ไขข้อข้องใจ! "บัตรเครดิต" VS "บัตรเดบิต" ต่างกันยังไง?

icon 18 ม.ค. 61 icon 95,127
ไขข้อข้องใจ! "บัตรเครดิต" VS "บัตรเดบิต" ต่างกันยังไง?

ไขข้อข้องใจ! "บัตรเครดิต" VS "บัตรเดบิต" ต่างกันยังไง?

จากบทความที่แล้ว ที่ว่าด้วยเรื่อง "ความแตกต่างระหว่างบัตรเครดิต กับบัตรกดเงินสด" ทำให้หลายๆ คนมีคำถามต่อมาอีกว่า อ้าว! แล้ว "บัตรเครดิต (Credit Card)" กับ "บัตรเดบิต (Debit Card)" ล่ะ ต่างกันยังไง? ถ้าต้องการจะรูดซื้อของสักชิ้น หรือจ่ายค่าบริการอะไรสักอย่าง ควรเลือกใช้อันไหนดี... และเพื่อให้ความกระจ่างกับเพื่อนๆ วันนี้เราก็ได้รวบรวมทุกข้อแตกต่างระหว่างบัตรเครดิตและบัตรเดบิตมาให้ได้ดูกัน งานนี้บอกได้เลยว่าไขข้อข้องใจในทุกคำถามได้อย่างหมดเปลือกเลยทีเดียว

ภาพตัวอย่างบัตรเครดิต และบัตรเดบิต ของธนาคารออมสิน
1. บัตรเครดิตจ่ายทีหลัง VS บัตรเดบิตตัดเงินเลย
บัตรเครดิต (Credit Card)

บัตรเดบิต (Debit Card)

  • มีวงเงินอยู่ในบัตรฯ ที่เราสามารถใช้ในการรูดซื้อสินค้า หรือผ่อนสินค้า หรือชำระค่าบริการต่างๆ ได้ โดยจะใช้ได้ไม่เกินวงเงินในบัตรเครดิตที่สถาบันการเงินผู้ออกบัตรอนุมัติให้ พูดง่ายๆ คือ เหมือนเป็นการใช้เงินในอนาคต เพราะยังไม่ต้องจ่ายในทันทีที่รูด แต่ต้องตามไปจ่ายทีหลัง ณ วันที่สถาบันการเงินผู้ออกบัตรฯ เรียกเก็บ 
  • เป็นบัตรที่ link กับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน สามารถใช้ในการกดถอนเงินสดออกจากตู้ ATM และยังสามารถใช้ในการรูดซื้อสินค้า หรือชำระค่าบริการต่างๆ ได้ เหมือนเป็นการชำระด้วยเงินสด เพียงแต่ผ่านรูปแบบของการ์ดเท่านั้นเอง เมื่อใดที่เรารูดซื้อของ เงินจะถูกหักจากบัญชีเงินฝากที่เราผูกไว้กับบัตรเดบิตทันที
2. บัตรเครดิตสมัครยาก VS บัตรเดบิตสมัครง่าย
บัตรเครดิต (Credit Card)

บัตรเดบิต (Debit Card)

ในส่วนของการสมัครบัตรเครดิตนั้นบอกได้ว่า "ค่อนข้างยาก" เพราะแบ่งเกณฑ์ของการสมัครออกเป็น 2 แบบคือ
  • แบบที่ใช้เกณฑ์รายได้ประจำในการสมัคร โดยที่ผู้สมัครนั้นจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ประจำ หรือเจ้าของกิจการ ซึ่งจะต้องมีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป ต่อเดือน ส่วนจะได้รับการอนุมัติบัตรเครดิตหลังจากยื่นเอกสารไปแล้วหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลทางเครดิตของแต่ละคน รวมถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขการพิจารณาของแต่ละสถาบันการเงินอีกด้วย
  • แบบที่ใช้เกณฑ์เงินฝากในการสมัคร กรณีนี้ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำงานประจำ ที่จะไม่มีเอกสารแสดงรายได้ เป็นการสมัครโดยใช้การค้ำประกันเงินฝาก (Deposit Pledge) โดยผู้สมัครจะต้องมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารที่ต้องการสมัครบัตรเครดิตเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
  • การสมัครบัตรเดบิตนั้น "ง่ายและรวดเร็ว" กว่าการสมัครบัตรเครดิตอยู่มาก เพราะเพียงแค่ผู้สมัครมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอยู่กับธนาคาร ก็สามารถยื่นเอกสารแสดงตน (บัตรประจำตัวประชาชน) และสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ก็จะได้รับบัตรเดบิตในทันทีที่ทำการสมัครเสร็จเรียบร้อย
3. บัตรเครดิตกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครเยอะ VS บัตรเดบิตแทบไม่มี
บัตรเครดิต (Credit Card)

บัตรเดบิต (Debit Card)

