ฉลาดเลือก "บัตรเดบิต" : เลือกยังไงดี? แบงค์ไหนดี?

icon 21 ก.ย. 61 icon 85,728
ฉลาดเลือก "บัตรเดบิต" : เลือกยังไงดี? แบงค์ไหนดี?

ฉลาดเลือก "บัตรเดบิต" : เลือกยังไงดี? แบงค์ไหนดี?

ปัจจุบันนโยบายเร่งด่วนของ "ธนาคารแห่งประเทศไทย" และธนาคารพาณิชย์ทั่วโลก คือการใช้เงินสดให้น้อยลง และใช้บัตรหรือเทคโนโลยีในเชิง Cashless Society ให้มากขึ้น หนึ่งในเครื่องมืออย่างหนึ่งในเรื่องนี้คือ "บัตรเดบิต" นั่นเองค่ะ ซึ่งไอ้เจ้าบัตรเดบิตนั้นก็มีคุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป ตามที่แต่ละธนาคารเจ้าของบัตรจะเลือกสรรให้เป็น และปัจจุบันมีกันเยอะมาก เพื่อนๆ ก็อาจจะเลือกไม่ถูกเลยก็เป็นได้ วันนี้ CheckRaka.com มีเคล็ดลับดีๆ ในการเลือกสมัครบัตรเดบิตให้เหมาะสม และคุ้มค่ากับการใช้งานมากที่สุดมาให้ดูกันค่ะ
(สนใจดูบทความเพิ่มเติม : เลือกสมัคร "บัตรเดบิตมีประกัน (Insurance Debit Card)" คุ้มมั้ย?... ถามใจดู)
บัตรเดบิต (Debit Card) คืออะไร?
ก่อนที่จะไปถึงวิธีการเลือกสมัครบัตรเดบิตให้ตรงกับความต้องการของเรานั้น ลองมาดูกันก่อนว่าบัตรเดบิตคืออะไร? และความสามารถพิเศษนั้นมีอะไรบ้าง?
บัตรเดบิต คือบัตรอิเล็กทรอนิคส์หรือบัตรเอทีเอ็มในอีกรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกะทัดรัดพอดีมือ มีข้อความกำกับว่า "Electronic Use Only" ที่ใช้ทำธุรกรรมทางการเงินได้เหมือนบัตรเอทีเอ็ม เช่น การฝากเงิน โอนเงิน และการถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม (ATM Machine) ค่ะ นอกจากนี้บัตรเดบิตยังมีความสามารถพิเศษ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • รูดซื้อสินค้า และชำระค่าบริการต่างๆ ได้ ตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าทั่วไป (ที่รับชำระด้วยบัตรเดบิต) โดยที่การชำระค่าสินค้านั้นจะเป็นการหักเงินอัตโนมัติจากบัญชีเงินฝากที่ผูกกับบัตรเดบิตนั้นๆ
  • สามารถพกพาไปใช้ที่ต่างประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นการถอนเงินสด หรือการรูดซื้อสินค้า ที่มีสัญลักษณ์  หรือ  ตามประเภทของบัตรเดบิตนั้นๆ
  • เติมเงินโทรศัพท์มือถือ (ระบบเติมเงิน) ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาไปซื้อบัตรเติมเงินที่ร้านสะดวกซื้อ เพียงแค่ถือบัตรเดบิตไปที่ตู้เอทีเอ็ม ก็สามารถทำได้แล้วค่ะ
(อ่านเพิ่มเติม : บทความ "12 เรื่องควรรู้ถ้าจะถือบัตรเดบิต")
นี่ก็คือสิทธิประโยชน์คร่าวๆ ของบัตรเดบิตที่เรายกตัวอย่างมาให้ดูค่ะ คราวนี้ลองมาดูกันต่อไปเลยว่า ถ้าจะเลือกสมัครบัตรเดบิตสักใบนั้น จะต้องพิจารณาจากอะไร? และเลือกยังไงให้คุ้มค่าที่สุด?

1. เลือกสมัครบัตรเดบิตที่ออกโดยธนาคารที่เรามีบัญชีเงินฝากอยู่

จากเบื้องต้นที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า การที่เราจะถือบัตรเดบิตสักใบนั้น จะต้องทำการเปิดบัญชีเงินฝากก่อน ซึ่งก็คือบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันนั่นเอง และโดยทั่วไปคนส่วนใหญ่นั้นนิยมเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันกันมากกว่า (บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ส่วนใหญ่จะเปิดในนามนิติบุคคล หรือเป็นบัญชีเพื่อทำการธุรกิจ และจะมีการจ่ายเงิน หรือหมุนเวียนเงินด้วยเช็ค (Cheque)) ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ "บัญชีเงินเดือน" ที่จะมีเงินโอนเข้าทุกๆ เดือน และแน่นอนว่าเพื่อให้สะดวกต่อการนำเงินออกมาใช้ทำธุรกรรมต่างๆ เราก็ต้องมีบัตรเดบิตสักใบที่ link กับบัญชีเงินเดือนนี้ คราวนี้ก็ลองมองดูในมือของเราว่า มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์อยู่กับธนาคารอะไร และเลือกสมัครบัตรเดบิตที่ผูกกับบัญชีนั้นๆ ค่ะ

