x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

สั่งของจาก ตปท. จ่ายภาษีออนไลน์ ง่ายนิดเดียวกับแอปฯ Wallet@POST

icon 31 พ.ค. 66 icon 3,959
สั่งของจาก ตปท. จ่ายภาษีออนไลน์ ง่ายนิดเดียวกับแอปฯ Wallet@POST
สายช็อปของออนไลน์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะการช็อปปิ้งที่มียอดเกิน 1,500 บาทนั้นจะคุ้นเคยกันดีว่าอาจจะต้องเสียค่าภาษีศุลกากร แต่การจะไปจ่ายที่ไปรษณีย์ทุกครั้งนั้นก็ค่อนข้างจะไม่สะดวกเท่าไหร่ ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการจ่ายถาษีศุลกากรออนไลน์มาฝากกันค่า โดยเป็นแอปพลิเคชั่นจากทางไปรษณีย์ไทยที่เรียกว่า Wallet@POST เป็นแอปฯ ที่มีไว้บริการในด้านการทำธุรกรรมการเงินของไปรษณีย์ไทย ไม่ว่าจะเป็นการเติมเงินเข้าระบบ เพื่อใช้ชำระค่าสินค้า/บริการไปรษณีย์  หรือชำระค่าฝากส่งสิ่งของ, ชำระค่าสินค้าที่ใช้บริการแบบเก็บเงินปลายทาง COD และแน่นอนใช้จ่ายค่าภาษีศุลกากร หรือภาษีสินค้านำเข้า นี่เองค่ะ
สำหรับวันนี้เราจะมาแนะนำเฉพาะขั้นตอนการจ่ายภาษีศุลกากรเท่านั้นนะคะ ซึ่งจะสะดวกมากสำหรับคนที่ช็อปปิ้งออนไลน์จากต่างประเทศ เพราะเมื่อมียอดประเมินจากไปษณีย์ไทยเกิน 1,500 บาท (รวมค่าขนส่ง) แล้วยังไงก็มีโอกาสที่จะเสียภาษีฯ แน่นอนค่ะ และการมีแอปฯ นี้จะทำให้การได้รับของนั้นสะดวก และรวดเร็วมากขึ้น เพราะเราไม่ต้องไปจ่ายภาษีถึงไปรษณีย์ สามารถรอรับของอยู่บ้านได้เลยนั่นเอง ไปดูขั้นตอนกันเลยค่ะ

1. ยืนยันตัวตนที่ไปรษณีย์สาขาใกล้บ้าน

การเริ่มต้นใช้งานแอปฯ ครั้งแรกนั้น จำเป็นต้องไปยืนยันตัวตนที่ไปรษณีย์ก่อนค่ะ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ตรงเค้าน์เตอร์ได้เลย ไม่สามารถยืนยันผ่านแอปฯ ได้เอง อาจจะเสียเวลาในส่วนนี้นิดนึง แต่หลังจากนั้นก็สามารถใช้งานได้อย่างราบรื่นแล้วค่ะ โดยเราสามารถไปยืนยันที่ไปรษณีย์สาขาใกล้บ้านได้เลย โดยการยื่นแอปฯ พร้อมบัตรประชาชนใ่ห้เจ้าหน้าที่ เพียงไม่กี่นาทีก็สามารถใช้งานได้ทันทีเลยค่ะ

ขอบคุณภาพจาก thailandpost

2. เช็คสถานะ เติมเงินเข้าระบบ

ในส่วนของการใช้งานเบื้องต้นภายในแอปฯ นั้นก็ไม่ยากค่ะ สามารถใช้งานตามเมนูได้เลย มีทั้งเติมเงิน  โอนเงิน ธนาณัติออนไลน์ จ่ายบิล เติมเงิน ถอนเงิน และระบบบัตรไปรษณีย์มาสเตอร์การ์ด ซึ่งถ้าหากเราต้องการจ่ายภาษีศุลกากร เราต้องเติมเงินเข้าระบบไปก่อน แต่ถ้าใครไม่อยากเติมเงินทิ้งไว้ในแอปฯ ก็ไปเช็คสถานะของสินค้านั้นๆ ก่อนค่ะว่ามาถึงขั้นตอนไหนแล้ว โดยสามารถเช็คได้ที่เว็บไซต์ Track And Trace : EMS : Thailand Post หรือเช็คผ่านแอปฯ Track&Trace Thailand Post มีให้โหลดทั้ง iOS และ Android

เช็คสถานะผ่านแอป Track&Trace Thailand Post หรือเช็คผ่านเว็บไซต์ของไปรษณีย์ไทยก็ได้เช่นกัน

