ในการดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น องค์กรชั้นนำต่างหันมาใช้เทคโนโลยี AI, การเรียนรู้ของเครื่อง และระบบวิเคราะห์อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เพิ่มมากขึ้น ช่วยให้เกิดความยั่งยืน ลดการปล่อยมลพิษ และยกระดับการดำเนินงานให้มีความชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
SAS ได้นำเสนอ AI และโซลูชันการวิเคราะห์ขั้นสูงที่เปลี่ยนข้อมูลให้สามารถนำมาใช้ตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมี
SAS® Viya® คือแพลตฟอร์ม AI และระบบวิเคราะห์แบบคู่ขนานขนาดใหญ่บนคลาวด์ของ
SAS คุณ Jim Goodnight ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแห่ง SAS กล่าวว่า "อนาคตที่ยั่งยืนต้องการโซลูชันที่มีพื้นฐานมาจากวิทยาศาสตร์และข้อมูลเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรับตัวให้เข้ากับผลของมัน องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและมีความยืดหยุ่น เช่น เทศบาลนครอิสตันบูลและบริษัท Wienerberger Group กำลังใช้ระบบวิเคราะห์จาก SAS เพื่อสร้างอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการลดความแออัดของการจราจร หรือการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า AI และระบบวิเคราะห์ขั้นสูงสามารถสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในปัจจุบันได้"
อิสตันบูลใช้ AI เพิ่มประสิทธิภาพการจราจร
อิสตันบูลเป็นเมืองหลวงทางธุรกิจและการเงินที่คึกคักแห่งหนึ่งในตุรกี อีกทั้งยังมีประชากรเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวนถึง 16 ล้านคน ซึ่งได้สร้างแรงกดดันต่อเครือข่ายการขนส่งในเมืองอย่างมาก โดยพื้นที่ที่มีการจราจรที่คับคั่งที่สุดในโลกบางแห่งส่งผลให้เกิดรถติดเป็นทางคดเคี้ยวบนถนน หรือแม้กระทั่งบนทางหลวงและสะพานที่มีความทันสมัย
เทศบาลนครอิสตันบูลได้หันมาใช้ SAS เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลสำหรับเมืองอัจฉริยะ วิศวกรและนักวางแผนสามารถใช้ระบบวิเคราะห์ของ SAS เพื่อทำความเข้าใจ คาดการณ์ และรับมือกับความท้าทายด้านการจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระบบใหม่นี้ขับเคลื่อนโดย AI และการเรียนรู้ของเครื่องที่ทำงานบนแพลตฟอร์ม SAS Viya โดยจะวิเคราะห์ข้อมูลการจราจรที่ผ่านมาและรวมฟีดข้อมูลสดจากเครือข่ายแหล่งที่เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งรวมถึงกล้องจราจร เซ็นเซอร์ เครื่องอ่านข้อมูล แอปพลิเคชันมือถือ และเกตเวย์การชำระเงิน
ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์นี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเส้นทางเดินรถรถประจำทางด้วยข้อมูลด้านการจราจรและผู้โดยสารชุดใหม่ ซึ่งนำมาใช้พัฒนาการให้บริการและความพร้อมใช้งานของแต่ละเส้นทาง นอกจากนี้ ยังสามารถคาดการณ์ความผิดปกติของการจราจร เช่น อุบัติเหตุ การปิดเลน และพื้นที่แออัดอย่างกะทันหันได้แบบเรียลไทม์ โดยวิเคราะห์จากความหนาแน่นของเส้นทาง พฤติกรรมของผู้ขับขี่ และแผนที่การเดินทาง ดังนั้น เทศบาลนครอิสตันบูลจึงสามารถควบคุมสัญญาณไฟจราจรได้ดีขึ้น และแจ้งเตือนผู้ขับขี่ผ่านป้ายดิจิทัลและแอปพลิเคชันมือถือด้วยแบบจำลองการวิเคราะห์
ดร. Naim Erol Özgüner ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศแห่งเทศบาลนครอิสตันบูล กล่าวว่า "เทศบาลนครอิสตันบูลสามารถประเมินสภาพการจราจรแบบเรียลไทม์ คาดการณ์จุดที่เกิดปัญหาการจราจรติดขัด กำหนดเส้นทางการจราจรได้อย่างชาญฉลาด และให้คำแนะนำประชาชนในการเดินทางได้ด้วย AI และระบบวิเคราะห์ของ SAS"
"ทั้งหมดนี้สามารถช่วยลดความแออัด ลดระดับมลพิษ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ระบบที่ขับเคลื่อนด้วย SAS จะส่งเสริมเป้าหมายด้านความยั่งยืนของนครอิสตันบูล รวมถึงส่งผลให้สาธารณชนเชื่อมั่นในระบบขนส่งมวลชน และพัฒนาวงจรของการจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งส่งผลให้มีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น"
