ไขปริศนาเลขบัตรประชาชน 13 หลัก

icon 19 ก.ค. 59 icon 214,502
ไขปริศนาเลขบัตรประชาชน 13 หลัก

ไขปริศนาเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
บัตรประชาชนเป็นบัตรประจำตัวของประชาชนทุกคนในประเทศไทย ข้อมูลที่แสดงบนบัตรประชาชนนั้นจะระบุข้อมูลเฉพาะตัวของบุคคลนั้นๆ ข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ เช่น ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติ เชื้อชาติ นั้น เพื่อนๆ คงรู้และเข้าใจกันอยู่แล้ว แต่เคยสงสัยกันไหมคะว่า ตัวเลขบนบัตรประชาชน 13 หลักที่ปรากฎบนบัตรนั้น คือตัวเลขที่ระบุอะไรเกี่ยวกับเราบ้าง? วันนี้เรามาหาคำตอบกันค่ะว่า รหัสลับประจำตัว 13 หลักของแต่ละคนนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง?
ปริศนาตัวเลขหลักที่ 1

ตัวเลขหลักที่ 1 หมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 9 ประเภท ได้แก่
หมายเลข 1 (ประเภทที่ 1) คือคนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่กรมการปกครอง ประกาศให้ประชาชนทุกคนต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอ หรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วัน นับแต่เกิดมาตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1
หมายเลข 2 (ประเภทที่ 2) คือคนที่เกิดและมีสัญชาติไทยได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วผู้ปกครองลืมหรือติดธุระไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลังเด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 มีตัวเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2
หมายเลข 3 (ประเภทที่ 3) คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527) หมายความว่า บุคคลใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้น ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3 
หมายเลข 4 (ประเภทที่ 4) คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญต่างด้าว แต่แจ้งย้ายเข้าโดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัวก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่นก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที
หมายเลข 5 (ประเภทที่ 5) คือคนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่นๆ เช่น คนที่ถือ 2 สัญชาติ 
หมายเลข 6 (ประเภทที่ 6) คือผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทยเพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดนหรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภรรยาคนไทยจึงไปขอทำทะเบียนประวัติเพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภรรยา คนทั้งสอบแบบที่ว่านี้ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6
หมายเลข 7 (ประเภทที่ 7) คือบุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7
หมายเลข 8 (ประเภทที่ 8) คือคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย เป็นผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย ตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน
หมายเลข 9 (ประเภทที่ 9) คือพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ตัวเลขแรกจะขึ้นต้นด้วยเลข 9
หมายเหตุ: คนทั้งแปดประเภทแรกนี้ จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้น ที่จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 7 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้
ปริศนาตัวเลขหลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5

ตัวเลขหลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 หมายถึง รหัสของสำนักทะเบียนหรืออำเภอที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 เป็นเขตการปกครองของไทยโดยอ้างตามเขตรับผิดชอบของกรมการปกครองและตำรวจ ที่มีตั้งแต่ภาค 1-9 และเลขหลักที่ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ในภาคนั้นๆ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ โดยที่เลขอำเภอจะเริ่มจากเลข 01 ไล่ลงไป เช่นเลข 01 คืออำเภอเมือง และถ้าเป็นเขตเทศบาลจะเริ่มจากเลข 99 ย้อนลงมา
ปริศนาตัวเลขหลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10

ตัวเลขหลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 หมายถึง กลุ่มของบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรก ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่งก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับหรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบันเลขดังกล่าวก็จะหมายถึงเล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะปรากฎในบัตรประชาชนเมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ก็จะปรากฎอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น
ปริศนาตัวเลขหลักที่ 11 ถึงหลักที่ 12

ตัวเลขหลักที่ 11 ถึงหลักที่ 12 หมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภทเป็นการจัดลำดับว่าเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลนั้นๆ
ปริศนาตัวเลขหลักที่ 13

ตัวเลขหลักที่ 13 เป็นตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรก โดยตัวเลขหลักที่ 13 จะถูกระบุจากการคำนวณโดยใช้หลักการ "เลขคณิตมอดุลาร์"
จากข้อมูลที่แจ้งให้เพื่อนๆ ได้รู้และเข้าใจความหมายของตัวเลขหรือรหัสลับบนบัตรประจำตัวประชาชน ตามข้อมูลข้างต้นนี้ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกคน และทำให้คลายข้อสงสัยลงได้บ้าง ตัวเลขทั้ง 13 หลักนี้เป็นตัวเลขที่ถึอได้ว่าสำคัญมากๆ สำหรับทุกคน ดังนั้น ก่อนการเปิดเผยข้อมูลจากบัตรประจำตัวประชาชนแต่ละครั้ง เราควรหยุดคิดให้รอบคอบก่อนเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้ใครได้รู้ เพราะมิจฉาชีพในปัจจุบันมีวิธีการฉ้อฉลหลอกลวงได้หลายวิธี อย่าหลงเชื่อกลลวง และควรเก็บรหัสเหล่านี้ไว้เป็นความลับของเรานะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ไขปริศนา เลขบัตรประชาชน
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)