x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

หัวเว่ย ยื่นฟ้อง ซัมซุง ข้อหาละเมิดสิทธิบัตรด้านอุปกรณ์เคลื่อนที่และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

ข่าว icon 27 พ.ค. 59 icon 5,563
หัวเว่ย ยื่นฟ้อง ซัมซุง ข้อหาละเมิดสิทธิบัตรด้านอุปกรณ์เคลื่อนที่และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

หัวเว่ย ผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายและอุปกรณ์โทรคมนาคมสัญชาติจีน ยื่นฟ้อง ซัมซุง ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีต่อศาลชั้นต้นในเขตนอร์ธเทิร์นของแคลิฟอร์เนีย ในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงศาลประชาชนชั้นกลางเมืองเซินเจิ้น ของประเทศจีน โดยในการยื่นฟ้องครั้งนี้ หัวเว่ย ต้องการเงินชดเชยในการถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาจาก ซัมซุง ซึ่งรวมถึงสิทธิบัตรมูลค่ามหาศาลด้านเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่และซอฟต์แวร์ซึ่งถูกนำไปใช้ในเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของซัมซุง

หัวเว่ย ในฐานะผู้ถือสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ มีความยึดมั่นในการออกใบอนุญาตเพื่อใช้สิทธิบัตรเหล่านี้ด้วยเงื่อนไขที่สมเหตุสมผลและเป็นธรรม และเชื่อว่าบริษัทควรได้รับเงินชดเชยอย่างสมเหตุสมผลจากบริษัทใดก็ตามที่นำเทคโนโลยีของ หัวเว่ย ไปใช้โดยปราศจากใบอนุญาต มร. ติง เจียนซิ่ง (Ding Jianxing) ประธานแผนกสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ หัวเว่ย กล่าวว่า "เราเชื่อว่าผู้เล่นทั้งหลายในอุตสาหกรรมนี้ควรร่วมมือกันในการผลักดันอุตสาหกรรมนี้ให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยการสร้างนวัตกรรมร่วมกันในระบบเปิด และในขณะที่เราให้ความเคารพต่อสิทธิบัตรของผู้อื่น เราก็จะปกป้องสิทธิบัตรของเราเองด้วย ดังที่เราทั้งหลายได้เห็นแล้วว่ามีข้อตกลงเรื่องการให้สิทธิบัตรร่วมกัน (cross-licensing agreements) ในอุตสาหกรรมนี้จำนวนมากที่ถูกเซ็นขึ้นเพื่อให้การนำเทคโนโลยีต่างๆ ไปใช้นั้นถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากวิถีปฏิบัติเช่นนี้ถือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมสมาร์ทโฟน ด้วยความเชื่อนี้ หัวเว่ย จึงได้พยายามเจรจาต่อรองกับบริษัทผู้ถือสิทธิบัตรอื่นๆ ในอุตสาหกรรมอย่างแข็งขันตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมาเพื่อให้เกิดการใช้สิทธิบัตรร่วมกัน ดังนั้นพวกเราจึงได้เซ็นสัญญาทำข้อตกลงใช้สิทธิบัตรร่วมกันกับคู่แข่งทางการค้าของพวกเราไปแล้วจำนวนมาก พวกเราหวังว่า คู่แข่งจะเคารพต่อการลงทุนลงแรงในด้านวิจัยและพัฒนาและสิทธิบัตรของ หัวเว่ย ด้วยการหยุดละเมิดสิทธิบัตรหรือมาติดต่อขอทำใบอนุญาตใช้สิทธิบัตรให้ถูกต้อง และหันมาร่วมมือกับเราในการผลักดันอุตสาหกรรมนี้ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป"

ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตสมาร์ทดีไวซ์และผู้ถือสิทธิบัตรจำนวนมาก บริษัท หัวเว่ย ลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาเป็นเม็ดเงินมหาศาลในแต่ละปี โดยในปี 2558 เพียงปีเดียว หัวเว่ย ใช้เงินลงทุน 59.6 พันล้านหยวน (ประมาณ 9.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือประมาณ 15% ของรายได้ประจำปีไปกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงการยกระดับมาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย การลงทุนอย่างมหาศาลในด้านวิจัยและพัฒนาตลอดหลายปีที่ผ่านมาของ หัวเว่ย ทำให้บริษัทมีสิทธิบัตรที่มีมูลค่าสูงจำนวนมาก โดยตัวเลขสถิติจากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) ชี้ว่าในปี 2558 บริษัท หัวเว่ย ถือเป็นบริษัทผู้นำในการขอจดสิทธิบัตรในระดับนานาชาติเป็นปีที่สองติดต่อกันด้วยตัวเลข 3,898 ชิ้นที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ภายใต้สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (Patent Cooperation Treaty: PCT) ซึ่งมากกว่าปีก่อนหน้าถึง 456 ชิ้น เมื่อนับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัท หัวเว่ยได้รับการรับรองสิทธิบัตรแล้วกว่า 50,377 ชิ้นทั่วโลก โดยสิทธิบัตรเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี LTE ระบบปฏิบัติการ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface: UI) ซึ่งล้วนแต่มีคุณค่าอย่างสูงต่ออุตสาหกรรมสมาร์ทโฟน
ภาพประกอบ : www.reuters.com

แท็กที่เกี่ยวข้อง

samsung huawei 4g

ข่าวและอีเว้นท์โทรศัพท์มือถือล่าสุด




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)