ปฏิเสธไม่ได้ว่า ชั่วโมงนี้อัตราการแข่งขันเพื่อให้ได้ “งาน” ใน “ตำแหน่ง” ใดก็ตาม มีความยากและมีจำนวนคู่แข่งมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า จากข้อมูลภาพรวมตลาดการจ้างงานในปี 2564 โดย JobsDB พบว่าอัตราการแข่งขันในการหางานของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 20% ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 และมีอัตราส่วนการแข่งขันอยู่ที่ 1:100 นั่นหมายความว่า บริษัทจะต้องเฟ้นหาคนที่ใช่โดยพิจารณาจาก “ทักษะ” และ “ศักยภาพ” ที่ปรากฏของแต่ละบุคคล ในเวลาเดียวกันก็เป็นช่วงที่นักศึกษาชาว Gen Z เริ่มทยอยเข้าสู่โลกของการทำงานจริง ซึ่งอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่ดุเดือด แต่อะไรจะเป็นสิ่งที่ทำให้นักศึกษาจบใหม่ สามารถเป็นที่ต้องการของตลาดงาน หนึ่งในนั้น ก็คือประสบการณ์การทำงาน จากการ “ฝึกงาน”
ที่ LINE ประเทศไทย เรามองหาพลังขับเคลื่อนใหม่ๆ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่หยุดนิ่ง โครงการ “LINE Rookie” จึงถูกจัดขึ้นเพื่อเปิดรับนักศึกษาฝึกงาน ซึ่งจัดไปแล้ว 2 รุ่น และจะรับสมัครรุ่นที่ 3 ในเดือนตุลาคมนี้ จึงเป็นเสมือนการประลองบนสนามจริงของนักศึกษา Gen Z
ความสำเร็จของโปรแกรมฝึกงาน คือพี่ได้เรียนรู้จากน้องในเวลาเดียวกัน
กานต์ กิมสวัสดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล LINE ประเทศไทยได้เปิดเผยว่า “LINE เป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่หยุดนิ่งอยู่แล้ว จึงเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่อย่าง Gen Z ที่กำลังจะเข้าสู่โลกการทำงานจริงได้เข้ามามีส่วนร่วม สิ่งหนึ่งที่เราได้เรียนรู้จากน้องๆ Gen Z ที่มาฝึกงานกับเรา ทุกคนล้วนมีพลังในการเรียนรู้ล้นเหลือ กล้าคิด กล้าแสดงออก มีทักษะในการนำเสนองานได้คล่องแคล่วและฉลาดใช้เทคโนโลยีมาช่วยในทำงาน เกิดการเรียนรู้กันและกัน ไม่ใช่เพียงแต่น้องๆ จะเรียนรู้จากพี่ๆ แต่พี่ๆ ก็ได้เรียนรู้มุมมอง ไอเดียใหม่ๆ ซึ่งเจเนอเรชันที่ต่างกัน ทำให้เกิดความหลากหลาย แปลกใหม่ สามารถนำมาปรับใช้ในงานเพื่อนำเสนอสิ่งใหม่ๆ แก่ผู้ใช้ ถือเป็นความสำเร็จสูงสุดของโปรแกรม LINE Rookie เลยก็ว่าได้”
LINE Rookie แต่ละคนจะมีเมนเทอร์ ซึ่งเป็นพี่ๆ พนักงานของ LINE ดูแลมอบหมายงานต่างๆ และแนะนำอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลา 10 สัปดาห์ของการฝึกงาน โดยน้องๆ จะต้องตั้งทีมและได้รับมอบหมาย ให้ร่วมทำโปรเจคกลุ่ม รายงานความคืบหน้า รับคำปรึกษา และนำมาพรีเซนต์ในช่วงท้ายการฝึกงานพร้อม Training Session แนะแนวด้าน Soft Skill และ Hard Skill ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนจริง ที่สามารถนำไปต่อยอดทำงานต่อในชีวิตจริงได้เลยทันที ขณะเดียวกันก็ทำให้พวกเขา “รู้จักตัวเองมากยิ่งขึ้น”
‘ฝึกงาน From Home’ ต้องทำให้น้องไม่รู้สึกถูกทอดทิ้ง
ในแต่ละปี LINE ประเทศไทยจะเปิดรับสมัครนักศึกษาฝึกงานจากนักศึกษาทั่วประเทศที่ยื่นเข้ามาฝึกในสาขางานต่างๆ ที่สนใจ เมื่อผ่านการคัดเลือกใบสมัครรอบแรก จะได้เข้าไปสัมภาษณ์กับพี่ๆ พนักงาน LINE จริงๆ เพื่อวัดความสนใจ ความสามารถและทัศนคติ ก่อนจะผ่านการคัดเลือก ขณะที่ในปี 2564 ก็ถือเป็นความท้าทายครั้งสำคัญ เมื่อมีการ Work From Home ก็ทำให้การฝึกงานก็ต้อง From Home ตามเช่นกัน
“แม้จะฝึกงานจากบ้าน การสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก น้องๆ จะได้เข้าประชุมและนำเสนองานจริงๆ ขณะเดียวกันเมนเทอร์และน้องๆ จะมีการนัดหมายลงตารางเวลา เพื่อพูดคุยแบบ Virtual อัปเดตและปรึกษางานอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่รู้สึกถูกทอดทิ้ง” กานต์ อธิบายเสริม
