"เครดิตเสีย...ติดบัญชีดำ" ต้องทำยังไง?

icon 8 มี.ค. 64 icon 76,456
"เครดิตเสีย...ติดบัญชีดำ" ต้องทำยังไง?

"เครดิตเสีย...ติดบัญชีดำ" ต้องทำยังไง?

ใครที่กำลังตกอยู่ในสภาวะ "เครดิตเสีย" และ "ติดบัญชีดำ" อยู่...ฟังทางนี้! การจัดการกับปัญหานี้ พร้อมกอบกู้เครดิตด้วยการสร้างเครดิตแจ่มๆ ประวัติหรูๆ ทำได้ไม่ยากเลยค่ะ แต่ก่อนอื่นขอพูดถึงคำว่า "เครดิตเสีย" หรือ "บัญชีดำ" (Blacklist) ให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจตรงกันก่อนนะคะ ว่า...เครดิตเสีย หรือบัญชีดำ (Blacklist) เกิดจากการเป็นหนี้สถาบันการเงินแล้วไม่ใช้คืนตามกำหนดเวลา (ส่วนใหญ่จะผิดนัดชำระตั้งแต่ 6 งวดขึ้นไป) จนทำให้สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ต้องรายงานประวัติการเงินของเราไปที่เครดิตบูโร เพื่อให้เครดิตบูโรทำการบันทึกข้อมูลนี้ไว้ หลังจากนั้น เมื่อใดก็ตามที่เราขอสินเชื่อใหม่จากสถาบันการเงินอื่่น ก็จะมีผลทำให้ไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงินนั้น หรือที่เรียกว่า "ติดบัญชีดำ" 


ปลดล็อค! บัญชีดำ พร้อมบอกลา "เครดิตเสีย"

การจัดการกับ "เครดิตเสีย" จะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อปลดหนี้ที่มีอยู่ โดยก่อนอื่นเราต้องรู้ตัวเองก่อนว่า "เครดิตเสีย" ที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในขั้นไหนแล้ว และต้องรักษาด้วยวิธีใด ซึ่งเปรียบได้กับคนป่วยที่กำลังเข้าทำการรักษาในโรงพยาบาล ถ้าอาการไม่หนักมากก็จะรักษาแบบ "ผู้ป่วยนอก" แต่...ถ้าหนักจนถึงขั้นต้องเข้า ICU คงจะต้องรักษากันด้วยการให้ยาแรงๆ เพื่อนๆ หลายคนคงสงสัยว่า หนี้แบบที่เรามีอยู่จะจัดให้อยู่กับการรักษาแบบไหน มาดูกันเลยค่ะ
1. รักษาแบบผู้ป่วยนอก เป็นการรักษาคนที่ยังมีสภาพคล่องทางการเงินอยู่บ้าง เช่น หลังจากจ่ายหนี้แล้ว ยังมีเงินเหลือกิน เหลือใช้อยู่บ้าง เครดิตเสียประเภทนี้จะใช้การรักษาด้วยวิธีดังนี้

  • หยุด! ก่อหนี้ ควรหยุดทั้งหมดไม่ว่าจะกรณีใดๆ ก็ตาม
  • สรุปรายการหนี้คงค้างทั้งหมด เช่น การจดบันทึกว่าเราเป็นหนี้อะไรบ้าง เจ้าหน้าคือใคร หนี้ค้างเท่าไหร่ อัตราดอกเบี้ยมากน้อยแค่ไหน และยอดที่ต้องชำระต่องวดมากน้อยเพียงใด เป็นต้น เพื่อให้เราสามารถตีกรอบรายรับ รายจ่ายได้ในแต่ละเดือน
  • หาเงินก้อนมาปิดชำระ (อย่าใช้เงินกู้มาปลดเงินกู้นะคะ) ให้ใช้เงินที่ปลอดภาระ เช่น โบนัส คอมมิสชั่น หรือทรัพย์สินเก่าภายในบ้านของเราเอง
  • รีไฟแนนซ์รวมหนี้ชำระเป็นก้อนเดียว เป็นการลดภาระการจ่ายหลายทาง พร้อมกับช่วยลดดอกเบี้ยสูงๆ ได้อีกด้วย
  • วางแผนชำระคืนด้วยเงินพิเศษ โดยดูจากที่เราสรุปรายการหนี้ไว้ แล้วดูว่าหนี้ก้อนไหน เหลือเวลาผ่อนหมดน้อยสุด ให้เพิ่มเงินต่องวดในหนี้ก้อนนั้นเยอะขึ้น ถ้าทำได้จะทำให้หนี้ก้อนนั้นหมดเร็วขึ้น เช่น เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะเพิ่มเงินต่องวดในหนี้ตัวไหน ซึ่งจากที่เคยจ่าย 3,200 บาทต่องวด ก็อาจจะเพิ่มเป็น 4,200 บาทต่องวด เพื่อเป็นการปลดหนี้ให้เร็วขึ้น และลดในส่วนของดอกเบี้ยที่จะทบต้นทบดอกได้อีกด้วย
2. รักษาด้วยการให้ยาแรง เป็นการรักษาให้กับคนเป็นหนี้ขั้นหนักหน่วง แบบมีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย จนทำให้ถึงขั้นติดลบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือน (ดินพอกหางหมู) เป็นทวีคูณ จึงต้องใช้มาตรการดังนี้

