- จากผลสำรวจ Philips Healthy Living in Asia พบว่าผู้หญิงในเอเชียให้ความใส่ใจในการดูแลสุขภาพ ทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาวะทางอารมณ์ และความเป็นอยู่ที่ดี มากกว่าก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19
- ในขณะที่ร้อยละ 57 ของผู้หญิงในประเทศไทยคิดว่าสุขภาพจิต และสุขภาวะทางอารมณ์ ส่งผลต่อสุขภาพทางร่างกาย และร้อยละ 43 มีการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น
- เกือบร้อยละ 80 กล่าวว่าพวกเธอต้องการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการดูแลสุขภาพ หากพวกเธอสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพได้
- ฟิลิปส์มุ่งมั่นที่จะให้ความรู้และส่งเสริมผู้หญิงในเอเชีย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านการดูแลสุขภาพให้กับคุณผู้หญิง ผ่านนวัตกรรมดิจิทัล พร้อมทั้งสร้างความหลากหลายทางเพศในสถานที่ทำงานของฟิลิปส์ในเอเชียและในประเทศไทย
|
ปัจจุบันจำนวนประชากรหญิงนั้นมีจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งโลก และเกือบร้อยละ 70 ของบุคลากรด้านสาธารณสุขและด้านสังคมเป็นผู้หญิง อย่างไรก็ตามผู้หญิงและวงการเฮลท์แคร์ยังคงเผชิญกับความท้าทาย ทั้งในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและระดับโลก เนื่องในวันสตรีสากล ประจำปี 2023 นี้
รอยัล ฟิลิปส์ (Royal Philips) ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพระดับโลก ร่วมมือกับภาครัฐและหน่วยงานทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ผลักดันด้านความเท่าเทียมทางเพศในสังคม สร้างการตระหนักรู้และการเปลี่ยนแปลงด้านเฮลท์แคร์ให้กับผู้หญิง
จากผลสำรวจ Healthy Living in Asia ล่าสุด พบว่าถึงแม้ผู้หญิงในเอเชียจะให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีมากกว่าก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่พวกเธอยังพบอุปสรรคเนื่องจากไม่มีเวลา เพราะภาระงาน ภาระทางครอบครัว และภาระส่วนตัว หรือแม้กระทั่งข้อจำกัดด้านการเงิน ทำให้พวกเธอไม่สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยผู้หญิงมากกว่า 2,000 คน ในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และประเทศไทย ร่วมตอบแบบสำรวจที่จัดทำขึ้นโดยฟิลิปส์ร่วมกับบริษัทวิจัย Kantar Profiles Network ซึ่งจากผลสำรวจนี้ชี้ให้เห็นถึงช่องว่างทางเพศในวงการเฮลท์แคร์ในเอเชีย ซึ่งควรได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้หญิงได้ดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
สร้างการรับรู้และเพิ่มความตระหนักของการดูแลสุขภาพของผู้หญิงในเอเชียและในประเทศไทย
หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 เราพบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของผู้หญิงที่ตอบแบบสำรวจเผยว่า พวกเธอให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ทั้งด้านสุขภาพกาย(ร้อยละ 50) สุขภาพจิต (ร้อยละ 47) และสุขภาวะทางอารมณ์ (ร้อยละ 47) ในขณะที่ร้อยละ 53 ของผู้หญิงในประเทศไทยใส่ใจในการดูแลสุขภาพกายมากขึ้น และใส่ใจในการดูแลสุขภาพจิตร้อยละ 46 และสุขภาวะทางอารมณ์ร้อยละ 47 นอกจากนี้ร้อยละ 57 ของผู้หญิงในประเทศไทยมองว่าสุขภาพจิตและสุขภาวะทางอารมณ์ส่งผลต่อสุขภาพทางร่างกาย และร้อยละ 61 ของผู้หญิงในประเทศไทยที่ร่วมตอบแบบสำรวจเข้าใจถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน โดยกว่าร้อยละ 40 บอกว่าพวกเธอมีการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพที่ดีมากขึ้น และร้อยละ 50 บอกว่าพวกเธอหาอ่านข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพเป็นประจำเกี่ยวกับการป้องกันโรคและการใช้ชีวิตอย่างสุขภาพดี มากไปกว่านั้น เกือบครึ่งหนึ่งของผู้หญิงในประเทศไทย (ร้อยละ 46) รู้สึกว่าพวกเธอสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ดีกว่านี้ และมีเพียงร้อยละ 32 ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยร้อยละ 53 ให้เหตุผลว่าอุปสรรคต่อการดูแลสุขภาพของพวกเธอ คือ ไม่มีเวลาเนื่องจากภาระงาน ภาระทางครอบครัว และภาระส่วนตัว และร้อยละ 52 บอกว่าปัจจัยด้านการเงินเป็นอุปสรรคสำคัญ
แคโรไลน์ คลาร์ค ประธานและรองประธานกรรมการบริหาร ฟิลิปส์ อาเซียน แปซิฟิก กล่าวว่า "ในเอเชีย ประชากรหญิงมีจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด และมีบทบาทสำคัญต่อการดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคนในครอบครัว สังคมและเศรษฐกิจ ฟิลิปส์ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของผู้หญิง และการให้บริการด้านเฮลท์แคร์ที่ตรงตามความต้องการที่แตกต่างของแต่ละคน เพื่อมุ่งมั่นผลักดันด้านความเท่าเทียมทางเพศในสังคม และเรารู้สึกดีใจที่ได้เห็นว่าการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันของผู้หญิงส่วนใหญ่ในภูมิภาคได้รับความสนใจมากขึ้นหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ การให้ความรู้และการสนับสนุนผู้หญิงเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนวงการเฮลท์แคร์"
โซลูชั่นด้านดิจิทัลเฮลท์ช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้หญิงให้ดีขึ้น
