x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและไมโครซอฟท์ ประกาศความร่วมมือ พร้อมกำหนดทิศทางนโยบายเชิงดิจิทัลของประเทศไทย

ข่าว icon 1 ก.พ. 66 icon 3,729
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หน่วยงานในสังกัดของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ เพื่อร่วมกันปฏิรูปแนวทางเชิงนโยบายและกรอบข้อบังคับต่างๆ ภายใต้จุดมุ่งหมายเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว รองรับการปรับตัวและแข่งขันบนเวทีโลก
ในฐานะสถาบันที่ปรึกษาด้านกฎหมายที่มีส่วนร่วมในการตรากฎหมายของรัฐบาลไทย ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ลงนามในข้อตกลงนี้เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูประบบงานภายในสำนักงานฯ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ควบคู่ไปกับการพัฒนาคลังความรู้ด้านกฎหมายที่พร้อมสนับสนุนการร่างนโยบายโดยมีข้อมูลเป็นพื้นฐาน และการให้คำปรึกษากับหน่วยงานภาครัฐในด้านการวางกรอบกฎหมายและข้อบังคับที่ถูกต้องเหมาะสม
นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย และนางสาวซันนี่ พาร์ค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย เอเชียแปซิฟิก ไมโครซอฟท์ โอเปอเรชั่น พีทีอี พร้อม นายอาเหม็ด มาซารี ประธาน ไมโครซอฟท์ เอเชีย, นายไมค์ เยห์ รองประธานและผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และฝ่ายกฎหมาย ไมโครซอฟท์ เอเชีย, หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร ที่ปรึกษานายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และพลตำรวจโท พิจาร จิตติรัตน์ ที่ปรึกษานายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ร่วมเป็นสักขีพยาน
นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึงข้อตกลงนี้ว่า "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการปฏิรูปด้วยดิจิทัลจะผลักดันให้เกิดการสรรสร้างนวัตกรรมจากข้อมูลอย่างกว้างขวางมากขึ้นในประเทศไทย จนนำไปสู่บริการสาธารณะที่ดีขึ้นสำหรับประชาชนชาวไทย พร้อมขับเคลื่อนสังคมให้พัฒนาไปในทางที่ดี ขณะที่รัฐบาลเองก็จะปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ประเทศกำลังฟื้นตัวจากสถานการณ์โรคระบาด เราหวังว่าจะได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับไมโครซอฟท์ เพื่อยกระดับการทำงานภายในสำนักงานฯ เสริมทักษะบุคลากรของเราให้ทัดเทียมกับมาตรฐานโลก และเพิ่มศักยภาพของเราในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่จุดหมายดังกล่าวต่อไป"
นายอาเหม็ด มาซารี ประธาน ไมโครซอฟท์ เอเชีย กล่าวเสริมอีกว่า "การปฏิรูปทั้งในด้านนวัตกรรมดิจิทัลและการกำกับดูแลเชิงนโยบายนับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้รัฐบาลในทุกประเทศทั่วโลกสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าให้กับประชาชน พัฒนาบริการดิจิทัลที่ทุกคนไว้วางใจ ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมและการสรรสร้างธุรกิจใหม่ๆ และปรับเปลี่ยนนโยบายให้เข้ากับความท้าทายที่ประเทศต้องเผชิญ ก่อนจะนำไปสู่การพัฒนาสังคมให้เติบโตอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง สำหรับประเทศไทย ซึ่งมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจดิจิทัลขึ้นมามีสัดส่วนถึง 25% ของ GDP ภายในปี พ.ศ. 2570 เราก็มีความยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นอีกโอกาสสำคัญให้เราได้ร่วมกันเสริมสร้างศักยภาพของทุกคนและทุกองค์กรในประเทศไทยให้มุ่งหน้าไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่า"
นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าวว่า "เรามีความภูมิใจที่จะได้เห็นสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและไมโครซอฟท์ร่วมมือกันในฐานะพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้ประเทศไทยได้เดินหน้าปฏิรูปนโยบายด้านดิจิทัล พร้อมเสริมสร้างให้เกิดความแข็งแกร่งและคล่องตัวจนพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงข้างหน้า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้สะท้อนถึงความสำคัญและบทบาทที่สอดประสานกันระหว่างเทคโนโลยีและนโยบายของประเทศ ซึ่งนับเป็นประเด็นสำคัญที่ประเทศไทยยังคงผลักดันด้านนโยบาย Digital Government และสนับสนุนในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคในปี 2565 นี้"

แท็กที่เกี่ยวข้อง

microsoft ไมโครซอฟท์ Office of the Council of State นโยบายเชิงดิจิทัล Digital Government

ข่าวและอีเว้นท์โทรศัพท์มือถือล่าสุด




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)