คุณสมบัติขั้นพื้นฐานของผู้ที่ต้องการสมัครบัตรเครดิต มีดังนี้
  • เป็นบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงานบริษัทเอกชน, ข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะต้องมีฐานรายได้เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาด้วย ซึ่งกำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 15,000 บาทขึ้นไป ต่อเดือน และต้องเป็นพนักงานประจำตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
  • เป็นบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของกิจการ จะต้องมีรายได้หมุนเวียนของบริษัทในแต่ละเดือนตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป และต้องดำเนินกิจการมาไม่ต่ำกว่า 1 ปี ตามเงื่อนไขที่แต่ละธนาคารกำหนด
  • ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป และต้องมีเงินหมุนเวียนในบัญชีตามเงื่อนไขที่แต่ละธนาคารกำหนด
  • อายุของผู้สมัครบัตรเครดิต
    - ผู้สมัครบัตรหลัก ต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และ
    - ผู้สมัครบัตรเสริม ต้องมีอายุตั้งแต่ 15 - 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
คุณสมบัติขั้นพื้นฐานของผู้ที่ต้องการสมัครบัตรเดบิต มีดังนี้
  • เป็นบุคคลธรรมดา ที่มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคาร โดยไม่มีการกำหนดรายได้ขั้นต่ำในการสมัครบัตรเดบิต
  • อายุของผู้สมัคร ตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
4. บัตรเครดิตมีบัตรหลักแค่ 1 VS บัตรเดบิตมีได้มากกว่า 1
บัตรเครดิต (Credit Card)

บัตรเดบิต (Debit Card)

  • ผู้ถือบัตรเครดิต สามารถถือบัตรหลักได้เพียง 1 บัตรเท่านั้น ภายใต้ชื่อ - นามสกุล ของตนเอง แต่สามารถมีบัตรเสริมได้ไม่เกิน 4 บัตร หรือบางธนาคารอาจมีได้มากกว่า 4 บัตร โดยวงเงินในบัตรจะรวมกันทั้งบัตรหลักและบัตรเสริม ตามจำนวนบัตรทั้งหมดที่มี
  • บัญชีเงินฝาก 1 บัญชี สามารถทำบัตรเดบิตได้หลายใบ โดย link กับบัญชีเงินฝากนั้นๆ เพียงบัญชีเดียว นั่นหมายความว่า ผู้สมัคร 1 ท่าน สามารถมีบัตรเดบิตกี่ใบก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้ชื่อ - นามสกุล ของเจ้าของบัญชีเพียงชื่อเดียว
5. บัตรเครดิตไม่ค่อยชาร์จค่าธรรมเนียม VS บัตรเดบิตชาร์จเสมอ
บัตรเครดิต (Credit Card)

บัตรเดบิต (Debit Card)

ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตนั้นแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
  • ค่าธรรมเนียมแรกเข้า บางธนาคารก็ "ฟรี" แต่อาจมีบางธนาคารที่ไม่ฟรี หรืออาจจะฟรีโดยมีเงื่อนไข เช่น อาจจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์บางอย่าง
  • ค่าธรรมเนียมรายปี บางธนาคารก็ "ฟรี" แบบไม่มีเงื่อนไข ส่วนที่ต้องจ่ายก็มีตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักหมื่น ซึ่งบางธนาคารก็สามารถยกเว้นค่าธรรมเนียมได้ โดยมีเงื่อนไขในการใช้จ่ายผ่านบัตรให้ครบตามจำนวนเงินที่กำหนดต่อปี
ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิตก็มี 2 อย่าง เช่นเดียวกับบัตรเครดิต แต่จะต่างกันในเรื่องของการยกเว้นค่าธรรมเนียม ดังนี้
  • ค่าธรรมเนียมแรกเข้า โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้สมัครจะต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้าประมาณ 100 บาท ไม่เกิน 1,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมรายปี ไม่สามารถทำการยกเว้นได้ เพราะถ้าหากไม่จ่ายค่าธรรมเนียมรายปี บัตรเดบิตจะไม่สามารถใช้งานได้ ในการจ่ายค่าธรรมเนียมรายปี ธนาคารจะทำการหักจากบัญชีที่ผูกกับบัตรเดบิตเพื่อชำระอัตโนมัติ
6. บัตรเครดิตดอกเบี้ยแพง VS บัตรเดบิตไม่มีดอกเบี้ย
บัตรเครดิต (Credit Card)

บัตรเดบิต (Debit Card)

