x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

depa Game Accelerator Program Batch 2 ร่วมผลักดันบุคลากรในอุตสาหกรรมเกมไทยสู่ระดับสากล

ข่าว icon 15 มี.ค. 65 icon 1,941
ดีป้า ร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย อินโฟเฟด และ การีน่า ออนไลน์ (ประเทศไทย) ประกาศความสำเร็จโครงการ depa Game Accelerator Program Batch 2 พร้อมมอบรางวัลแก่สุดยอดทีมนักพัฒนาใน 4 หมวดเกมยอดนิยมที่ได้รับคัดเลือกจากกิจกรรม depa Game Accelerator Program Batch 2 Demo Day ตอกย้ำจุดยืนการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมเกมไทยให้ได้มาตรฐานเทียบเคียงกับผู้ประกอบการระดั บสากล
นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมเกมถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ โดยมีอัตราการขยายตัวต่อเนื่องในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่ง ดีป้า เล็งเห็นโอกาสและมุ่งผลักดันให้อุตสาหกรรมเกมสามารถเติบโตได้อย่างเป็นระบบภายใต้แผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทั ลของประเทศ โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถ มอบโอกาส พร้อมวางรากฐานความเป็นมืออาชีพให้กับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงนักศึกษา และประชาชนที่สนใจผ่านกลไก และโครงการต่าง ๆ
โดยหนึ่งในโครงการสำคัญคือ depa Game Accelerator Program Batch 2 ที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง ดีป้า และเครือข่ายพันธมิตร ประกอบด้วย สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (TGA) บริษัท อินโฟเฟด จำกัด และ บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีนักพัฒนาเกมให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการฯ เป็นจำนวนมาก
ซึ่งทั้งหมดได้รับการยกระดับศักยภาพและมาตรฐานด้านการพัฒนาเกมอย่างเข้มข้นผ่านหลักสูตรฝึกอบรม จนได้สุดยอดทีมนักพัฒนาใน 4 หมวดเกมยอดนิยม ไม่ว่าจะเป็น Action, Adventure, Strategy และ Sport (Casual Game) จากกิจกรรม depa Game Accelerator Program Batch 2 Demo Day วันนี้ โดยทีมที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับโอกาสต่อยอดผลงานกับ Nintendo และนำเสนอผลงานต่อนักลงทุน เพื่อให้เกิดการจับคู่ธุรกิจ มีช่องทางประชาสัมพันธ์เกมในตลาดจริง เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากกลุ่มผู้เล่น และนำมาปรับใช้กับเกมของตนเอง ก่อนวางจำหน่ายในตลาดในประเทศและต่างประเทศต่อไป
“โครงการ depa Game Accelerator Program Batch 2 ถือเป็นการสานต่อแนวทางการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมเกมไทย โดยความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตรที่รวมถึงพันธมิตรระดับโลกอย่าง Nintendo Japan ที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี ทั้งนี้ โครงการ depa Game Accelerator Program Batch 1 ในปีที่ผ่านมาเกิดมูลค่าการเจรจาจับคู่ธุรกิจกว่า 39 ล้านบาท และสามารถผลักดันให้เกมไทยอย่าง Joojee's Journey และ Bloody Bunny วางจำหน่ายบน Nintendo eShop ได้” รองผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว
