เงินเดือน 20,000 บาท ซื้อบ้านได้ไหม?

icon 12 ม.ค. 58 icon 48,371
เงินเดือน 20,000 บาท ซื้อบ้านได้ไหม?

เงินเดือน 20,000 บาท ซื้อบ้านได้ไหม?

การได้เป็นเจ้าของบ้านสักหลังคือความฝันอันยิ่งใหญ่ของคนทำงานหลายๆ คน แต่กว่าจะเก็บเงินก้อนใหญ่เพื่อไปซื้อบ้านในฝัน อาจต้องใช้เวลาเกินครึ่งชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ไม่มากนัก เช่น 20,000 บาท ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงต้องขอสินเชื่อบ้านจากธนาคารเพื่อให้ความฝันเป็นจริงได้เร็วขึ้น แต่จะขอสินเชื่ออย่างไรให้ผ่านการพิจารณาจากธนาคาร เรามี 4 เคล็ดลับดีๆ จาก K-Expert ธนาคารกสิกรไทย มาฝากกันคะ

1. สร้างประวัติการชำระหนี้ที่ดี

ประวัติการชำระหนี้ถือเป็นปราการด่านแรกที่ธนาคารจะพิจารณา ถ้าในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาไม่เคยมีประวัติชำระหนี้ล่าช้าหรือเหนียวหนี้ไม่ยอมจ่าย ก็ไม่ต้องกังวลอะไร แต่ถ้าเคยผิดนัดชำระหนี้ หรือจ่ายหนี้น้อยกว่าขั้นต่ำที่ระบุในสัญญา ก็ให้รีบเคลียร์หนี้ในส่วนที่ค้างอยู่ให้สถานะกลับมาเป็นปกติ ส่วนใครที่ผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือน จนทำให้เครดิตบูโรกลายเป็นหนี้เสีย หรือ NPL ก็จะต้องแก้ไขโดยชำระหนี้ให้หมด หรือเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้แล้วชำระให้เรียบร้อย จนหลุดพ้นจากการเป็นหนี้เสีย แล้วค่อยรักษาสถานะทางบัญชีให้เป็นปกติประมาณ 1-3 ปี จึงจะสามารถยื่นขอกู้บ้านได้อีกครั้ง

2. ประเมินความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ 

โดยทั่วไปธนาคารจะดูจากรายได้ของผู้กู้เป็นหลัก ซึ่งธนาคารจะให้เราผ่อนชำระหนี้ได้ไม่เกิน 40-60% ของรายได้ในแต่ละเดือน ถ้าเป็นรายได้พิเศษหรือโบนัส ธนาคารก็อาจจะไม่ได้นำรายได้ส่วนนี้มาคำนวณ โดยรายได้ขั้นต่ำในการขอกู้บ้านจะอยู่ที่ 10,000-15,000 บาท ก่อนจะยื่นกู้ก็ลองคำนวณคร่าวๆ ดูก่อนก็ได้ค่ะ อย่างเช่น ถ้ามีรายได้ 25,000 บาท ธนาคารอาจให้ผ่อนหนี้ทุกชนิดรวมกันไม่เกิน 40% ของรายได้ เท่ากับจะผ่อนหนี้ไม่ได้ไม่เกิน 10,000 บาท เป็นต้น ซึ่งถ้าลองยื่นกู้แล้วพบว่าวงเงินที่ธนาคารอนุมัติน้อยกว่าราคาบ้านที่ต้องการ ก็จะมีทางให้เลือก คือ 1. หาเงินดาวน์เพิ่มเพื่อขอวงเงินกู้น้อยลง 2. หาผู้กู้ร่วมที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด 3. ลดขนาดบ้านที่ต้องการ

3. คำนวณอายุ

สำหรับธนาคารแล้ว อายุไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวเลข เพราะเวลายื่นสินเชื่อบ้าน ธนาคารจะพิจารณาจากอายุงานและอายุของผู้กู้  โดยทั่วไปผู้กู้ต้องมีอายุงานไม่น้อยกว่า 6 เดือน - 2 ปี และต้องผ่านช่วงทดลองงานก่อน สำหรับเจ้าของกิจการก็ควรประกอบกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1-2 ปี ส่วนอายุของผู้กู้นั้นก็ควรมีอายุตั้งแต่ 21 ปี ขึ้นไป ซึ่งสามารถผ่อนชำระสินเชื่อบ้านได้สูงสุดไม่เกิน 30 ปี และผ่อนได้ไม่เกินอายุ 60 ปี สำหรับมนุษย์เงินเดือน และ 65 ปี สำหรับเจ้าของกิจการ  เช่น ถ้ามีอายุ 40 ปี และทำงานในบริษัทเอกชน ก็จะผ่อนสินเชื่อบ้านได้สูงสุดไม่เกิน 20 ปี เป็นต้น ระยะเวลาที่ลดลงทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นต้องคำนวณดีๆ ที่สำคัญต้องชั่งใจให้ดีว่าจะจ่ายไหวหรือไม่

4. หาหลักประกัน

ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีใครเดินตัวเปล่าเข้าธนาคารไปขอสินเชื่อบ้าน แต่ต้องมีเงินดาวน์ติดกระเป๋าประมาณ 5-20% ของราคาบ้านที่จะซื้อ ซึ่งบ้านและคอนโดมิเนียมแต่ละโครงการ อาจมีเงื่อนไขจำนวนเงินดาวน์ไม่เท่ากัน ต้องตรวจสอบและคำนวณเงินในกระเป๋าให้ดี ส่วนใครที่อยากเป็นเจ้าของที่ดินเปล่า ธนาคารมักจะไม่อนุมัติวงเงินสินเชื่อ และสำหรับบ้านมือสอง ก็อาจต้องวางเงินดาวน์ประมาณ 20% ของราคาบ้าน 

เมื่อรู้แบบนี้แล้วก็น่าจะทำให้การขอสินเชื่อบ้านกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นนะคะ สรุปแล้วเงินเดือน 20,000 บาท ของเรา ก็มีโอกาสยื่นขอสินเชื่อบ้านได้สบายๆ เพียงแต่ต้องวางแผนทางการเงินตั้งแต่เนิ่นๆ และเมื่อขอสินเชื่อบ้านผ่านแล้ว ก็สามารถหมดภาระหนี้ได้เร็วขึ้นด้วยการโปะหนี้บ้านหรือชำระหนี้มากกว่ายอดผ่อนที่กำหนดไว้ในแต่ละเดือน เพราะการโปะหนี้จะทำให้ยอดเงินต้นลดลง และประหยัดดอกเบี้ยจ่าย ดังนั้น หากได้รับโบนัสหรือเงินก้อนพิเศษเข้ามา การนำไปโปะหนี้บ้านจะช่วยให้ภาระหนี้บ้านหมดไวขึ้นค่ะ

แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)