  • อัตราดอกเบี้ย : กำหนดสูงสุดให้ไม่เกิน 18 - 20% ต่อปี ซึ่งจะเสียดอกเบี้ยเมื่อผู้ถือบัตรเครดิตทำการผ่อนชำระขั้นต่ำตั้งแต่ 10% ของยอดชำระเต็มจำนวน หรือทำการชำระค่าบัตรเครดิตล่าช้าเกินระยะเวลาที่ธนาคารกำหนด
  • ค่าธรรมเนียมในการกดเงินสด : กรณีทำการถอนเงินสดออกจากตู้ ATM หรือ เครื่องรูดบัตร EDC ที่สาขาธนาคาร จะเสียค่าธรรมเนียม 3% ของยอดเงินที่กดหรือรูดออกมา พร้อมเสียค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีก 7%
  • อัตราดอกเบี้ย : บัตรเดบิตไม่มีอัตราดอกเบี้ย ทั้งในการถอนเงินสด และในการรูดซื้อสินค้า
  • ค่าธรรมเนียมในการกดเงินสด : ในการเบิกถอนเงินสดจากตู้ ATM นั้นจะแบ่งการคิดค่าธรรมเนียมออกเป็น 4 กรณี ดังนี้
    - หากเบิกถอนที่ตู้ ATM ของธนาคารเจ้าของบัตร ภายในเขตสำนักหักบัญชีเดียวกัน (ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน) จะ "ฟรี" ค่าธรรมเนียม โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในการกดเงิน
    - หากเบิกถอนที่ตู้ ATM ของธนาคารเจ้าของบัตร แต่อยู่นอกเขตสำนักหักบัญชีเดียวกัน (ต่างจังหวัด) จะเสียค่าธรรมเนียม โดยมีอัตราการคิดตามเงื่อนไขที่แต่ละธนาคารกำหนด
    - หากเบิกถอนที่ตู้ ATM ของต่างธนาคาร ภายในเขตสำนักหักบัญชีเดียวกัน (ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน) จะ "ฟรี" ค่าธรรมเนียมในการกดเพียง 4 ครั้ง/ เดือนเท่านั้น และตั้งแต่ครั้งที่ 5 เป็นต้นไป จะเสียค่าธรรมเนียมตามเงื่อนไขที่แต่ละธนาคารกำหนด
    - หากเบิกถอนที่ตู้ ATM ต่างธนาคาร และอยู่นอกเขตสำนักหักบัญชีเดียวกัน (ต่างจังหวัด) จะเสียค่าธรรมเนียมการเบิกถอนตามเงื่อนไขที่แต่ละธนาคารกำหนดเช่นกัน
7. บัตรเครดิตมีโครงข่ายชำระเงินมากกว่า VS บัตรเดบิตน้อยกว่า
บัตรเครดิต (Credit Card)
บัตรเดบิต (Debit Card)
  • โครงข่ายชำระเงินของบัตรเครดิต จะแบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ Visa Card, MasterCard, JCB, Unionpay, American Express และ Virtual
    ทั้งนี้ บัตรเครดิตจะเป็นบัตรประเภทใด ขึ้นอยู่กับการร่วมกันระหว่างสถาบันการเงินผู้ออกบัตรเครดิต กับบริษัทโครงข่ายการชำระเงินของบัตรเครดิตนั้นๆ 
  • โครงข่ายชำระเงินของบัตรเดบิต ในปัจจุบันจะมีเพียง 3 ประเภท คือ Visa Card, MasterCard ที่นิยมใช้กันมาก และ Unionpay จะมีเพียงบางธนาคารเท่านั้น จะเห็นว่าโครงข่ายชำระเงินของบัตรเดบิตนั้นมีน้อยกว่าบัตรเครดิต และในเรื่องของการนำไปใช้งาน ณ ร้านค้าต่างๆ ก็อาจจะยังไม่ครอบคลุมเท่าบัตรเครดิต
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้... จะทำให้เห็นข้อแตกต่างของทั้งสองบัตรได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้งาน และองค์ประกอบโดยรวมที่แตกต่างกัน และขอแนะนำว่าใครที่คิดจะมีบัตรเครดิต ก็คงต้องคิดให้ดีก่อนนิดนึงนะคะ เพราะค่อนข้างอันตรายกว่าการใช้บัตรเดบิตอยู่มาก แต่ถ้าหากรู้จักเลือกใช้บัตรเครดิตอย่างระมัดระวัง รู้จักควบคุมและประมาณตน ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากทีเดียว และสำหรับใครที่คิดว่ายังไม่พร้อมที่จะมีบัตรเครดิต ก็ลองเลือกใช้บัตรเดบิตดูก่อนค่ะ อันตรายน้อยกว่า แต่ช่วยอำนวยความสะดวกได้เกือบพอๆ กับบัตรเครดิตเลยทีเดียว และสุดท้าย ทางทีมงาน CheckRaka.com ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเพื่อนๆ คงจะเลือกใช้บัตรทั้งสองแบบนี้ใด้ตรงตามความต้องการ และที่สำคัญ "เหมาะสม" กับตัวคุณเองนะคะ

สามารถ Subscribes Youtube เช็คราคา Channels ได้ที่ www.youtube.com
แท็กที่เกี่ยวข้อง บัตรเครดิต บัตรเดบิต credit card debit card สมัครบัตรเครดิต
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)