x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

dtac Safe และ Whoscall ช่วยบล็อกลิงก์ปลอม เบอร์อันตราย สมัครวันนี้รับสิทธิพิเศษ

ข่าว icon 19 มิ.ย. 66 icon 1,054
 
dtac ห่วงใยประชาชน ออกโรงเตือนกลโกงมิจฉาชีพแนวใหม่ แนบลิงก์ปลอมผ่าน SMS จากการใช้ False Base Station (FBS) โดยใช้วิธีการส่งข้อความสั้น (SMS) แอบอ้างส่งมาจากธนาคาร หน่วยงานต่างๆ โดยไม่ผ่านเครือข่ายของผู้ให้บริการ ดีแทคขอเตือนภัย ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ ทุกวันนี้ ต้องตั้งสติให้มั่น ระมัดระวังไม่กด (รับ SMS แปลกปลอม) ไม่รับเบอร์แปลก ไม่คุย (หลงลมคำขู่) ดีแทคตระหนักถึงความกังวลของผู้ใช้บริการต่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยมุ่งมั่นพัฒนาบริการป้องกันภัยไซเบอร์ที่ครบทุกมิติเพื่อส่งมอบประสบการณ์ชีวิตอัจฉริยะ (Enhance Smart Life for Customers) ยกระดับวิถีชีวิต ไลฟ์สไตล์ความสะดวกสบาย รวมถึงความปลอดภัยในการใช้งานของลูกค้า
 
dtac Safe ได้ผนึกกำลังพันธมิตร Whoscall แนะนำบริการเสริมตรวจสอบเว็ปไซต์ก่อนเข้าใช้งาน ช่วยบล็อกลิงก์ปลอม และบล็อกเบอร์อันตราย เพื่อให้ลูกค้าดีแทคมั่นใจในการใช้งานได้มากยิ่งขึ้น ในช่วงการระบาดของลิงก์ปลอม เว็บไซต์ปลอม
  • ลูกค้าจะได้ใช้ฟรี Whoscall Premium นาน 2 เดือน เมื่อสมัคร dtac Safe แพ็กเกจราย 3 เดือน ในราคาเพียง  79 บาท ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 ก.ย. 66
  • สำหรับลูกค้า Whoscall ที่ใช้เครือข่ายดีแทค สมัคร dtac Safe วันนี้ ได้ใช้ฟรี 2 เดือน มูลค่า 58 บาท วันนี้ถึง 31 ธ.ค. 66
  • ลูกค้าดีแทคสมัครแพ็กเกจ Advance Protection ราคา 799 บาท (รวมบริการ dtac Safe, Whoscall premium และรับฟรีประกันภัยไซเบอร์ ถูกโกงออนไลน์ก็เคลมได้) รับฟรีดีแทค รีวอร์ด 200 คอยน์ นำมาแลกสิทธิพิเศษดีลเด็ดมากมาย ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ก.ค. 66 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.dtac.co.th/dtac-safe

ทำไมต้องใช้ dtac Safe

พราะแฮ็กเกอร์และมิจฉาชีพอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด dtac Safe ช่วยบล็อกเว็บไซต์อันตรายจาก โซเชียลมีเดียและอีเมล์หลอกลวงให้ทันทีที่กด เพราะธุรกรรมออนไลน์อาจไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่คิด dtac Safe ช่วยบล็อกเว็บไซต์อันตรายที่ต้องการขโมยรหัสและข้อมูลการเงิน รวมไปถึงการบล็อกเว็บไซต์ที่มาพร้อมกับมัลแวร์ แรนซัมแวร์ที่จะเข้ามาแฮ๊กข้อมูลในมือถือ dtac Safe และ Whoscall Premium ผู้นำด้านแอประบุหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่รู้จัก แจ้งได้ทันทีว่าใครโทรเข้ามา และยังช่วยกรองสายที่น่าสงสัยด้วยระบบ AI อัจฉริยะและฐานข้อมูลที่มีอยู่มหาศาลจะสามารถบล็อกเบอร์มิจฉาชีพ และเตือนเบอร์แปลก และบล็อกเบอร์อันตรายให้ได้เพื่อให้มั่นใจว่าสายสนทนานั้นปลอดภัย ปัจจุบันมีผู้ไว้วางใจและมั่นใจในการใช้ dtac Safe แล้ว 110,000 ราย

