7 วันอันตราย "ทางการเงิน"

icon 16 ก.พ. 59 icon 4,774
7 วันอันตราย "ทางการเงิน"

7 วันอันตราย "ทางการเงิน"

"7 วันอันตราย" ไม่ได้มีแค่เรื่องการเดินทางเท่านั้นที่เค้ารณรงค์ให้ระวังกัน แต่ในทางการเงินของเราก็มี "7 วันอันตราย" เช่นกันค่ะ โดยใน 7 วันนี้เป็นวันที่ต้องระวังเงินในกระเป๋าให้ดีนะคะ ไม่เช่นนั้นกระเป๋าแบนเพราะเงินเกลี้ยงกระเป๋าไม่รู้ด้วยน๊า!!
7 วันอันตราย ทางการเงิน เป็น 7 วันที่ต้องระวังเงินในกระเป๋า ได้แก่
1. วันสิ้นปี - วันปีใหม่ เป็นวันที่ทุกคนจะต้องออกไปหาซื้อของขวัญให้กัน และแถมด้วยการไปปาร์ตี้แบบสุดมันในคืนข้ามปี ซึ่งเหตุนี้เองที่ทำให้เราจะต้องสูญเงินในกระเป๋าออกแบบไม่ทันตั้งตัว
2. วันตรุษจีน จัดได้ว่าเป็นวันแห่งเทศกาลเฉลิมฉลองของคนไทยเชื้อสายจีน จำเป็นจะต้องจัดเต็มทั้งเครื่องไหว้ จัดสถานที่ และจ่ายแต๊ะเอีย ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่มีเงินหมุนเวียนค่อนข้างมาก
3. วันวาเลนไทน์ ในวันนี้จริงๆ แล้วไม่ได้เกี่ยวอะไรกับคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธอย่างเราๆ เลย แต่ด้วยค่านิยมที่เข้ามาทำให้คนไทยหลายคนให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้เป็นอย่างมาก ด้วยการหาของขวัญให้คนรักไม่ว่าจะเป็น ช่อดอกไม้ราคาแพง หรือแม้แต่ช็อคโกแลตชื่อดังจากต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ในการแสดงความรักอย่างมากมาย
4. วันสงกรานต์ จัดเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ที่ไม่ว่าคนไทยที่อยู่แห่งหนใดก็ตาม จะต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อรวมญาติครั้งใหญ่ในหนึ่งปี ดังนั้น จึงเป็นอีกหนึ่งวันที่ต้องใช้จ่ายเยอะ ทั้งการเดินทาง จัดงานสถานที่ ของจัดเลี้ยง และอื่นๆ อีกมากมาย
5. วันแต่งงานเพื่อน เมื่อได้รับเกียรติให้เป็นแขกรับเชิญในงานแล้ว เราก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายออกไปทั้งการจัดหาชุดไปงาน และเงินใส่ซอง หรือของขวัญ ให้กับเจ้าบ่าว-เจ้าสาว
6. วันหยุดยาว หลายคนมองเห็นโอกาสจากวันหยุดยาวเพื่อท่องเที่ยว หาความสุขให้กับตัวเอง แต่อย่าลืมไปว่าทุกย่างก้าวของการท่องเที่ยวคือ "ค่าใช้จ่าย" ทั้งนั้น ยิ่งเที่ยวนานก็ยิ่งหมดเงินเยอะนะคะ
7. วันเงินเดือนออก ทุกวันเงินเดือนออกของหลายคนเป็นเสมือนวันใช้หนี้ ที่เมื่อเงินเดือนออกปุ๊บก็ต้องใช้หนี้ปั๊บ ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวันอันตรายเลยทีเดียว^^
เปลี่ยน!! วันอันตรายเป็นวันสบายๆ ของคุณด้วยการ...
1. ตั้งงบล่วงหน้า ตรวจสอบดูรายรับ-รายจ่ายให้ถูกต้อง แล้วตั้งงบในการใช้จ่ายไว้ล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เดือดร้อนในอนาคต
2. วางแผนเก็บเงิน จัดเก็บเงินออมให้เป็นสัดส่วน ไม่ว่าจะเป็นการหยอดกระปุก ฝากธนาคารหรือลงทุนในรูปแบบต่างๆ เลือกแบบที่เราชอบ และใช่ที่สุด เพื่อให้งบที่ตั้งไว้ไม่ไกลเกินเอื้อม
3. มุ่งมั่นตั้งใจ ลงมือทำจริง ตั้งเป้าหมายเอาไว้แล้วเริ่มทำเลย อย่าลืมว่า "ความสำเร็จมีไว้สำหรับคนลงมือทำ" เท่านั้นนะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)