เปิดมุมมองจริง จาก LINE Rookie
การได้รับผิดชอบอะไรที่ยิ่งใหญ่ จะทำให้เราได้เจอกับความท้าทายที่หลากหลาย
เฟรนด์-ลัลนา เลี้ยงเจริญ นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ชิมลางการทำงาน SME Business Development เล่าประสบการณ์ให้ฟังว่า “เรียนเศรษฐศาสตร์มาแต่รู้สึกว่าอาจจะไม่ใช่ทาง หลังจากที่ได้ค้นหาตัวเอง ด้วยการร่วมแข่งขันประกวดแผนธุรกิจแล้วรู้สึกสนุก เลยตั้งเป้าไว้ว่า หากมีโอกาสอยากลองทำงานในสายงาน Business แล้วได้มีโอกาสมาฝึกงานจริงด้วยการเป็น Business Development ที่ต้องอาศัยทักษะหลากหลาย ทั้งการวางแผน คิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ในมุมที่แปลกใหม่ รวมถึงการบริหารจัดการเวลา ชอบตรงที่พี่ๆ ไม่ได้ให้ทำงานแบบ Routine ซ้ำๆ กันในแต่ละวัน แต่ให้รับผิดชอบเป็นโปรเจค ทำให้เรากะตือรือร้นและมีแพชชันในการทำให้โปรเจคมีความสมบูรณ์แบบ การได้รับผิดชอบอะไรที่ยิ่งใหญ่ จะทำให้เราได้เจอกับความท้าทายที่หลากหลาย ทำให้เราได้ Learning by doing จริงๆ เห็นจุดผิดพลาด ได้เรียนรู้ที่จะแก้ไข โดยมีพี่ๆ คอยชี้แนะแบบไม่รู้สึกกดดัน”
พี่ๆ สอนให้เห็นภาพใหญ่แต่ต้องไม่ลืมรายละเอียดเล็กน้อย
เก็ต-สิทธา มุ่งจิตธรรมมั่น นักศีกษา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าถึงความเรียลในการฝึกงานครั้งนี้ว่า “การฝึกงานเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผม เพราะจะทำให้รู้ว่าสิ่งที่เราต้องการจะทำ ตรงกับสิ่งที่เราจะต้องอยู่กับมันไปตลอดไหม รู้เร็วว่าใช่หรือไม่ใช่ จะได้ไม่เสียเวลา จริงๆ เรียนไฟแนนซ์มา แต่อยากลองทำงานสายงานการตลาดดู มาฝึกงานครั้งนี้ที่แผนก e-Commerce ได้ครบทุกอรรถรส ได้สกิลที่ไม่เคยเป็นมาก่อนอย่างการออกแบบอาร์ทเวิร์คทุกสัปดาห์ แต่ที่ประทับใจที่สุดคือการได้จัด LINE SHOPPING Academy Bootcamp ที่เริ่มต้นตั้งแต่ตั้งไข่ โดยพี่ๆ ให้เวทีนี้กับผมอย่างเต็มที่ โปรเจคนี้สำเร็จได้ เพราะมีเมนเทอร์ที่ดีมากๆ ไม่มีกำแพงในการทำงานและสอนน้องให้เห็นภาพใหญ่แต่ต้องไม่ลืมที่จะใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อีกด้วย”
โลกแห่งการทำงานที่สำคัญต้องมี Multi-tasking Skill
ปิดท้ายที่ เอย-ชญาดา ธีรเวชชการ นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ่ายทอดสิ่งที่ได้จากการฝึกงานครั้งนี้ว่า “นอกจากจะได้ฝึกตรงสิ่งที่ชอบ อย่าง Entertainment Industry ในแผนก Consumer Partnership เป็นแง่มุมใหม่ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ทำให้เราได้มีโอกาสลงลึกมากขึ้น ชอบที่พี่ๆ ให้รับผิดชอบงานแบบเหมารวมทั้งโปรเจค ให้เรามี ส่วนร่วมในทุกๆ จุด เปิดโอกาสให้เราทำอย่างเต็มที่ ให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าในการทำงานของเราจริงๆ ได้พัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ และค้นพบว่าโลกแห่งการทำงานที่สำคัญต้องมี Multi-tasking Skill และต้องไวแข่งกับเวลา เอยโชคดีที่เจอพี่ๆ หลากหลายทีมมาก ทำให้เราเห็นวิธีการคิดงาน การนำเสนองาน การแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน ได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวอยู่ตลอดเวลาและใช้ชีวิตแบบยืดหยุ่นมากขึ้น”
สำหรับโครงการ
LINE Rookie 2022 เปิดรับสมัครนิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยปีที่ 3 - 4 (ปีการศึกษา 2565) จากทุกสถาบัน ทุกสาขาวิชา ผู้สนใจสามารถสมัครร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2021 ได้ที่
https://linerookie.com