ลิงก์ปลอม เว็บไซต์ปลอม ระบาดหนัก

ข้อมูลจาก Anti-Fake News Center Thailand* ระบุว่า ลิงก์ปลอมจะถูกส่ง เข้ามาในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งตัวผู้ใช้งานโทรศัพท์หลายคนอาจจะไม่ได้สังเกตความผิดปกติของลิงก์ที่ถูกส่งเข้ามา จนเผลอกดลิงก์และดาวน์โหลดไฟล์อันตรายที่เสี่ยงต่อการถูกดูดเงินโดยไม่รู้ตัว  7 ช่องทางที่มิจฉาชีพมักจะใช้ส่งลิงก์หลอกดูดเงิน คือ
  • SMS ปลอม มิจฉาชีพจะส่งลิงก์โดยมักอ้างว่าคุณได้รับสินเชื่อ ได้รับรางวัลจากกิจกรรม หรือหลอกลงทะเบียนรับสิทธิ ซึ่งจะหลอกให้กรอกข้อมูลและติดตั้งไฟล์ที่ไม่ประสงค์ไว้
  • เว็บไซต์ปลอม มักจะแอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐและบริษัทเอกชน หลอกให้ชำระค่าบริการต่าง ๆ และมักหลอกกดลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน จนเงินหายหมดบัญชี
  • ไลน์ปลอม มิจฉาชีพจะสร้าง LINE Official Account ปลอมขึ้นมา ใช้รูปโปรไฟล์ให้เหมือนกับของจริง อ้างเป็นตำรวจ ธนาคาร หรือหน่วยงานรัฐ และบริษัทเอกชน หลอกให้เหยื่อโอนเงินหรือหลอกขอข้อมูล และให้กดลิงก์สูญเงินไปจำนวนมาก
  • ลิงก์ใต้คอมเมนต์ เป็นลิงก์ข่าวหรือคลิปวิดีโอที่สร้างชื่อหน้าเว็บลิงก์เหมือนสื่อหลัก เพื่อหลอกให้คิดว่าเป็นการแชร์ลิงก์ที่มีต้นตอมาจากสื่อหลักมีความน่าเชื่อถือ
  • โฆษณาบนสื่อโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ ซึ่งมีบางเว็บที่ไม่พึงประสงค์ใช้ในการหลอกล่อโฆษณาการพนันและยิงแจ้งเตือนโฆษณา เพื่อหลอกให้คนหลงเชื่อกดลิงก์ รวมถึงลิงก์ที่ติดฝังมัลแวร์
  • แอปพลิเคชันที่ไม่ทราบแหล่งที่มา จะให้ดาวน์โหลดผ่านลิงก์ที่ส่งให้ ไม่ได้ดาวน์โหลดผ่านสโตร์ที่มีการตรวจสอบ เสี่ยงที่จะถูกหลอกติดตั้งแอป ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเเอปเงินกู้ แอปพนันและแอปหาคู่เถื่อนที่คนหลงกลเป็นเหยื่อ
  • อีเมล์ปลอม โดยมิจฉาชีพจะแอบอ้างชื่อบริษัท แจ้งให้ชำระใบแจ้งหนี้ที่ยังไม่ได้ชำระเงิน และมีลิงก์ไปเว็บไซต์ปลอม หลอกให้กรอกข้อมูล และทำรายการชำระเงิน
บริการ dtac Safe และแอป Whoscall ร่วมต่อสู้กับการฉ้อโกงจากการโทรและข้อความหลอกลวงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นเกราะป้องกันคนไทยจากการถูกหลอกลวง และการสร้างสังคมที่ปลอดภัยจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับคนไทยทุกคน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

dtac dtac Safe Whoscall

ข่าวและอีเว้นท์โทรศัพท์มือถือล่าสุด




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)