  • ประนอมหนี้กับสถาบันการเงิน ติดต่อไปที่สถาบันการเงินเจ้าหนี้เพื่อขอต่อรองลดหนี้ (วิธีนี้เราจะต้องคิดทบทวน บวก ลบ คูณ หาร ให้ดี ว่าเราสามารถจ่ายได้ด้วยยอดเงินเท่าไหร่?) ขั้นตอนนี้เราต้องกล้าพูด กล้าต่อรอง ไม่ต้องกลัว เมื่อตกลงได้แล้ว ทยอยปิดหนี้ทีละตัว จนกว่าจะหมด แล้วตอนนั้นเองที่เราจะโล่ง เหมือนยกภูเขาออกจากอก สบายแบบที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน
  • ขายหนี้รายการใหญ่ หรือทรัพย์สินอื่นๆ ที่มี เช่น บ้าน รถยนต์ การกู้ซื้อบ้านหรือรถยนต์ แล้วรวมกับหนี้อื่นแล้วทำให้เราต้องตกอยู่ในสภาวะ "เครดิตเสีย" เราควรขายหนี้ที่พอจะขายได้ทิ้งไป นั่นก็คือ บ้าน กับรถยนต์ เพื่อแลกกับการปลดหนี้ไปทีละอย่าง หรือขายทรัพย์สินอื่นๆ ที่เราพอมี และมีราคา เช่น นาฬิกา เพราะถ้าเราเก็บไว้หมดเลย อาจจะทำให้เราต้องเสียไปทั้งหมดเช่นกัน
  • จำนองบ้านปลอดภาระ ถ้ามีบ้านที่ปลอดภาระอยู่ แล้วเราเป็นเจ้าของ อาจเอาไปจำนองขอกู้เงินก้อนใหม่ออกมา (การใช้วิธีนี้ต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะเราต้องมั่นใจว่าจำนวนเงินที่เราจำนองไปนั้นสามารถปลดหนี้ที่มีอยู่ได้ทั้งหมด และดอกเบี้ยที่ต้องผ่อนคืนหนี้จำนองจะต้องน้อยกว่าดอกเบี้ยของหนี้สินที่มีอยู่ จึงจะถือว่าคุ้ม ไม่เช่นนั้นมันจะกลายเป็นหนี้ซ้อนหนี้...หนักกว่าเดิม)
  • นำเงินเกษียณมาชำระหนี้ ในข้อนี้จะทำได้ในกรณีที่เราอยู่ในวัยเกษียณแล้ว หรือรอจนถึงวันที่เราได้รับเงินเกษียณมา แล้วนำมาใช้ปิดบัญชีหนี้สินที่เรามีอยู่ (ในกรณีนี้เราอาจแบ่งเงินบางส่วนเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็นกรณีฉุกเฉินบ้างก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละคน ตามความเหมาะสมนะคะ)
  • หยุดชำระหนี้ชั่วคราว แล้วทยอยชำระคืน ข้อนี้จะหมายถึง กรณีที่ถึงทางตันแล้ว ไม่สามารถชำระหนี้ตามปกติต่อไปได้ หรือถ้าฝืนชำระไปก็จะทำให้เจ็บกับเจ็บ เป็นติดลบ เราถึงต้องหักดิบด้วยการหยุดชำระหนี้ เพื่อให้หนี้นั้นกลายเป็นหนี้เสีย (ในระหว่างที่รอเวลาให้สถาบันการเงินเห็นว่าเป็นการผิดนัดชำระนั้น จำไว้เสมอว่า เราหยุดจ่ายหนี้ แต่อย่าหยุดเก็บเงิน ต้องเก็บไปเรื่อยๆ จนได้เป็นก้อนแล้วเอาไปโปะทีหลัง) แล้วเราก็ค่อยเคลียร์กับสถาบันการเงิน ด้วยการขอประนอมหนี้ เพื่อลดหนี้ที่ต้องจ่ายลงจนเป็นที่พอใจของทั้งเจ้าหนี้ และลูกหนี้ร่วมกัน

ทำยังไงให้เครดิตแจ่ม & ประวัติหรู กับ 12 เคล็ดลับน่ารู้

เราเชื่อว่า 100% ของคนทั่วไปต้องการให้ตัวเองมีเครดิตดี พร้อมประวัติการเงินที่สวยหรู เพราะถ้าได้จัดให้อยู่ในกลุ่มคนประเภทนี้แล้ว หากเราจะขอกู้สินเชื่อหรือซื้อหาอะไรย่อมง่ายและสะดวกกว่าคนประเภทที่จัดอยู่ในกลุ่ม "เครดิตเสีย" แน่นอน ดังนั้น เรามาดูกันว่าการที่จะทำให้เรามีประวัติการเงินอันสวยหรูเป็นที่ยอมรับได้นั้น จะต้องทำยังไงบ้าง? หรือมีวิธีป้องกันไม่ให้มีหนี้แบบไหน? จนต้องตกอยู่ใน "บัญชีดำ" วันนี้เรามีสุดยอดเคล็ดลับมาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ

การปลดล็อคด้วยการรักษาตามอาการของผู้ป่วยจาก "เครดิตเสีย" หรือ "ติดบัญชีดำ" และ 12 เคล็ดลับที่ทำให้ "เครดิตแจ่ม" หรือ "ประวัติหรู" ที่เสนอไปนี้ เราเชื่อว่าถ้าเพื่อนๆ ทำได้ทั้งหมด เรื่องปัญหาเครดิตเสียก็จะไม่เกิดแน่นอน หรืออาจเกิดขึ้นน้อยที่สุด ทั้งนี้ ต้องทำใจให้พร้อมที่จะฝ่าฟันกับวิกฤติที่เกิดขึ้นไปให้ได้ อย่าเพิ่งท้อแท้ หรือหมดหวัง...เราขอเอาใจช่วยเพื่อนๆ ที่กำลังตกอยู่ในภาวะนี้ทุกคนนะคะ สู้สู้^^
แท็กที่เกี่ยวข้อง ขอสินเชื่อ เครดิตเสีย ติดบัญชีดำ แบล็คลิสต์
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)