x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

Huawei Thailand ผนึกกำลังสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็ก จัดสัมมนา “Thailand Talent Talk ครั้งที่ 4” มุ่งบุคลากรด้านดิจิทัล

ข่าว icon 21 ธ.ค. 65 icon 3,324
 
บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็ก (GCNT) ร่วมกันจัดงานสัมมนา “Thailand Talent Talk ครั้งที่ 4: ขับเคลื่อนแรงงานทักษะขั้นสูงในอุตสาหกรรม มุ่งสู่ประเทศไทยสังคมคาร์บอนต่ำ (Powering an Upskilled Industry Workforce towards a Low-Carbon Thailand)” ซึ่งนับเป็นการสัมมนาสุดท้ายในซีรีส์ของงานสัมมนาภายใต้หัวข้อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล โดยในงานครั้งนี้ ตัวแทนจากกระทรวงพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเร่งบ่มเพาะบุคลากรด้านดิจิทัลรุ่นใหม่ รวมทั้งประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยสนับสนุน การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี (Carbon Neutrality) 2050
อุตสาหกรรม 4.0 และโควิด-19 ได้เร่งความจำเป็นในด้านการเพิ่มศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรในประเทศไทยเพื่อรองรับอนาคต โดยหากอ้างอิงจากข้อมูลในสมุดปกขาว “การพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลของประเทศไทย (Thailand National Digital Talent Development)” ซึ่งหัวเว่ยได้พัฒนาร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ว่าหากไม่มีการเตรียมแนวทางใด ๆ ในการรองรับ ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับปัญหาด้านการขาดแคลนบุคลากรถึง 500,000 คนในปี พ.ศ. 2573 โดยในช่วงที่เกิดสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 กระบวนการการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าเดิม และยังเป็นการปูทางสู่โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพและการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย
 
เพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ หัวเว่ยและสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็ก ได้ร่วมกันจัดงานสัมมนาภายใต้ชื่อ Thailand Talent Talk ตลอดปี พ.ศ. 2565 รวม 4 ครั้งด้วยกัน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างในการคุยถึงความท้าทายต่าง ๆ แนวทางการปฏิบัติ และเส้นทางในการบ่มเพาะในการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการมุ่งสู่การเติบโตที่ยั่งยืน โดยหัวข้อของการสัมมนาครอบคลุมเรื่องความท้าทายทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงเรื่องความเท่าเทียมทางดิจิทัล ความปลอดภัยทางไซเบอร์ เอสเอ็มอี และการเติบโตของสตาร์ทอัพ
 
