อายุความบัตรเครดิต...มีระยะเวลากี่ปี?

icon 30 ส.ค. 59 icon 27,171
อายุความบัตรเครดิต...มีระยะเวลากี่ปี?

อายุความบัตรเครดิต...มีระยะเวลากี่ปี?

ตามหลักในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) ที่ว่าด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องของผู้ประกอบธุรกิจที่มีลักษณะออกทดรองเงินไปก่อน ให้มีกำหนดอายุความ 2 ปี
ซึ่งการใช้บัตรเครดิตก็เป็นกรณีที่สถาบันการเงินได้ออกทดรองเงินไปก่อนให้กับลูกหนี้บัตรเครดิต จึงมีอายุความ 2 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ (ในใบแจ้งหนี้) เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2551 "หนี้จากการใช้บัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็นหนี้จากการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ หรือหนี้จากการถอนเงินสดล้วนเป็นหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตด้วยกัน จึงมีอายุความ 2 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34(7) ไม่อาจแยกบังคับนับอายุความแตกต่างกันได้"
นอกจากนี้ก็มีคำพิพากษาฎีกาที่ 2456/2551 และ 8051/2551 มาในแนวทางเดียวกันที่ว่าหนี้จากการใช้บัตรเครดิตมีอายุความ 2 ปี
ดังนั้น หากลูกหนี้บัตรเครดิตรายใด ถูกฟ้องให้ชำระหนี้บัตรเครดิต และได้รับหมายศาล จึงมีข้อแนะนำว่าต้องไปศาล และยื่นคำให้การว่า หนี้ขาดอายุความแล้ว เพราะหากไม่ไปศาลก็จะถูกพิพากษาให้ชำระหนี้จนถึงชั้นบังคับคดี นอกจากนี้ การไปศาลยังอาจเจรจากับเจ้าหนี้ขอลดค่าดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมต่างๆ ลงได้อีก

บัตรเครดิต อายุความกี่ปี? ฎีกาชาวบ้าน : Matichon TV
แท็กที่เกี่ยวข้อง บัตรเครดิต อายุความ ระยะเวลา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)