2. เลือกบัตรที่อำนวยความสะดวก หรือส่งเสริมกิจกรรมประจำวันของเรา

คนเรามีกิจกรรมประจำวันบางอย่างที่ต้องทำ "ซ้ำๆ" ทุกวัน เช่น ชีวิตคนในเมืองส่วนใหญ่คงคุ้นเคยกับการโดยสารรถไฟฟ้า BTS หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) ซึ่งก็ได้มีธนาคารที่ออกบัตรเดบิตมาเพื่อตอบสนองความต้องการ และช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องของการเดินทางได้เป็นอย่างดี และทำให้ไม่จำเป็นต้องพกบัตรหลายใบในกระเป๋า เช่น
  • บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท แรบบิท ของธนาคารกรุงเทพ ที่นอกจากจะเป็นบัตรเดบิตเพื่อใช้ในการกดเงินสดที่ตู้เอทีเอ็มแล้ว ยังมอบความสะดวกสบายในการเป็นบัตรรถไฟฟ้า BTS และ BRT ได้ด้วย อีกทั้งยังจะได้รับส่วนลดและสิทธิพิเศษจากร้านค้าที่ร่วมรายการอีกมากมาย
  • K-My METRO Debit Card ของธนาคารกสิกรไทย บัตรเดบิตที่รวมความสะดวกสบายไว้ในบัตรเดียว ที่สามารถใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ และยังใช้โดยสารรถไฟฟ้า MRT ได้อีกด้วย
 
ถ้าคุณเป็นคนนึงที่ชื่นชอบการช้อปปิ้ง หรือซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ แต่ไม่อยากใช้บัตรเครดิต เพราะกลัวจะเป็นหนี้! ก็ลองเลือกมาใช้บัตรเดบิตที่สามารถซื้อสินค้าออนไลน์ได้ เช่น

ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีร้านค้าออนไลน์ที่ใช้บัตรเดบิตได้ เช่น Central Online, Lazada, Weloveshopping เป็นต้น
(อ่านเพิ่มเติม : บทความ "Shopping Online มาแรง! ซื้อของออนไลน์ยังไงให้ปลอดภัย?")

3. อยากได้ความคุ้มครองอุบัติเหตุเพิ่มมั้ย?

เชื่อว่าใครหลายคนคงไม่อยากให้อุบัติเหตุนั้นเกิดขึ้นกับตนเองเป็นแน่ แต่ก็ไม่มีใครสามารถตอบจะได้ว่า "อุบัติเหตุจะเกิดขึ้นตอนไหน?" เพราะฉะนั้น คงจะดีกว่าถ้ามีความคุ้มครองเพื่อช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับผู้ถือบัตรเดบิตค่ะ และปัจจุบันเหล่าธนาคารทั้งหลายก็เล็งเห็นความสำคัญในข้อนี้ จึงได้มีการผลิตบัตรเดบิตที่มีประกันอุบัติเหตุพ่วงมาด้วย แต่ก็นั่นแหละค่ะ เมื่อบัตรมีความพิเศษเพิ่มขึ้นมา ราคาก็คงต้องแพงตามไปด้วย เดี๋ยวจะลองยกตัวอย่างการทำประกันอุบัติเหตุเดี่ยวๆ และการทำบัตรเดบิตแบบมีประกันพ่วงด้วย ให้เพื่อนๆ ได้เปรียบเทียบกันนะคะว่าอันไหนจะคุ้มกว่ากัน?
ผลประโยชน์และความคุ้มครอง ผลิตภัณฑ์
บัตรซูเปอร์ เดบิต พลัส ประกันอุบัติเหตุ
(PA Happy Life)
แผนพิเศษ 300,000
1. การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรสิ้นเชิง อันเนื่องมาจาก