ในงานสัมมนาครั้งที่ 4 นี้ ทางหัวเว่ยและพันธมิตรได้เน้นย้ำว่าเทรนด์ด้านพลังงานของประเทศไทยในอนาคตจะมีการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องรวมพลังกันเพื่อสร้างระบบนิเวศด้านดิจิทัลที่เต็มไปด้วยศักยภาพด้านการเติบโต เพื่อรองรับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอนาคต นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ และการเตรียมแพลตฟอร์มที่เหมาะสมสำหรับสถานที่ทำงานในอนาคตอย่างมีกลยุทธ์ หัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยมุ่งให้ความสำคัญในด้านดิจิทัลพาวเวอร์ นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการบ่มเพาะระบบนิเวศด้านดิจิทัลให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผ่านการพัฒนาบุคลากรด้านไอซีทีรุ่นใหม่สำหรับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2566 ที่กำลังจะมาถึงนี้
จากมุมมองของผู้กำหนดนโยบายในระดับมหภาค ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวถึงความท้าทายและโอกาสที่สำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านด้านการใช้พลังงาน รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพด้านนวัตกรรมของประเทศไทยว่า "ด้วยกระแสของการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความสนใจทั่วโลกมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เราก็ได้รับแรงบันดาลใจจากการที่ทุกภาคส่วนต่างเร่งแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศไทยจึงเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ประกาศแผนระดับชาติในการขับเคลื่อนประเทศสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) โดยตั้งเป้าภายในปี ค.ศ. 2050 ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) โดยกระทรวงพลังงานมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ จะต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงองค์กรต่างประเทศ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่มีร่วมกันได้ในที่สุด"
ในส่วนของความเห็นจากทางด้านสถาบันศึกษาและการวิจัย ดร. พิมพ์สุภา เกาะช้าง นักวิจัยสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่า "ทัศนคติถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากหากคนในประเทศไทยเข้าใจถึงประโยชน์ที่พลังงานทางเลือกซึ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สามารถส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของพวกเขา เป้าหมายด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศก็จะสามารถเป็นจริงขึ้นมาได้ ทั้งนี้ การสื่อสารถือเป็นหัวใจสำคัญของเรื่องดังกล่าว ในฐานะตัวแทนจากสถาบันการศึกษาระดับสูง เราจะมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลและจับมือเป็นพันธมิตรกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องอย่างหัวเว่ย รวมทั้งรับการสนับสนุนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยให้คนรุ่นใหม่มีทักษะที่พร้อมสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียนซึ่งกำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า”
นอกจากมุมมองจากทางฝั่งของภาครัฐและภาคการศึกษา อุตสาหกรรมดิจิทัลก็จำเป็นต้องผนึกกำลังกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อสร้างระบบนิเวศเต็มของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยนายอาทิตย์ เวชกิจ รองประธานกรรมการกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “ปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้องขอบคุณความพยายามในการร่วมมือและความมุ่งมั่นของหัวเว่ยที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ถือเป็นประเด็นหลักที่สภาอุตสาหกรรมต้องเผชิญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากสิ่งนี้วงผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อโลก ต่อคนทั่วไป รวมถึงต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย  ซึ่งทำให้เราต้องการบุคลากรด้านดิจิทัลที่มีความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมากขึ้น ทั้งนี้ ทางสภาอุตสาหกรรมจะทำงานร่วมกับพันธมิตรทุกราย มหาวิทยาลัยต่าง ๆ และหัวเว่ย ประเทศไทย ในการช่วยเพิ่มทักษะและบ่มเพาะบุคลากรด้านไอซีทีให้มากขึ้น เพื่อรองรับกับอนาคตด้านดิจิทัลของประเทศ”
นางสาวธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย หรือ GCNT (Global Compact Network Thailand) ยังได้แสดงความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า “แนวทางการดำเนินงานและแพลตฟอร์มสำคัญซึ่งจะช่วยทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมและคาร์บอนต่ำ ประกอบไปด้วยการลงทุนในเทคโนโลยีสะอาดและโครงการเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นการพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงออกแบบเพื่อมุ่งสู่โมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า "BCG" หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) เราต้องการผู้ที่มีความสามารถในการคิดค้นโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการเพิ่มการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนการอำนวยความสะดวกต่อการสร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดคาร์บอนและพลังงาน เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่ดีที่สุด ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลในอนาคตของประเทศ”
หัวเว่ย ประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้นำในด้านโซลูชันโซลาร์และไอซีทีชั้นนำระดับโลก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการก้าวเข้าสู่อนาคตที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม โดยที่หัวเว่ยมุ่งมั่นใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญที่มีในอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนองค์กรและภาคสังคมต่าง ๆ ให้มากขึ้น อีกทั้งยังเร่งการส่งเสริมการพัฒนาทักษะให้แก่บุคลากรผ่านโครงการ Huawei ASEAN Academy ซึ่งได้ฝึกอบรมบุคลากรไอซีทีไปกว่า 60,000 คน และธุรกิจเอสเอ็มอี 2,600 ราย ทั้งนี้ หัวเว่ยมองว่าเรื่องสังคมคาร์บอนต่ำจะเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของคนทุกคน ซึ่งทำให้เราจำเป็นต้องมีคนที่มีทักษะเฉพาะทางเพื่อตอบโจทย์ในด้านนี้โดยเฉพาะ ทั้งนี้ หัวเว่ยมองว่าทางมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเองก็มีการออกแบบหลักสูตรให้มีความบูรณาการและมีความเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทางด้านโครงสร้างพื้นฐานก็ต้องมีความพร้อม ต้องมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และมีเทคโนโลยีที่รองรับเช่นกัน โดยหัวเว่ยมองว่าเทคโนโลยีของหัวเว่ยจะสามารถช่วยสร้างสังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหัวเว่ยยังมีความเชี่ยวชาญในส่วนธุรกิจพลังงานดิจิทัล และมีแพลตฟอร์มที่พร้อมจะให้พาร์ทเนอร์รายอื่น ๆ เข้ามาใช้งานร่วมกันได้ เพื่อร่วมกันผลักดันการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปพร้อมกัน ทั้งนี้ นายสุธี ไตรวิวัฒนา เจ้าหน้าที่กลยุทธ์ธุรกิจพลังงานดิจิทัล บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เผยถึงกลยุทธ์และข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ในงานสัมมนาครั้งนี้ด้วย
 
งานสัมมนา Thailand Talent Talk เป็นงานสัมมนาซึ่งจัดขึ้น 4 ครั้ง ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2565 โดยความร่วมมือกับสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย หรือ GCNT ซึ่งมีหัวข้อนำเสนอครอบคลุมในหลากหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นด้านความเท่าเทียมทางดิจิทัล ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และกลุ่มเอสเอ็มอี โดยงานสัมมนา Thailand Talent Talk ได้รวบรวมพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมกันนำเสนอแนวทางการรับมือกับความท้าทายในปัจจุบันและค้นหาทิศทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับประเทศไทย ในการก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน
 
เนื่องจากหัวเว่ยได้รับการผลักดันจากพันธกิจ “เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 23 ปี ในอนาคต หัวเว่ยจะยังมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สนับสนุนหลักในด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อการเสริมสร้างประเทศไทยคาร์บอนต่ำที่มีความอัจฉริยะและเชื่อมโยงถึงกันอย่างสมบูรณ์แบบ หัวเว่ยจะมุ่งทำงานร่วมกับรัฐบาลไทย ลูกค้า และพันธมิตรต่าง ๆ ต่อไป เพื่อผนึกเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (power electronics) เข้ากับการผลิต การส่งพลังงาน และการใช้งานพลังงานไฟฟ้าต่อไป

แท็กที่เกี่ยวข้อง

huawei huawei thailand Thailand Talent Talk

ข่าวและอีเว้นท์โทรศัพท์มือถือล่าสุด




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)