ผู้หญิงในเอเชียมักต้องแบกรับภาระในการดูแลครอบครัวและชุมชน พวกเธอจึงต้องการการสนับสนุนเพื่อแบ่งเบาภาระต่างๆ ให้พวกเธอสามารถแบ่งเวลาจากภาระงาน ภาระครอบครัวและภาระส่วนตัวเพื่อดูแลสุขภาพของตนเองได้มากขึ้น จากรายงานยังเผยอีกว่า การให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตอย่างสุขภาพดี และความรู้เพิ่มเติมในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลในการวัดผลและติดตามสุขภาพ เป็นแนวทางที่ผู้หญิงนิยมในการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน โดยร้อยละ 77 ของผู้หญิงในประเทศไทยกล่าวว่าพวกเธอจะเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ หากพวกเธอสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ ในขณะที่ร้อยละ 44 บอกว่าพวกเธอเริ่มใช้เทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลเพื่อตรวจวัดผลทางสุขภาพของพวกเธอมากกว่าก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 และพวกเธอยังวางแผนที่จะใช้โซลูชั่นดิจิทัลเพื่อการดูแลสุขภาพมากขึ้นในอนาคตอีกด้วย ภายใน 3 ปีหลังจากนี้ มากกว่า 3 ใน 4 ของผู้หญิงมีแผนที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการตรวจติดตามโรคและสุขภาพทั่วไปมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
"เพื่อยกระดับการดูแลสุขภาพของผู้หญิงในเอเชีย แนวทางการป้องกันและการตรวจหาโรคในระยะเริ่มต้นต้องได้รับความสำคัญเป็นอันดับแรก ทุกวันนี้ผู้หญิงในภูมิภาคนี้ยังคงเสียชีวิตจากสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ซึ่งเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร และปัญหาสุขภาพของผู้หญิงจำนวนมากยังไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ฟิลิปส์เรามุ่งมั่นที่จะส่งมอบเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นให้แก่ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงทั่วโลก เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นความหวังในการส่งเสริมด้านสุขภาพและการให้ความรู้ และการให้ข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกที่ระบุเกี่ยวกับเพศ ทำให้เราสามารถวินิจฉัยโรคได้แต่เนิ่นๆ และสามารถหาแนวทางรักษาที่ตรงจุดและเข้าถึงสำหรับผู้หญิงได้มากขึ้น" แคโรไลน์ กล่าวเสริม
ความมุ่งมั่นของฟิลิปส์ด้านนวัตกรรมดิจิทัล รวมถึงการสนับสนุนด้านความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของพนักงานในองค์กร (D&I) เพื่อลดช่องว่างด้านสุขภาพเกี่ยวกับเพศ
โซลูชั่นของฟิลิปส์ ช่วยสร้างความแตกต่างในการดูแลสุขภาพด้านสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและโรคมะเร็ง ยกตัวอย่างเช่น ในด้านสูตินรีเวช เครื่องอัลตร้าซาวด์และโซลูชั่นมอนิเตอร์ตรวจติดตามทารกในครรภ์และมารดาของฟิลิปส์ เป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการดูแลสุขภาพของผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความเสี่ยง และขยายการเข้าถึงการดูแลสุขภาพของผู้หญิงในชุมชนด้อยโอกาส ด้วยแอปพลิเคชัน Philips Pregnancy+ สนับสนุนการดูแลสุขภาพผู้หญิงด้วยการให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอดบุตรและอื่นๆ นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพโดยรวมและสุขภาวะที่ดีของผู้หญิง ฟิลิปส์ยังได้นำเสนอแปรงสีฟันไฟฟ้าที่นำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ มาพร้อมแอปพลิเคชัน Sonicare Al-powered เพื่อให้คำแนะนำในการแปรงฟันแบบเฉพาะบุคคล และเพื่อปรับปรุงและรักษานิสัยการแปรงฟันที่ถูกสุขลักษณะเพื่อการดูแลสุขภาพในระยะยาว
เพื่อสร้างความเข้าใจและตอบสนองต่อความต้องการด้านเฮลท์แคร์ที่หลากหลายของผู้หญิงผ่านนวัตกรรมอันทรงคุณค่า ฟิลิปส์ยังมุ่งมั่นที่จะให้มีความหลากหลายทางเพศในสถานที่ทำงาน เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานทุกระดับในองค์กรจะสามารถสะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนที่ตนให้บริการอยู่ได้ ปัจจุบัน ฟิลิปส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีพนักงานหญิงถึงร้อยละ 66 และมากกว่าร้อยละ 37 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารระดับอาวุโส และฟิลิปส์ ยังตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงที่เป็นผู้หญิงให้มากกว่าร้อยละ 30 ภายในปี ค.ศ. 2025 อีกด้วย
นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "ในฐานะที่ฟิลิปส์ ดำเนินธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ เราเชื่อว่าพนักงานผู้หญิงของเราจะสามารถนำความรู้และประสบการณ์ตรงจากปัญหาด้านสุขภาพ เพื่อเป็นข้อมูลเชิงลึกในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพขององค์กรไปข้างหน้าได้ รวมถึงการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุขของประเทศเช่นกัน ปัจจุบัน ฟิลิปส์ ประเทศไทย มีพนักงานผู้หญิงถึงมากกว่าร้อยละ 50 ของพนักงานทั้งหมดในประเทศไทย เพราะเราเชื่อมั่นในความสามารถของพนักงานที่ไม่จำกัดเพศ และเราเชื่อว่าการยอมรับในความหลากหลายและความแตกต่างทางเพศในองค์กร จะช่วยให้เราสามารถขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน"