"สินเชื่อเพื่อการศึกษา" เป็นโครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนผู้ที่ต้องการเงินก้อนเพื่อใช้จ่ายทั้งค่าเทอม หรือเป็นทุนเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเรียน และจะมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีทั้งแบบที่ต้องใช้หลักประกัน และไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ในการค้ำประกัน ส่วนวงเงินที่ได้รับก็จะเพียงพอต่อการศึกษา หรือค่าใช้จ่าย และมีระยะเวลาการชำระคืนแน่นอน ทั้งนี้หากต้องการขอสินเชื่อเพื่อการศึกษา อาจต้องเลือกสินเชื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อการศึกษา เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเรียน เป็นต้น ก็จะทำให้สินเชื่ออนุมัติได้ง่ายขึ้น วันนี้...เรารวบรวมสินเชื่อเพื่อการศึกษาจากสถาบันการเงินมาให้ได้เลือกกันบางส่วนค่ะ จะมีสินเชื่อของธนาคารไหนบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ
ธนาคาร | ชื่อสินเชื่อ / คุณสมบัติของผู้กู้ | อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี) | วงเงินให้กู้ยืม | ระยะเวลาสินเชื่อ |
ธนาคารกรุงไทย | - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญและสายอาชีพ)
- ระดับอุดมศึกษา (อนุปริญญา ปริญญาตรี) ทั้งภาคปกติ ภาคพิเศษ
- มีสัญชาติไทย รายได้ครอบครัวต่อปีไม่เกิน 360,000 บาท
| 1.00% | พิจารณาตามเกณฑ์ของสถาบันการศึกษาที่ผู้กู้ศึกษาอยู่ในขณะนั้น (เมื่อผ่านเกณฑ์ที่สามารถกู้ได้ ผู้กู้จะได้รับทั้งเงินค่าเทอมและเงินค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนด้วย) | - หลังจากจบการศึกษา ทางหน่วยงาน กยศ. จะเว้นระยะ 2 ปี
- หลังจาก 2 ปี จะกำหนดจำนวนเงินในการผ่อนชำระ เป็นเวลา 15 ปี
(ทั้งนี้ สามารถจ่ายเงินกู้ก่อนระยะเวลา 15 ปีได้) |
ธนาคารกสิกรไทย | สินเชื่อบุคคลเพื่อการศึกษากสิกรไทย - เป็นสินเชื่อเพื่อการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก
| 9.97% (อัตราดอกเบี้ยอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดสอบถามข้อมูลจากธนาคารอีกครั้งก่อนตัดสินใจ) | วงเงินอนุมัติ 10,000 - 750,000 บาท | ระยะเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 84 เดือน |
ธนาคารไทยพาณิชย์ | สินเชื่อเพื่อการศึกษา - เป็นสินเชื่อเพื่อการศึกษาของตนเอง คู่สมรส รวมทั้งบุตร
| 15.00% (อัตราดอกเบี้ยอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดสอบถามข้อมูลจากธนาคารอีกครั้งก่อนตัดสินใจ) | วงเงินอนุมัติ 20,000 - 2,000,000 บาท (ตามเอกสารแสดงค่าใช้จ่าย) | ระยะเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 60 เดือน |
สำหรับข้อมูลสินเชื่อข้างต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข หรืออัตราดอกเบี้ยได้ หากต้องการขอสินเชื่อ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากธนาคารอีกครั้งนะคะ ส่วนธนาคารที่ไม่ได้อยู่ในลิสต์ข้างต้นก็อาจจะมีให้บริการสินเชื่อเพื่อการศึกษาด้วยเช่นกันค่ะ สามารถสอบถามจากธนาคารที่ใช้บริการอยู่เพิ่มเติมได้เช่นกันค่ะ
- ข้อมูล ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2567
- การจัดข้อมูลข้างต้น ไม่ได้เป็นการจัดเรียงตามลำดับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกที่สุด แต่จะเรียงตามตัวอักษรชื่อธนาคารเป็นหลัก
- สินเชื่อเพื่อการศึกษาข้างต้น มีเงื่อนไขการจ่ายเงินให้กับผู้กู้ ดังนี้
- สินเชื่อ กยศ. ของธนาคารกรุงไทย จะแบ่งเงินให้กู้ยืมเป็น 2 แบบคือ 1.) เงินค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายเนื่องจากการศึกษา จะจ่ายเข้าบัญชีของสถานศึกษา และ 2.) เงินค่าครองชีพอื่นๆ จะจ่ายเข้าบัญชีของนักเรียน นักศึกษาที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคารกรุงไทย
- สินเชื่อของธนาคารอื่นๆ ข้างต้นจะจ่ายเงินโดยโอนเงินเข้าบัญชีของผู้กู้เมื่อผู้กู้นำใบเสร็จจากสถานศึกษามายื่นที่ธนาคาร โดยที่ธนาคารจะจ่ายเงินตามค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดในแต่ละภาคการศึกษาในการผ่อนชำระเงินกู้ของแต่ละธนาคาร (ยกเว้น สินเชื่อ กยศ.) จะเป็นการหักจากบัญชีออมทรัพย์อัตโนมัติของแต่ละธนาคาร โดยเริ่มนับระยะเวลาในการผ่อนชำระตั้งแต่วันที่มีการโอนเงินค่าใช้จ่ายในการศึกษาเข้าบัญชีของผู้กู้แต่ละราย - หลักประกันเงินกู้ อาจเป็นหลักทรัพย์หรือเป็นบุคคลค้ำประกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร โดยอาจมีผลต่อการอนุมัติวงเงินสินเชื่อด้วย
- อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อดังกล่าวอ้างอิงตามประกาศของแต่ละธนาคาร อาจมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อระยะเวลาผ่านไป ผู้กู้ควรสอบถามเพิ่มเติมจากธนาคารก่อนทุกครั้ง