ในช่วงปีที่ผ่านมา หลายประเทศในสหภาพยุโรปได้ลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากรัสเซียลงอย่างมาก ซึ่งเป็นการบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรเพื่อตอบโต้ที่รัสเซียเข้ารุกรานยูเครนอย่างไร้ความปราณี ดังนั้น การลดการนำเข้าซึ่งรวมถึงความไร้เสถียรภาพของตลาดพลังงานทั่วโลกได้ส่งผลให้ต้นทุนด้านพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลทั่วยุโรป
Wienerberger – จากโรงงานทำอิฐสู่โรงงานที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
สำหรับบริษัทสัญชาติออสเตรีย เช่น Wienerberger Group ผู้ให้บริการชั้นนำด้านโซลูชันสำหรับอาคารทั้งหลังที่ชาญฉลาดและมีความยั่งยืน ตลอดจนนวัตกรรมโซลูชันด้านโครงสร้างพื้นฐาน อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตอิฐรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นนั้นทำให้บริษัทต้องหาวิธีลดการใช้พลังงานในขณะที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ไปพร้อมๆ กัน Wienerberger จึงหันมาใช้ระบบวิเคราะห์ด้วย AI และ IoT จาก SAS และใช้ SAS Viya บน Microsoft Azure Cloud เพื่อช่วยปรับต้นทุนด้านพลังงานให้เหมาะสมและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน ภายในปี 2566 บริษัทตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซลง 15% เมื่อเทียบกับปี 2563 และมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์แบบภายในปี 2593
Wienerberger ทำงานร่วมกับ SAS โดยเลือกโรงงานในโปแลนด์เพื่อริเริ่มทำโครงการ และตอนนี้โรงงานทำอิฐแห่งนี้ก็ถือเป็นโรงงานที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง โครงการที่ประสบความสำเร็จแห่งนี้จึงได้กลายเป็นต้นแบบสำหรับการประยุกต์ใช้ AI ให้แก่โรงงานอื่นๆ อีกด้วย
Wienerberger รวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล ตั้งแต่อุปกรณ์เอดจ์ IoT และเซ็นเซอร์ทั่วทั้งโรงงาน ไปจนถึงข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับสภาพอากาศและความชื้น รวมทั้งการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ในระหว่างและหลังการผลิต ข้อมูลทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความผันผวนที่อาจนำไปสู่ความไร้ประสิทธิภาพและการใช้พลังงานที่ไม่มีความจำเป็นได้
เตาเผาสำหรับการอบอิฐให้แห้งต้องใช้อุณหภูมิถึง 1,475 องศาฟาเรนไฮต์ (800 องศาเซลเซียส) ดังนั้นเราจึงต้องลดความแปรปรวนเพื่อค้นหาขั้นตอนการผลิตที่เหมาะสมและทำซ้ำได้
SAS ช่วย Wienerberger พัฒนา Digital Twin ของกระบวนการผลิตอิฐที่แสดงให้เห็นถึงความผันผวน โดย Digital Twin ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ยังนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สามารถลดการใช้พลังงาน ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ และลดการปล่อยมลพิษ
คุณ Florian Zittmayr หัวหน้าทีมวิทยาศาสตร์ข้อมูลของ Wienerberger AG กล่าวว่า "เราใช้ระบบวิเคราะห์ AI และ IoT ของ SAS เพื่อเชื่อมโยงการสตรีมข้อมูลทั้งหมดของเราเข้าไว้ด้วยกันและใช้วิเคราะห์กระบวนการผลิตทั้งหมด การวิเคราะห์ของ SAS ทำให้เตาเผามีความชาญฉลาด โดยวิศวกรและพนักงานแนวหน้าจะได้รับข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าในแต่ละขั้นตอน และสามารถกำหนดค่าที่เหมาะสมในการอบแห้งและเผาอิฐซึ่งช่วยให้ประหยัดต้นทุนได้มากกว่าเดิม"
Wienerberger กำลังเริ่มทยอยใช้ระบบวิเคราะห์ขั้นสูงในระบบคลาวด์ในโรงงาน 149 แห่งใน 23 ประเทศ และกำลังเปลี่ยนโรงงานอิฐให้กลายเป็นโรงงานที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการปล่อย CO2 ผ่านระบบวิเคราะห์ AI และ IoT ของ SAS
การแถลงการณ์ในวันนี้มีขึ้นที่ SAS Innovate ซึ่งเป็นการประชุมธุรกิจ AI และระบบวิเคราะห์จาก SAS ผู้นำด้านการวิเคราะห์ ท่านสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจาก SAS ได้จากการกดติดตาม @SASsoftwareNews บน Twitter
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันอุตสาหกรรมของ SAS ที่สามารถช่วยองค์กรได้ทุกขนาดได้ที่
www.sas.com/en_us/industry.html