10 อันดับธนาคารแห่งปี 2556 (Bank of the Year 2013)

icon 9 มี.ค. 59 icon 74,729
10 อันดับธนาคารแห่งปี 2556 (Bank of the Year 2013)

10 อันดับธนาคารแห่งปี 2556 (Bank of the Year 2013)
การเงินธนาคารฉบับเดือนเมษายน 2556 ประกาศผลการจัดอันดับธนาคารแห่งปี 2556 หรือ Bank of the Year 2013 โดยใช้ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ 15 แห่ง ในรอบปี 2555 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2555 มาพิจารณาจัดอันดับ ซึ่งผลการจัดอันดับเป็นดังนี้
อันดับ 1 ธนาคารไทยพาณิชย์


ธนาคารไทยพาณิชย์ก้าวขึ้นมาเป็นธนาคารแห่งปี 2556 ด้วยผลงานยอดเยี่ยม โดยสามารถสร้างผลกำไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์และสูงที่สุดในระบบธนาคารพาณิชย์ จำนวน 40,219.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28.9% และมีอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) สูงเป็นอันดับ 1 ที่ 28.76%
ในปี 2556 ธนาคารมีนโยบายที่จะขับเคลื่อนกลยุทธ์ที่มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวสู่การเป็นธนาคารครบวงจร (Universal Banking) เบอร์ 1 ของประเทศไทย โดยขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนผ่าน 6 กลยุทธ์หลักคือ
  1. การขยายการเติบโตในกลุ่มธุรกิจลูกค้าบุคคล โดยแบ่งลูกค้าตามเซ็กเมนต์ ผ่านกลยุทธ์ Customer Centric 
  2. เพิ่มส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มธุรกิจลูกค้า SME โดยเน้นเจาะกลุ่มที่มียอดขาย 20 - 50 ล้านบาท 
  3. สร้างรากฐานในตลาดต่างประเทศเพื่อรองรับการขยายการลงทุนของลูกค้าทั้งขาเข้า และขาออก โดยจะเน้นขยายเข้าไปในกลุ่มอินโดไชน่า ได้แก่ ประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า 
  4. ยกระดับงานสนับสนุน และปฏิบัติการ (Operation) ทั้งหมดของธนาคาร เพื่อรองรับปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มขึ้น และให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ 
  5. พัฒนาองค์ความรู้และทักษะของบุคคลากรอย่างเป็นระบบทั่วทั้งองค์กร  
  6. ยกระดับระบบ IT หลักและสาขาเพื่อรองรับปริมาณธุรกรรมจำนวนมากได้ตลอดเวลา และเต็มศักยภาพ
อันดับ 2 ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย


ในปีนี้มีธนาคาร 2 แห่งที่ได้ครองอันดับร่วมกัน ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย
โดยผลการดำเนินงานของธนาคารกรุงเทพยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในปี 2555 ธนาคารมีกำไรสุทธิ 33,021.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.8% มีกำไรสุทธิต่อหุ้นสูงเป็นอันดับ 1 จำนวน 17.30 บาท รวมทั้งมีมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (Book Value) สูงสุดที่ 143.30 บาท สำหรับแผนธุรกิจในปี 2556 ธนาคารจะมุ่งดำเนินการเพื่อเป็นที่หนึ่งในตลาดในด้านต่างๆ และสร้างความได้เปรียบจากโอกาสทางธุรกิจที่เปิดขึ้น โดยจะใช้เครือข่ายสาขาในต่างประเทศที่มีอยู่ 26 แห่ง และสำนักงานตัวแทนอีก 1 แห่งที่ครอบคลุมเขตเศรษฐกิจสำคัญ 13 แห่ง สนับสนุนลูกค้าที่ต้องการไปลงทุน และทำธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะในเอเชียและอาเซียน ด้วยการให้คำปรึกษาแนะนำในการลงทุนการค้า การให้บริการทางการเงินในด้านต่างๆ นับเป็นจุดเด่นของธนาคารในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ในขณะที่เอเชียและเศรษฐกิจโลกกำลังรวมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น
ด้าน ธนาคารกสิกรไทย ก้าวขึ้นจากอันดับ 3 มาอยู่ในอันดับ 2 ในปีนี้ โดยมีรายได้สูงเป็นอันดับ 1 รวม 177,896.47 ล้านบาท มีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) และอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) สูงเป็นอันดับ 1 ที่ 2.58% และ 20.76% ตามลำดับ ซึ่งในปี 2556 ธนาคารได้กำหนดกลยุทธ์ธุรกิจ ภายใต้ยุทธศาสตร์การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centricity) เพื่อมุ่งสู่การเป็นธนาคารหลักของลูกค้าทุกกลุ่ม นอกจากนี้ ธนาคารยังตั้งเป้าหมายรุกตลาดต่างประเทศด้วยการเป็น เอเชี่ยน แบงก์ (Asian Bank) โดยมีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมธุรกิจต่างประเทศเพื่อให้ข้อมูลคำแนะนำด้านการค้าการลงทุนในประเทศไทยและกลุ่มอาเซียน และเป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมจับคู่พันธมิตรทางธุรกิจ
อันดับ 4 ธนาคารกรุงไทย

