x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

ทำความรู้จัก Cell Broadcast ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ

icon 11 มี.ค. 67 icon 2,820
ทำความรู้จัก Cell Broadcast ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ
จากกรณีการเกิดเหตุการณ์รุนแรง เหตุด่วนเหตุร้าย กราดยิง และภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มตระหนักถึงการป้องกันและการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน รวมไปถึงนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวหรือพักอาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างเข้มงวดและจริงจังมากขึ้น ซึ่งล่าสุดก็ได้มีการประกาศความคืบหน้าและความพร้อมของ "Cell Broadcast" ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ โดย กสทช. ในฐานะหน่วยงานกำกับกิจการโทรคมนาคม ร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย AIS, True | dtac โดยได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO)

ระบบแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจงพื้นที่ผ่านมือถือ (Cell Broadcast)

เทคโนโลยี Cell Broadcast Service เป็นระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือในทันที โดยจะเจาะจงเฉพาะพื้นที่เกิดเหตุด่วนเหตุร้าย พร้อมเชื่อมต่อกับศูนย์บัญชาการกลางของภาครัฐ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่อยู่ในพื้นที่ระวังอันตราย ซึ่งเป็นระบบที่ทั่วโลกใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ค่ะ
ตัวอย่างจริงของข้อความ Cell Broadcast บนสมาร์ตโฟน Android ที่ระบุคำเตือนพายุทอร์นาโดในพื้นที่ที่ครอบคลุมในสหรัฐอเมริกา | Source: Cell Broadcast - Wikipedia
โดยระบบแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจงพื้นที่ดังกล่าว จะเป็นการส่งข้อความเตือนภัยแบบส่งตรงจากเสาส่งสัญญาณสื่อสารในพื้นที่ ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกเครื่องที่อยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งจะแตกต่างจากระบบ SMS ทั่วไป เพราะไม่จำเป็นต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์ สามารถส่งข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องที่อยู่ในพื้นที่ครอบคลุมของสถานีฐานบริเวณนั้น ๆ ในเวลาเดียวกัน ด้วยรูปแบบของการแสดงข้อความที่หน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Pop UP Notification) แบบ Near Real Time Triggering เพื่อให้สามารถรับรู้สถานการณ์ได้ทันที ซึ่งจะทำให้การสื่อสารข้อมูลเตือนภัยทำได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทั้งพื้นที่เกิดเหตุ โดยประชาชนไม่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันใด ๆ