 
 - อุบัติเหตุทั่วไป  300,000 300,000
 - ภัยก่อการร้าย - 300,000
 - การถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกายโดยเจตนา 100,000 150,000
 - การขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ 100,000 30,000
2. การสูญเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ขณะโดยสารยานพาหนะสาธารณะ หรือขณะอยู่ในอาคารสาธารณะ - 2 เท่า จากข้อ 1
3. กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต พร้อมคู่สมรสจากเหตุเดียวกัน -  2 เท่า จากข้อ 1
4. ค่าเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ให้การอุปการะ กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือการสูญเสียอวัยวะจากอุบัติเหตุระยะเวลา 6 เดือน (*ต่อปีกรมธรรม์สูงสุดไม่เกิน) - 18,000
(3,000 x 6 เดือน)
5. ค่าดำรงชีพรายเดือน กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือการสูญเสียอวัยวะจากอุบัติเหตุ (ต่อปีกรมธรรม์สูงสุดไม่เกิน) 120,000
(10,000 x 12 เดือน)
18,000
(3,000 x 6 เดือน)
6. ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ (ต่อครั้ง ต่ออุบัติเหตุ) 10,000 15,000
7. ค่าชดเชยรายได้รายวัน กรณีรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) ในโรงพยาบาล อันมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ สูงสุด 30 วันต่อครั้งและ 90 วันต่อปี (วันละ)    
- กรณีรักษาตัวในห้องผู้ป่วยปกติ (วันละ) 1,000 บาท/ วัน -
- กรณีรักษาตัวในห้องผู้ป่วยหนัก CCU/ICU (วันละ) 2,000 บาท/ วัน -
ค่าธรรมเนียม/ ค่าเบี้ยประกัน (ต่อปี) 1,599 บาท/ ปี 1,400 บาท/ ปี
หมายเหตุ : ข้อมูลความคุ้มครองตามกรมธรรม์ ณ วันที่ 29 มี.ค. 59
จากตารางเปรียบเทียบที่ยกมาข้างต้น เป็นการทำ "ประกันอุบัติเหตุ PA Happy Life" และการทำ "บัตรซูเปอร์ เดบิต พลัส" ของธนาคารไทยพาณิชย์ค่ะ จะเห็นว่าในส่วนของความคุ้มครองนั้นเกือบจะพอๆ กันเลยทีเดียว คราวนี้เราลองมาเปรียบเทียบในเรื่องของความคุ้มค่ากันค่ะ
  • นาย ก ทำบัตรเดบิตแบบธรรมดา (ไม่มีประกัน) และทำประกันอุบัติเหตุ PA Happy Life ของธนาคารไทยพาณิชย์ไปด้วย นาย ก จะต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด ณ วันที่ทำรายการ คือ
    - ค่าบัตรเดบิตธรรมดา เท่ากับธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท + ค่าธรรมเนียมรายปี ปีแรก 250 บาท
    - ค่าเบี้ยประกัน PA Happy Life 1 กรมธรรม์ เท่ากับ 1,400 บาท
    - รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,750 บาท
  • นาย ข ทำบัตรซูเปอร์ เดบิต พลัส ของธนาคารไทยพาณิชย์ แต่ไม่ทำประกัน PA Happy Life นาย ข จะต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด ณ วันที่ทำบัตรเดบิต คือ
    - ค่าบัตรซูเปอร์ เดบิต พลัส เท่ากับ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท + ค่าธรรมเนียมรายปี 1,599 บาท
    - รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,699 บาท
อย่างไรก็ตาม การทำบัตรเดบิตแบบมีประกันหรือไม่มีประกันนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการและความสมัครใจของแต่ละบุคคลซึ่งถ้าใครที่มีประกันอุบัติเหตุ (PA) แบบเดี่ยวๆ อยู่แล้ว ก็อาจต้องการทำแค่บัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรเดบิตแบบธรรมดา แต่ถ้าหากใครที่ยังไม่มีประกันอุบัติเหตุ ก็อาจจะเลือกทำบัตรเดบิตที่มีประกันพ่วงอยู่ด้วย เพราะถ้าหากมองในเรื่องของความคุ้มค่าแล้ว การทำบัตรเดบิตที่มีประกันก็ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ไม่ต้องการความยุ่งยากที่จะมีทั้งบัตร PA และบัตรเดบิตค่ะ
4. เลือกบัตรเดบิตที่เสียค่าธรรมเนียมคุ้มค่า คุ้มราคา
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจัยเรื่องค่าธรรมเนียมนี้เป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องคิดกันหลายตลบทีเดียวค่ะ เพราะอะไรที่เกี่ยวข้องกับเงินๆ ทองๆ นั้น ก็ต้องดูเรื่องของความคุ้มค่ากันสักหน่อยว่าจ่ายเงินไปแล้ว ของที่ได้มานั้นคุ้มค่าหรือเหมาะสมกับราคามั้ย? ดังนั้น เวลาเลือกบัตรเดบิต ควรลองถามแต่ละเจ้าว่าคิดค่าธรรมเนียมเท่าไร และพิจารณาผลประโยชน์ที่จะได้รับประกอบ เพื่อเลือกบัตรที่ดีที่สุดและคุ้มที่สุดสำหรับเราค่ะ ลองมาเปรียบเทียบดูคร่าวๆ ว่าบัตรเดบิตแบบไม่มีประกันอุบัติเหตุของเจ้าไหน ให้อะไร? และราคาเท่าไรกันบ้าง?