อันดับ 4 ยังคงเป็นของ ธนาคารกรุงไทย เช่นเดียวกับปีที่แล้ว โดยมีกำไรสุทธิ 23,527.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.4% ทั้งนี้ ในปี 2556 ธนาคารได้วางกลยุทธ์หลักๆ โดยเน้นการสร้างรายได้ที่มั่งคง โดยกระจายแหล่งที่มาของรายได้และกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย เข้าใจความต้องการทางธุรกิจของลูกค้า สามารถต่อยอดธุรกิจและรักษาฐานลูกค้ารายเก่า รวมทั้งขยายฐานลูกค้ารายใหม่
อันดับ 5 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา


ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ก้าวขึ้นจากอันดับ 8 มาอยู่อันดับ 5 ในปีนี้ โดยมีกำไรสุทธิ 14,625.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 57.7% โดยในปี 2556 ธนาคารมุ่งเน้นทางธุรกิจใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.วิสัยทัศน์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ โดยนำเสนอบริการทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ 2.Big Bang โดยให้น้ำหนักกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ธนาคารให้ความสำคัญ ด้วยเงินลงทุนที่มากขึ้น 3.การขยายธุรกิจสู่ระดับภูมิภาค โดยมองหาโอกาสในการขยายธุรกิจไปยังประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน (AEC) และ 4.การขยายฐานลูกค้าเข้าสู่กลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน
อันดับ 6 ธนาคารเกียรตินาคิน

ธนาคารเกียรตินาคิน ก้าวขึ้นจากอันดับ 7 มาอยู่อันดับ 6 ในปีนี้ โดยมีกำไรสุทธิ 3,391.29 ล้านบาท ซึ่งภายใต้กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อรวมจะเติบโตที่ 19% พร้อมผนึกกำลังกับบริษัททุนภัทร บล.ภัทร บล.เกียรตินาคิน และ บลจ.เกียรตินาคิน ให้บริการทางธุรกิจหลักทรัพย์และการลงทุนอย่างครบวงจร
อันดับ 7 ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ปีนี้อยู่ในอันดับ 7 หล่นจากอันดับ 6 เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งธนาคารยังคงให้ความสำคัญแก่การรักษางบดุลทางการเงินให้เข้มแข็ง โดยมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) สูงเป็นอันดับ 1 ที่ 17.62% และมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อสูงเป็นอันดับ 1 ที่ 5.83%
อันดับ 8 ธนาคารทิสโก้

ธนาคารทิสโก้ ร่วงมาอยู่อันดับ 8 จากอันดับ 5 เมื่อปีที่แล้ว แต่ยังสามารถรักษาอัตราค่าใช้จ่ายต่อรายได้ไว้ที่ 24.44% ซึ่งต่ำที่สุดในระบบธนาคารพาณิชย์ ซึ่งในปี 2556 ธนาคารได้กำหนดแผนกลยุทธ์องค์กร โดยมุ่งเน้นใน 4 เรื่องหลักคือ 1. การขยายช่องทางการจำหน่าย 2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพ 3.การสร้าง แบรนด์ และรักษาภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร และ 4. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
อันดับ 9 ธนาคารธนชาต

ธนาคารธนชาต ยังคงรักษาอันดับ 9 ไว้ได้อีกในปีนี้ โดยมีกำไรสุทธิ 8,220.58 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.8% สำหรับนโยบายของธนาคารในช่วงปี 2556 ธนาคารมีความมุ่งมั่นที่จะให้บริการทางการเงินที่ครบวงจร ด้วยคุณภาพที่ดีเลิศ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม
อันดับ 10 ธนาคารยูโอบี


สำหรับอันดับ 10 ตกเป็นของ ธนาคารยูโอบี โดยก้าวขึ้นจากอันดับ 13 เมื่อปีที่แล้ว โดยในปี 2556 นี้ธนาคารก็จะยังคงลงทุนและเติบโตตามความมุ่งมั่นที่มีต่อประเทศไทยในระยะยาว และยังคงยึดมั่นในหลักจริยธรรมทางการเงิน
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)