 ความคืบหน้าการดำเนินการ 
ทางด้านความคืบหน้าการดำเนินงาน ในขณะนี้ ทาง กสทช. ได้ร่วมมือกับ AIS เริ่มต้นทำการทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast Service เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และพร้อมที่จะเชื่อมต่อกับศูนย์บัญชาการกลางของภาครัฐ (Command Center) เพื่อเป็นช่องทางในการเตือนภัยได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ทำให้ประเทศไทยมีระบบเตือนภัยได้มาตรฐานสากลสร้างความอุ่นใจให้แก่ประชาชน ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และความปลอดภัยทางสังคมให้กับประเทศในอนาคต
โดยโครงสร้างของการนำเทคโนโลยี Cell Broadcast Service มาใช้งานนั้น แบ่งเป็น 2 ฝั่ง
ฝั่งที่ 1 : ดำเนินการและดูแลโดยศูนย์บัญชาการกลางของภาครัฐ ผ่านระบบ Cell Broadcast Entities (CBE) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการกำหนดเนื้อหาและพื้นที่ในการจัดส่งข้อความ ประกอบไปด้วยฟังก์ชันต่าง ๆ อาทิ การบริหารจัดการระบบ (Administrator), การจัดการข้อความที่จะสื่อสาร (Message Creator ) และ การอนุมัติยืนยันความถูกต้อง (Approver) 
ฝั่งที่ 2 : ดำเนินการและดูแลโดยผู้ให้บริการโครงข่าย ผ่านระบบ Cell Broadcast Center (CBC) ซึ่งเป็นระบบที่ทำหน้าที่นำเนื้อหาข้อความ ไปจัดส่งในสถานีฐานตามพื้นที่ที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง โดยจะประกอบไปด้วย การบริหารระบบและการตั้งค่า (System & Configuration), การส่งต่อข้อความสื่อสารที่ได้รับมาผ่านโครงข่าย (Message Deployment Function) และ การบริหารโครงข่ายสื่อสาร (Network Management)
--------------------
ในขณะที่ True Corporation (True | dtac) ก็ได้มีการเผยความสำเร็จทดสอบ "Cell Broadcast" ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านจอมือถือสำเร็จแล้วเช่นกัน โดยกำลังเจรจาความร่วมมือกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงาน กสทช. และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เพื่อเปิดระบบให้ประชาชนทั้งผู้ใช้งานคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ได้ทราบข้อมูลเหตุฉุกเฉิน 5 ระดับทุกพื้นที่ทั่วไทย แบบเจาะจงพื้นที่เกิดภัยพิบัติเพื่อความปลอดภัย เช่น ภัยแผ่นดินไหว ภัยสึนามิ ภัยน้ำท่วม เป็นต้น
สำหรับระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน Cell Broadcast ของ True Coporation สามารถตั้งระดับการเตือน 5 ระดับตามฟังก์ชันการใช้งานและร่วมมือกับภาครัฐ ประกอบด้วย
  1. การแจ้งเตือนระดับชาติ (National Alert) การแจ้งเตือนระดับสูงสุด ความสำคัญมากสุด และทุกคนในทุกพื้นที่เสาสัญญาณครอบคลุมจะทราบเหตุทันที
  2. การแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน (Emergency Alert) การแจ้งเตือนภัยพิบัติต่างๆ เช่นภัยสึนามิ แผ่นดินไหว น้ำท่วมฉับพลัน หรือภัยจากคนร้าย เป็นต้น
  3. การแจ้งเตือนเด็กหาย (Amber Alert) ระบบตั้งเตือนข้อมูลเมื่อมีเด็กหายหรือการลักพาตัวเพื่อให้ประชาชนทราบข่าวเฝ้าระวังและช่วยเจ้าหน้าที่ภาครัฐสังเกตุการณ์และรายงานถ้าพบคนร้าย
  4. ความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety) ระบบการแจ้งเตือนความปลอดภัยสาธารณะในพื้นที่หรือการเฝ้าระวังกรณีแจ้งคนที่อยู่อาศัย ชุมชน และผู้สัญจรผ่านพื้นที่นั้น
  5. การแจ้งเตือนทดสอบ (Test Alert) ระบบทดสอบการแจ้งเตือนตามวัตถุประสงค์เฉพาะกิจต่างๆ โดยสามารถใช้งานเพื่อทดสอบก่อนขยายผลสู่การเฝ้าระวังและแจ้งเตือนในระดับต่างๆ ต่อไป
ทั้งนี้ ข้อความแจ้งเหตุที่ทาง True Corporation นำมาทดสอบสามารถรองรับได้ 5 ภาษา คือ ไทย, อังกฤษ, จีน, ญี่ปุ่น และรัสเซีย ด้วยการแจ้งเหตุเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

สำหรับเทคโนโลยี Cell Broadcast นี้ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งระบบที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในหลายประเทศก็มีการใช้ระบบแจ้งเตือนนี้อยู่แล้ว พวกเรา ในฐานะของประชาชนคนไทย ต่างรอคอยให้มีการเริ่มต้นใช้งานอย่างเป็นทางการโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้เพื่อเป็นการแจ้งเตือนประชาชนและนักท่องเที่ยวที่อยู่ในบริเวณเกิดเหตุได้อย่างทันท่วงทีค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง Cell Broadcast ระบบเตือนภัยฉุกเฉิน true dtac ais
Mobile Guru
เขียนโดย สโรชา ศรีชัย Mobile Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)