"Freelance" อยากซื้อรถ...ต้องทำยังไง?

icon 8 มี.ค. 64 icon 34,479
"Freelance" อยากซื้อรถ...ต้องทำยังไง?

"Freelance" อยากซื้อรถ...ต้องทำยังไง?

นอกจาก Freelance จะห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอแล้ว ยังห้ามกู้ซื้อรถด้วยมั้ย? (กำลังอินเทรนด์ 555) คำตอบคือ "ไม่ห้าม" ค่ะ^^ เพื่อนๆ ที่ทำงานเป็น Freelance สามารถขอกู้ซื้อรถได้นะคะ แต่เอ๊ะ!! ในเมื่อการขอกู้สินเชื่อจากธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการกู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ ทำบัตรเครดิต หรือแม้แต่การขอสินเชื่อเงินสด หลักเกณฑ์หลักๆ ที่ทุกธนาคารกำหนดไว้ก็คือ ต้องเป็นบุคคลที่มีอาชีพประจำ และมีรายได้สม่ำเสมอทุกเดือน โดยจะดูจากการเคลื่อนไหวบัญชีธนาคาร (Statement) แล้วแบบนี้คนที่ทำอาชีพ Freelance ที่มีเงินเดือนไม่แน่นอน แถมบางคนอาจจะไม่มีเงินเข้าบัญชีทุกเดือน เหมือนข้าราชการหรือพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป จะต้องทำยังไง? ถึงจะขอกู้ได้อย่างที่ตอบมาข้างต้น!!! วันนี้เราเลยขอเอาบทความนี้มาฝากเพื่อนๆ ที่เป็น Freelance เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมก่อนขอกู้ซื้อรถกันนะคะ (รับรองได้ว่า ถ้าทำได้ ต้องผ่านแน่นอนค่ะ)

"ฟรีแลนซ์" อยากซื้อรถ...ต้องทำยังไง? (เตรียมให้พร้อมก่อนกู้เงิน)

1. ควรยื่นขอเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเสมอ
ฟรีแลนซ์ควรจะต้องยื่นแบบการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90) ทุกๆ ปี เพื่อใช้เป็นหลักฐานสนับสนุนให้ธนาคารเห็นว่า เราเป็นคนมีรายได้ มีที่มาที่ไปของเงิน และสามารถจ่ายหนี้ได้แน่นอน
2. เก็บหลักฐานหรือผลงานเกี่ยวกับการทำงานทุกครั้ง
ฟรีแลนซ์เป็นคนทำงานอิสระ และมีรายได้ที่ไม่แน่นอน เพราะฉะนั้นจงจำไว้เสมอว่า ทุกครั้งที่มีการว่าจ้างงานเกิดขึ้น ให้เราขอหลักฐาน และเก็บหลักฐานนั้นไว้ด้วย เช่น หนังสือรับรอง สัญญาจ้าง ใบเสนอราคา หรือรูปถ่ายหน้างาน เป็นต้น หลักฐานพวกนี้สามารถช่วยให้เราน่าเชื่อถือได้ เมื่อต้องขอกู้ซื้อรถ
3. วางเงินดาวน์ให้ได้สูงที่สุด (เช่น 25 - 30%)
เงินดาวน์ก็เหมือนเงินลงทุนของเรา ยิ่งดาวน์เยอะ ยิ่งมีโอกาสที่จะกู้ผ่านสูงมาก เพราะไฟแนนซ์จะมีความเสี่ยงลดลงถ้าเงินดาวน์ยิ่งสูง
4. สร้างประวัติในเครดิตบูโรให้ดี
ปัจจุบันเครดิตบูโรถือได้ว่าสำคัญมากในการขอสินเชื่อ เพราะมันสามารถบอกประวัติการเงินทั้งหมดได้ว่าเรามีวินัยในการใช้หนี้ดีแค่ไหน ดังนั้น ถ้าเราเริ่มมีรายได้ สิ่งที่เราควรทำเพื่อสร้างเครดิตบูโรที่ดี คือการทำบัตรเครดิต และใช้จ่ายอย่างมีวินัย เช่น จ่ายตรงเวลา ไม่จ่ายเพียงแค่ขั้นต่ำ ยิ่งมีประวัติเครดิตยาวนานยิ่งดี (ต้องใช้เวลานะคะสำหรับข้อนี้ เริ่มทำกันได้เลยค่ะ)
5. เดินบัญชีอย่างน้อย 6 เดือน และมีเงินคงเหลือ 3 เท่าของค่างวด
ควรเปิดบัญชีออมทรัพย์ไว้เพื่อเอาเงินรายได้ที่รับมาเข้าบัญชีทุกครั้งก่อนเอาไปใช้จ่ายอย่างอื่น (แต่อย่าถอนจนหมดนะคะ) ทำแบบนี้ให้สม่ำเสมอ เพื่อเป็นหลักฐานในการแสดงรายได้ให้ธนาคารเห็น และก่อนที่เราจะขอกู้ซื้อรถนั้น เราควรเดินบัญชีอย่างน้อย 6 เดือน หรือ 1 ปีได้ยิ่งดี ที่สำคัญคือเงินคงเหลือในบัญชีควรมียอดเป็น 3 เท่าของค่างวดที่เราจะต้องผ่อนทุกเดือน เช่น ถ้าเราจะผ่อนรถงวดละ 7,000 บาท เราจะต้องมีเงินคงเหลือในบัญชี 21,000 บาท เป็นต้น (ยิ่งเหลือมาก ก็ยิ่งมีสิทธิ์มาก)
6. หาคนกู้ร่วม หรือคนค้ำประกัน
ถ้าเครดิตการเงินต่างๆ ที่ได้พูดถึงไปแล้วนั้น ยังดูไม่สมบูรณ์เท่าไหร่ ตัวช่วยสุดท้ายของเราก็คือ "หาคนกู้ร่วม" หรือ "หาคนค้ำประกัน" จริงๆ แล้วการกู้ซื้อรถสามารถกู้ร่วมได้นะคะ แต่คนกู้ร่วมเราจะต้องเป็นสามี-ภรรยา, พ่อ-ลูก หรือแม่-ลูก เท่านั้น ธนาคารหลายแห่งจะไม่ค่อยแนะนำช่องทางนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะสนับสนุนให้เราหาคนค้ำประกันมากกว่า ซึ่งคนค้ำประกันนี้จะเป็นใครก็ได้ แต่ควรเป็นคนที่มีงานประจำ และมีเงินเดือนสูงกว่าค่างวด 3 เท่าขึ้นไป
"Freelance" คนไหนที่เตรียมตัวได้ครบทั้ง 6 ข้อนี้ ดีแน่นอนค่ะ เพราะนอกจากเราจะใช้ในการขอสินเชื่อซื้อรถแล้ว เรายังสามารถยื่นขอซื้อบ้าน หรือขอสินเชื่อต่างๆ ที่เราต้องการได้อีกด้วย เหมือนกับยิงปืนนัดเดียว ได้นกหลายตัวเลยนะคะ 
หากใครสนใจ ลองเตรียมตัวตามที่แนะนำดูนะคะ แล้วมารอดูผลกันว่า "Freelance" จะประสบความสำเร็จกับการขอกู้ซื้อรถหรือไม่? (ได้ผลยังไง อย่าลืมมาแชร์ประสบการณ์กับเราด้วยนะคะ ยินดีอย่างยิ่งค่ะ^^)
แท็กที่เกี่ยวข้อง ซื้อรถ สินเชื่อรถยนต์ เช่าซื้อรถ ฟรีแลนซ์ freelance
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)