ตัวอย่าง
  • บัตรเดบิต บีเฟิสต์ ธนาคารกรุงเทพ
    ค่าธรรมเนียมแรกเข้า/ ออกบัตรทดแทน 100 บาท และค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาท/ ปี
    - สามารถใช้รูดชำระค่าสินค้าและบริการ ตามร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ VISA ได้ทั่วโลก รวมถึงชำระค่าสินค้า/ บริการผ่านช่องทางออนไลน์
    - ใช้ถอนเงินสดได้ที่เครื่อง ATM ของธนาคารกรุงเทพ และทุกธนาคารทั่วประเทศ รวมถึงเครื่อง ATM ในต่างประเทศที่มีสัญลักษณ์ PLUS และ VISA
    - รับสิทธิประโยชน์มากมายเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตร
  • บัตรกรุงศรี เดบิต No Annual Fee
    ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปี และค่าธรรมเนียมการออกบัตรทดแทน 100 บาท
    - รูดซื้อสินค้าและบริการ ณ ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ VISA (แต่ยังไม่สามารถซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้)
    - เบิกถอนเงินสดได้ที่เครื่อง ATM กรุงศรี และทุกธนาคารในเครือ ATM Pool ทั้งในและต่างประเทศ ที่มีสัญลักษณ์ PLUS และ VISA 
    - รับส่วนลด ณ ร้านค้าต่างๆ ที่ร่วมรายการ
    - รับแต้ม Krungsri Yellow Points สะสมไว้แลกเงินสดหรือของกำนัลได้ง่ายๆ
  • บัตรเดบิต ซีไอเอ็มบี ไทย
    ค่าธรรมเนียมแรกเข้า/ ทำบัตรทดแทน 100 บาท (พิเศษ! ได้รับการยกเว้น 100 บาท วันนี้ - 31 ธ.ค. 59) และค่าธรรมเนียมรายปี 300 บาท
    - เบิกถอนเงินสดได้ทั่วโลก ตลอด 24 ชม. ที่เครื่องเอทีเอ็มที่มีเครื่องหมาย VISA
    - ฟรี! การถอนเงินข้ามประเทศที่เครื่องเอทีเอ็มของกลุ่มธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ที่เชื่อมต่อ 5 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย และกัมพูชา มากกว่า 5,900 เครื่อง
    - รูดซื้อสินค้าและบริการได้ทั่วโลก รวมถึงการซื้อสินค้าออนไลน์สูงสุดวันละ 40,000 บาท ณ ร้านค้าที่รับบัตร VISA
    - เติมเงินโทรศัพท์มือถือได้ทุกระบบ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
    - รับส่วนลด ณ ร้านค้าที่ร่วมรายการ
    - ปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีชิพอัจฉริยะ EMV ป้องกันการปลอมแปลงบัตร และป้องกันเงินในบัญชีได้อย่างปลอดภัย
  • บัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี
    ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 500 บาท และค่าธรรมเนียมรายปี/ ทำบัตรทดแทน 350 บาท
    - ไม่มีค่าธรรมเนียมกดเงิน และสอบถามยอดเงิน ทุกตู้ ATM ที่มีสัญลักษณ์ ATM Pool ทุกธนาคาร ทั่วไทย ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
    - วงเงินการถอนเงินที่ทุกเครื่อง ATM ที่มีสัญลักษณ์ ATM POOL หรือ VISA หรือ PLUS ทั่วโลก รวมสูงสุด 200,000 บาท/ วัน
    - โอนเงินภายในบัญชีของ TMB ผ่านเครื่อง ATM สูงสุด 50,000 บาท/ ครั้ง 
    - โอนเงินไปธนาคารอื่น (ORFT) ผ่านเครื่อง ATM สูงสุด 50,000 บาท/ ครั้ง; 200,000 บาท/ วัน 
    - วงเงินการรูดซื้อสินค้าและบริการกับร้านค้าทั่วโลกสูงสุด 60,000 บาท/ วัน
นี่คือตัวเลือก 4 ตัวเลือกหลักๆ ที่ทางเราได้เล็งเห็นแล้วว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเลือกทำบัตรเดบิตของคนส่วนใหญ่ค่ะ ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ที่กำลังมองหาบัตรเดบิตดีๆ สักใบ เพื่อมาอำนวยความสะดวกและตอบโจทย์ความต้องการในชีวิตประจำวันกันนะคะ หรืออย่างไรแล้ว ลองเปรียบเทียบดูจากบัตรเดบิตทั้งหมดที่ CheckRaka.com เพิ่มเติมที่ Link ด้านล่างนี้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดียิ่งขึ้นค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง บัตรเดบิต debit card
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)