"นาโนไฟแนนซ์" สินเชื่อใหม่ ... สำหรับใคร?

icon 26 มิ.ย. 58 icon 42,294
"นาโนไฟแนนซ์" สินเชื่อใหม่ ... สำหรับใคร?

นาโนไฟแนนซ์ (Nano Finance) สินเชื่อใหม่ ... สำหรับใคร?

หากใครได้ตามข่าวเศรษฐกิจในช่วงนี้ จะได้รับทราบเกี่ยวกับโครงการสินเชื่อสำหรับประชาชน นั่นคือ "ไมโครไฟแนนซ์ (Micro Finance)" กับ "นาโนไฟแนนซ์ (Nano Finance)" เอ๊ะ เอ๊ะ เอ๊ะ!!! สงสัยกันหรือไม่คะว่า สินเชื่อทั้ง 2 แบบนี้แตกต่างกันอย่างไร? วันนี้เราเลยอยากบอก และชี้ให้เห็นกันชัดๆ เกี่ยวกับสินเชื่อดังกล่าวนี้ โดยขอเริ่มจาก 

ไมโครไฟแนนซ์ (Micro Finance) (โครงการนี้ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร)

เกิดขึ้นจากการผลักดันของกระทรวงการคลังผ่านธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อปล่อยเงินกู้ให้กับลูกค้ารายย่อย เพื่อแก้ไขปัญหาการกู้เงินนอกระบบ แต่โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากธนาคารของรัฐเหล่านี้มีเกณฑ์ในการปล่อยกู้ที่ยุ่งยาก เช่น ต้องมีบุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน ต้องมีรายได้ที่แน่นอน ต้องมีข้อมูลทางการเงินครบถ้วน (Statement) จึงส่งผลทำให้ผู้กู้หลายคนไม่สามารถเข้าถึงการกู้ในลักษณะนี้ได้ และที่ร้ายไปกว่านั้นคือ ทำให้ผู้กู้หลายรายยังหันไปใช้บริการกู้เงินนอกระบบอีก ดังนั้น จึงทำให้รัฐบาลและกระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนรูปแบบการปล่อยเงินกู้จาก "ไมโครไฟแนนซ์ (Micro Finance)" มาเป็น "นาโนไฟแนนซ์ (Nano Finance)"

"นาโนไฟแนนซ์ (Nano Finance)" คืออะไร ?

นาโนไฟแนนซ์ คือรูปแบบการปล่อยกู้ให้ประชาชนทั่วไปจำนวนไม่เกิน 1 แสนบาทต่อราย คิดอัตราดอกเบี้ยรวมค่าปรับและค่าธรรมเนียมไม่เกิน 36% ต่อปี หรือเดือนละ 3% (สูงกว่าสินเชื่อบุคคลที่ดอกเบี้ย 28% และดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบอาจสูงถึง 60-120%) โดยผู้ให้กู้จะต้องเป็นบริษัทเอกชนที่มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท และได้รับใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจ นาโนไฟแนนซ์ จากธนาคารแห่งประเทศไทย เหตุที่รัฐมั่นใจว่าโครงการนี้จะประสบความสำเร็จมากกว่า "ไมโครไฟแนนซ์ (Micro Finance)" เนื่องจากสถาบันการเงินที่จดทะเบียนเหล่านี้จะผ่อนปรนคุณสมบัติของผู้กู้เงิน โดยผู้กู้จะมีหรือไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็ได้ รวมทั้งอาจจะไม่มีรายได้ที่ชัดเจนก็ได้ ติดเครดิตบูโรก็ไม่มีปัญหา รวมทั้งลดขั้นตอนให้สินเชื่อที่ยืดหยุ่นสอดคล้องกับคุณลักษณะของกลุ่มลูกหนี้ เพื่อนำเงินกู้นี้ไปเป็นทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่กู้เพื่อไปใช้จ่าย

ปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยกู้ "นาโนไฟแนนซ์" แล้ว 5 ราย ได้แก่

  • บริษัท เงินสดทันใจ จำกัด
  • บริษัท ไทยเอซ แคปปิตอล จำกัด
  • บริษัท แมคคาเล กรุ๊พ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท สหไพบูลย์ (2558) จำกัด
  • บริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน)
*ข้อมูลล่าสุด วันที่ 3 มิ.ย. 2558

นาโนไฟแนนซ์ เหมาะกับใคร?

จากที่ได้รู้จักกับ "นาโนไฟแนนซ์ (Nano Finance)" ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เรามาดูกันต่อเลยว่า นาโนไฟแนนซ์ เหมาะกับใครบ้าง? ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าจุดประสงค์หลักของโครงการนี้ รัฐบาลต้องการปล่อยกู้ให้กับผู้ที่จะหาเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพ แต่มีหลักฐานทางการเงินไม่เพียงพอ และเคยต้องไปกู้เงินนอกระบบ ซึ่งต้องแบกภาระดอกเบี้ยสูงมาก และเจอวิธีคิดดอกเบี้ยแบบไม่เป็นธรรม ซ้ำร้ายบางกรณียังมีการติดตามทวงถามหนี้ที่ไม่มีมนุษยธรรม หรือทวงหนี้โหด พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้กู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ได้เข้าถึงเงินกู้ในระบบที่ถูกกฎหมาย
นาโนไฟแนนซ์ (Nano Finance) ถือเป็นสินเชื่อเงินกู้อีกหนึ่งทางเลือกของบุคคลทั่วไป ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงินที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลัง แต่เพื่อนๆ ที่คิดจะกู้จงจำไว้ว่า นาโนไฟแนนซ์ ไม่ได้เป็นพระเอกขี่ม้าขาวอย่างเดียว ในทางกลับกันนาโนไฟแนนซ์นี้ ก็อาจจะกลายเป็นมัจจุราชขึ้นมาได้เช่นกัน หากเราใช้ไม่ถูกทาง หรือออกนอกลู่นอกทาง โดยไม่มีวินัยในการใช้จ่าย และไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ถูกกำหนดไว้ สุดท้ายนี้ขอให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์จากสินเชื่อโครงการนี้อย่างคุ้มค่าที่สุดนะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)