3. จ่ายภาษีได้เลย

หากสถานะของสินค้าเราอยู่ในขั้นตอน "ดำเนินพิธีการศุลกากร" นั่นหมายความว่าเรากำลังโดนประเมินภาษีนำเข้าอยู่ค่ะ ซึ่งถ้าหากสินค้าที่เราสั่งมามียอดประเมินเกิน 1,500 บาท มีความเป็นไปได้ว่าเราจะต้องเสียภาษี ให้เราก็นำเลข Track ไปเช็คได้ที่แอปฯ Wallet@Post ได้ในหัวข้อ จ่ายบิล เติมเงิน >> ศุลกากร แล้วใส่เลข Track ลงไปในช่อง "รายละเอียดข้อมูลอ้างอิงการชำระเงิน" จากนั้นหน้าแอปฯ ก็จะแจ้งรายละเอียดของยอดที่ต้องชำระ ซึ่งเราจะต้องเติมเงินบวกค่าธรรมเนียมไปอีก 20 บาทไว้ด้วยค่ะ
พอเราเห็นยอดภาษีแล้ว เราสามารถกลับไปที่หน้า เติมเงิน และเลือกวิธีชำระเงินได้เลย และนำบาร์โค้ดนั้นไปแสกนจ่ายได้ตามแอปฯ ธนาคารที่สะดวก หรือเติมผ่าน 123 เซอร์วิส หลังจากนั้นให้กลับไปที่หน้า จ่ายบิลเติมเงิน >> ศุลกากร อีกครั้ง เพื่อชำระยอดทั้งหมดผ่านแอปฯ เพียงเท่านี้ก็เป็นการจ่ายภาษีศุลกากรผ่านแอปฯ ได้เรียบร้อยแล้วค่ะ หลังจากนี้เราสามารถนั่งรอของอยู่ที่บ้านได้เลย

เลือกหัวข้อ จ่ายบิล เติมเงิน

เลือกศุลกากร เติมเงิน
 

ใส่เลข Track เพื่อเช็คยอดภาษี แล้วกลับไปเติมเงิน

หากเติมเงินแล้วจะขึ้นใบเสร็จให้แบบนี้ อย่าลืมบวกค่าธรรมเนียมอีก 20 บาท

4. คำแนะนำ และสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น

เพียงเท่านี้ เราก็สามารถนั่งรอของอยู่ที่บ้านได้เลยค่ะ จากวันที่จ่ายภาษีไปแล้วนั้น สถานะพัสดุจะเปลี่ยนเป็น อยู่ระหว่างการนำจ่าย ซึ่งจะรอของอีกไม่เกิน 1-2 วันก็จะมาส่งถึงบ้านเราแล้วค่ะ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของผู้รับและสาขาไปรษณีย์) อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อผิดพลาดบางอย่างที่อาจจะเกิดขึ้นได้ภายในแอปฯ จากประสบการณ์ที่เราได้พบเจอมา จะมีดังต่อไปนี้ค่ะ

สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้

1. สถานะพัสดุขึ้นว่า "นำจ่ายไม่สำเร็จ" จากสาเหตุดังต่อไปนี้
     1.1 (รอชำระค่าธรรมเนียม) เป็นไปได้ว่าระบบอาจจะตัดรอบชำระเราไม่ทัน ให้เรารออีก 1-2 ชม. แล้วค่อยเช็คใหม่ จะมีสถานะใหม่ขึ้นมาว่า "อยู่ระหว่างการนำจ่าย" แต่ถ้ายังไม่มีสถานะใหม่ ให้ติดต่อไปรษณีย์สาขานั้นๆ ได้เลยค่ะ
     1.2 (ส่งต่อ/เปลี่ยนเส้นทาง ตามคำร้องขอของผู้รับ) ส่วนนี้จะเป็นขั้นตอนภายในของไปรษณีย์เองค่ะ เป็นการส่งต่อจากส่วน EMS มายังส่วนกระจายของ ไม่แน่ใจว่าเรียกว่าอะไรเหมือนกันค่ะ แต่เคยไปถามที่ไปรษณีย์มา เขาบอกว่าเป็นระบบภายในที่แจ้งให้ทราบกับพนักงานด้วยกันเอง ซึ่งเราสามารถรอประมาณ 1-3 ชม. สถานะตรงนี้ก็จะเปลี่ยนเป็น "อยู่ระหว่างการนำจ่าย"
2. การประเมินสินค้าที่เกินจริง
     การประเมินราคาพัสดุนั้นเป็นหน้าที่ของศุลกากรค่ะ เขาไม่อาจทราบได้ว่าเราสั่งสินค้าอะไรมา ซึ่งเขาก็จะประเมินเอาจากใบเสร็จที่แปะอยู่หน้ากล่องพัสดุ ถ้าหากมีราคาแปะไว้ชัดเจน ก็สามารถประเมินได้ตรง แต่ถ้าหากไม่มีราคาเขาก็จะประเมินเอาตามสภาพ ซึ่งถ้าหากเราเห็นว่าการประเมินนั้นสูงเกินกว่าที่เราซื้อ ให้เรายังไม่ต้องจ่ายภาษี และยื่นอุทธรณ์กับไปรษณีย์สาขาใกล้บ้านได้เลยค่ะ จะมีเอกสารให้กรอก และแนบเอกสารยืนยันว่าเราซื้อมาด้วยยอดนี้ๆ เพื่อให้ทางศุลกากรคิดภาษีใหม่ได้ อาจะเสียเวลาต้องดำเนินการใหม่หน่อย แต่ก็ดีกว่าเสียภาษีเกินควร เพราะถ้าหากจ่ายไปแล้ว เราจะไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้อีกค่ะ
 

สำหรับใครที่อาจจะพบเจอปัญหา หรือข้อผิดพลาดที่มากกว่านี้ สามารถมาแชร์ประสบการณ์หรือพูดคุยกันได้นะคะ สำหรับบทความนีก็หวังว่าจะพอเป็นเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ให้กับผู้อ่านได้บ้างนะคะ

หากใครมีข้อสงสัยอะไรเพิ่มเติม สามารถเข้าร่วมพูดคุยกับกูรูได้ที่นี่เลยค่ะ https://page.line.me/uht3147t
แท็กที่เกี่ยวข้อง แอปพลิเคชั่น
Mobile Guru
เขียนโดย พชรธรณ์ ถิ่นสอน Mobile Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)