10 ข้อควรรู้ภาษีการรับมรดก

icon 13 ม.ค. 59 icon 98,190
10 ข้อควรรู้ภาษีการรับมรดก

10 ข้อควรรู้ภาษีการรับมรดก

จากข้อเสนอแนะให้มีการจัดเก็บภาษีมรดกภายใต้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำให้เกิดคำถามมากมายในแวดวงเศรษฐีเมืองไทยถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยตอนนี้ร่างกฎหมายเสร็จหมดแล้วเรียกว่า "พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก" รอประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้ 1 ม.ค. 59 นี้ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมกับกฎหมายตัวนี้ วันนี้ Checkraka.com มีบทความ 10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ 

1. ทำไมต้องมีการจัดเก็บภาษีการรับมรดก ?

ภาษีการรับมรดกช่วยสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยการลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ช่วยกระจายภาระภาษี หารายได้เข้ารัฐ และช่วยให้การใช้ทรัพยากรของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และโดยหลักการจะไม่กระทบต่อคนยากจน และคนที่มีฐานะปานกลาง

2. ภาษีกองมรดก กับ ภาษีการรับมรดก แตกต่างกันอย่างไร ?

"ภาษีกองมรดก" เป็นภาษีที่จัดเก็บจากกองมรดก ก่อนการแบ่งกองมรดกให้แก่ทายาท แต่ "ภาษีการรับมรดก" เป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้ที่ได้รับมรดก หลังการแบ่งมรดกให้แก่ทายาทตามจำนวนทรัพย์มรดกที่แต่ละคนได้รับ

3. ภาษีการรับมรดกเก็บจากใคร ?

ผู้ได้รับมรดก ที่เป็นบุคคลสัญชาติไทย ไม่ว่าเป็นบุคคลหรือนิติบุคคล คือทั้งตัวคนและบริษัท ห้างที่เป็นไทย หรือหากมิใช่สัญชาติไทยแต่ได้รับมรดกเป็นทรัพย์สินหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย จะถูกจัดว่าเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี

4. ภาษีการรับมรดกจัดเก็บในอัตราใด ?

ความรับผิดชอบในการเสียภาษีการรับมรดกเกิดขึ้นเมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีแต่ละราย (เป็นลูก)ได้รับมรดกจากเจ้ามรดก (เช่น คุณพ่อเสียชีวิต) ไม่ว่าในคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันเกิน 100 ล้านบาท ให้เสียภาษีในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทนั้น โดยจะเสียภาษีในอัตรา ดังนี้
  • ร้อยละ 5 ของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี สำหรับกรณีที่ผู้รับมรดกเป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดานของเจ้ามรดก (ผู้สืบสันดานนี้ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม)
  • ร้อยละ 10 ของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี สำหรับกรณีอื่นๆ เช่น ผู้รับพินัยกรรม เป็นต้น
  • ร้อยละ 0 หรือไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก สำหรับคู่สมรส หรือกรณีที่ยกให้เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา กิจการสาธารณประโยชน์ หรือหน่วยงานรัฐ หรือองค์กรระหว่างประเทศที่ทำเรื่องเหล่านี้ (ได้รับยกเว้น)

5. ทรัพย์มรดกประเภทใด ที่จะต้องเสียภาษีการรับมรดก ?

มรดกที่ต้องเสียภาษี มีทรัพย์สินทั้งหมด 5 ประเภท คือ
  • อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างทั้งหลาย
  • หลักทรัพย์ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ เช่น หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ
  • เงินฝาก หรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
  • ยานพาหนะ ที่มีหลักฐานทางทะเบียน ได้แก่ รถ เรือ มอเตอร์ไซค์
  • ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นตามกฎหมายในอนาคต (ถ้ามี)
6. ราคาของทรัพย์มรดกจะใช้ราคาใด ?
การคำนวณมูลค่าของทรัพย์มรดก เวลาจะพิจารณาว่าถึง 100 ล้านบาทหรือไม่
  •  อสังหาริมทรัพย์ ใช้ราคาประเมินของกรมที่ดิน
  •  หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ให้ใช้ราคาปิด ณ สิ้นวัน ในวันที่ได้รับมรดก
  •  ทรัพย์สินอื่นให้เป็นไปตามกฎกระทรวงจะประกาศกำหนด
  • ถ้าต้องคำนวณเป็นเงินตราต่างประเทศ จะเป็นไปตามที่กรมสรรพากร ประกาศกำหนด
7. ผู้ที่ได้รับมรดกจะต้องเสียภาษีการรับมรดกเมื่อใด  
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกต้องยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันได้รับมรดก ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ เจ้าพนักงานจะดำเนินการประเมินภาษี เพื่อดูว่าจะต้องเสียเท่าไหร่ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี แต่หากมีเหตุจำเป็นและสมควร อาจจะเพิ่มเวลาได้ แต่ไม่เกิน 3 ปี ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกมีสิทธิ์ขอผ่อนชำระภาษีการรับมรดกได้เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี 
8. จะเริ่มมีการจัดเก็บภาษีการรับมรดกเมื่อใด ?
เริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 (โดยทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
9. จะเกิดอะไรขึ้นหากเสียภาษีการรับมรดกไม่ครบถ้วน หรือไม่ยื่นแบบเสียภาษีการรับมรดก ?
  • เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษี (1-3 ปี กรณียื่นแบบและ 10 ปี กรณีไม่ยื่นแบบ) และเรียกเก็บภาษีให้ครบถ้วน พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
  • หากไม่เสียภาษีตามกำหนด อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์มรดกโดยไม่ต้องขอศาล
10. การหลีกเลี่ยงภาษีการรับมรดกจะมีโทษหรือไม่ อย่างไร ?
การหลีกเลี่ยงภาษีการรับมรดก (เช่น จงใจยื่นข้อความเท็จ ใช้อุบายหลีกเลี่ยงภาษี) ถือเป็นความผิดอาญา จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวรวมถึงผู้แนะนำหรือสนับสนุนให้บุคคลอื่นกระทำการเช่นว่านั้นด้วย
รู้ - รับ "ภาษีมรดก"

หากใครสนใจ ดูข้อมูลเพิ่มได้ที่ ร่างพระราชบัญญัติการรับภาษีมรดก
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)