ด้าน นายจิรยศ เทพพิพิธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อินโฟเฟด กล่าวว่า ความนิยมและการเติบโตของอุตสาหกรรมเกมในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นเกมจากต่างประเทศ ซึ่งธุรกิจการจัดจำหน่าย นำเข้า และดูแลลิขสิทธิ์เกมในปี 2563 มีมูลค่าสูงถึง 33,316 ล้านบาท แต่เมื่อหันกลับมาดูตลาดพบว่าเป็นผลงานของคนไทยไม่ถึง 5% ดังนั้นโครงการ depa Game Accelerator Program Batch 2 จะเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมเกมไทย โดยการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเกมมีศักยภาพในการพัฒนาเกม เพื่อสร้างขีดความสามารถให้เทียบเคียงกับผู้ประกอบการระดับโลก รวมถึงเป้าหมายในการยกระดับอุตสาหกรรมเกมในประเทศสู่ระดับสากล
ดร.ศรุต วานิชพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส Sea (ประเทศไทย) กล่าวว่า “เนื่องจาก Sea (ประเทศไทย) มีจุดเริ่มต้นมาจาก ‘การีนา’ ซึ่งเป็นธุรกิจด้านดิจิทัลเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เรารู้สึกยินดีที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ depa Game Accelerator Program Batch 2 และได้นำความเชี่ยวชาญในฐานะผู้พัฒนาและให้บริการเกมออนไลน์ มาช่วยส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาความสามารถของบุคลากรด้านอุตสาหกรรมเกมในประเทศไทยให้สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการสร้างสรรค์รูปแบบเกมที่แปลกใหม่ได้ ตลอดจนส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการพัฒนางานทางด้านดิจิทัลคอนเทนต์ให้เทียบเท่าระดับสากลในอนาคต โดยมองว่าดิจิทัลคอนเทนต์จะเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยให้เติบโตอย่างมี ประสิทธิภาพได้ในอนาคต”
นายเนนิน อนันต์บัญชาชัย นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทยยังคงเติบโตท่ามกลางวิกฤต และมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (อ้างอิงจาก: ผลการสำรวจมูลค่าอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ของประเทศไทยปี 2563 ที่จัดทำโดย ดีป้า) โดยในปี 2561 มีการเติบโตที่ 13.78% ปี 2562 ขยายตัว 15.96% และปี 2563 ขยายตัวต่อเนื่อง 34.89% มีมูลค่าอุตสาหกรรมอยู่ที่ 34,316 ล้านบาท ขณะที่กระแสความนิยมในเกมของประเทศไทย หลัก ๆ เริ่มต้นจากอุปกรณ์โมบาย อาทิ สมาร์ตโฟน มีส่วนแบ่งสูงสุดที่ 21,014 ล้าน จากนั้นจึงกระจายไปสู่แพลตฟอร์มอื่น ๆ ตามมาด้วยเกมพีซี 8,231 ล้านบาท และเกมคอนโซล 4,785 ล้านบาท ส่วนเกมบางประเภพบว่ามีอัตราการเติบโตลดลง เช่น เกมตู้ เหลือ 251 ล้านบาท เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เป็นสาเหตุให้ผู้คนไม่ออกจากบ้าน และบางสถานที่มีการล็อคดาวน์ ทำให้เกมตู้ไม่สามารถทำรายได้ได้เหมือนในอดีต
สำหรับ 4 ผลงานที่ดีที่สุดจากสุดยอดทีมพัฒนาเกมในโครงการ depa Game Accelerator Program Batch 2 Demo Day ที่ได้รับคัดเลือกในแต่ละหมวด ประกอบด้วย
  1. หมวด Action ได้แก่ ทีม DIDTC - Together Out
  2. หมวด Adventure ได้แก่ ทีม Rolling Bear - Lost Melody
  3. หมวด Strategy ได้แก่ ทีม ZAI Studio – Dala : The Himmapan Forest
  4. หมวด Sport (Casual Game) ได้แก่ ทีม Electrified - The Last Knife
โดยในปีนี้ มีรางวัลพิเศษที่มอบให้กับทีมที่มีผลงานยอดเยี่ยม และมีศักยภาพ สามารถนำผลงานไปพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคต ได้แก่ ทีม RoadToMoney เจ้าของผลงานเกม When ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดโครงการ depa Game Accelerator Program Batch 2 ได้ที่ Facebook: depa Game Accelerator Program และ www.depagameaccelerator.com

แท็กที่เกี่ยวข้อง

depa depa Game Accelerator Program Batch 2

ข่าวและอีเว้นท์โทรศัพท์มือถือล่าสุด




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)