เลยจะมีวิวัฒนาการของการชำระเงินในรูปแบบของการใช้ผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสะดวกสบายกว่ากันเยอะเลย ใช้ง่ายจ่ายคล่องค่ะ
ร้านค้าต่างๆ ที่ขายสินค้าที่มีราคาหน่อยก็จะอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าโดยการติดตั้งเครื่องรูดบัตร EDC ที่สามารถรองรับการใช้บริการผ่านบัตรเดบิต และบัตรเครดิต  และเจ้าของร้านก็ยังสามารถเช็คยอดรายรับแต่ละวันได้เลยค่ะ สะดวกทั้งผู้ขาย และลูกค้าเลย


ขอบคุณภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

จากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ สู่ระบบพร้อมเพย์

มาถึงยุคสังคมก้มหน้าที่แทบจะไม่มีใครที่ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือกันแล้ว ก็จะมีวิวัฒนาการการใช้จ่ายรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์สำหรับคนในยุคนี้ ด้วยบริการโอนเงินพร้อมเพย์ โดยเราสามารถจัดการโอนย้ายข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของเราเข้าไปในโทรศัพท์มือถือกันเลยค่ะ ซึ่งร้านค้าหลายๆ แห่งก็จะสามารถรับชำระค่าสินค้า หรือบริการด้วยพร้อมเพย์กันมากขึ้น ด้วยเหตุผลที่ต้องการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่อาจจะไม่ได้พกเงินสดจำนวนมาก หรือไม่ได้พกกระเป๋าสตางค์ไว้กับตัว ให้สามารถซื้อของโดยโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ได้เลยค่ะ เพียงแค่พิมพ์เบอร์โทรศัพท์ของแม่ค้า และระบุจำนวนเงินที่ต้องการจ่ายก็สามารถโอนได้เลยค่ะ 
ยกตัวอย่างที่ Too fast Too Sleep.SCB ค่ะ ที่ลูกค้าที่ใช้บริการสามารถชำระเงินค่าอาหาร หรือเครื่องดื่ม ผ่านพร้อมเพย์ หรือบัตรเครดิตเท่านั้น โดยไม่รับเป็นเงินสด ดูบทความ TOO FAST TO SLEEP.SCB WOW!

ช่องทางการชำระเงินรูปแบบใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0

จากที่รัฐบาลได้ออกแคมเปญ "แจกโชคจากการใช้บัตรเดบิต" เพื่อหวังให้ประเทศไทยกลายเป็นสังคมไร้เงินสด ในขณะที่พฤติกรรมการชำระเงินของเรากำลังค่อยๆ เปลี่ยนไป ทุกคนก็จะเริ่มพกเงินสดน้อยลงหันมาพกบัตรกันมากขึ้น หรือแม้แต่การโอนเงิน รับเงิน หรือจ่ายเงิน การซื้อสินค้าออนไลน์ ก็ทำธุรกรรมผ่านทางโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้น และด้วยระบบต่างๆ ที่ธนาคารแต่ละแห่งก็ขานรับนโยบายของรัฐบาล และออกมาเคลมกันถึงเรื่องความปลอดภัยในการใช้ระบบต่างๆ ของธนาคารกันมากขึ้น ก็นับเป็นสัณญาณที่ดีที่สังคมของคนไทย พร้อมที่จะก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด และร่วมก้าวย่างสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 กันค่ะ :)
แท็กที่เกี่ยวข้อง บัตรเครดิต บัตรเดบิต พร้อมเพย์ เงิน samsung pay ไทยแลนด์ 4.0 paywave
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)