x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

รวมลิสต์ 5 คำศัพท์ที่ควรรู้ ก่อนซื้อมือถือเครื่องใหม่

icon 9 ส.ค. 65 icon 4,969
รวมลิสต์ 5 คำศัพท์ที่ควรรู้ ก่อนซื้อมือถือเครื่องใหม่
เมื่อถึงเวลาที่ต้องซื้อ "มือถือ" ทุกคนน่าจะได้ยินศัพท์เฉพาะจากพนักงานขายหน้าเคาน์เตอร์ หรือแม้กระทั่งหน้าโชว์สเปกมือถือบนเว็บไซต์ เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้คุ้นเคยกับเรื่องไอทีก็มักจะงงไปตาม ๆ กัน และมักจะอาศัยเลือกเอาตามความเข้าใจส่วนตัว(เอง) ตามโฆษณา คำแนะนำของคนรู้จัก หรือพนักงานขาย ซึ่งอาจจะทำให้เราไม่ได้มือถือเครื่องใหม่ตามที่ต้องการใช้งานจริง ๆ
วันนี้ Mobile GURU Thailand จึงขอลิตส์รวม 5 คำศัพท์หลักๆ ที่มือใหม่หัดซื้ออย่างเรา ๆ ควรรู้มาให้ทำความเข้าใจกันแบบสรุปสั้น ๆ ง่าย ๆ (ไม่ลงรายละเอียดเยอะให้สับสน) ก่อนที่ตัดสินใจซื้อมือถือเครื่องใหม่กันค่ะ
LCD   |   LED   |   OLED
ชนิดหน้าจอแสดงผล
ชนิดของหน้าจอแสดงผลมือถือที่แต่ละรุ่นจะใส่มาให้ไม่เหมือนกัน ในปัจจุบันนิยมใช้ทั้งหมด 3 ชนิด คือ LCD, LED, OLED และจะมีการแยกย่อยออกไปตามเทคโนโลยีการจัดเรียงเม็ดพิกเซลและบริษัทผู้ผลิตอีกที เช่น TFT, IPS, AMOLED, Super AMOLED, Dynamic AMOLED, POLED, Retina HD, Super Retina, Liquid Retina และอีกหลากหลาย โดยในมือถือระดับเริ่มต้นมักจะนิยมใช้เป็นจอ LCD และ LED ส่วนจอ OLED ส่วนใหญ่จะถูกเลือกมาใช้ในมือถือรุ่นท็อป
Refresh Rate   |   Touch Sampling Rate
อัตราการแสดงผลภาพ  |  อัตราความไวตอบสนองการสัมผัส
Refresh Rate หรืออัตรารีเฟรชเรทจอภาพ เป็นค่าตัวเลขการแสดงผลภาพใน 1 วินาที เช่น 144Hz หมายความว่าสามารถแสดงผลภาพได้สูงสุด 144 ภาพต่อวินาที >> [Techno Vocab] รู้ศัพท์ไอที 1 : Refresh Rate คืออะไร? ) ส่วน Touch Sampling Rate เป็นค่าความไวในการตอบสนองต่อการสัมผัสของหน้าจอ ตัวเลขยิ่งสูง ความไวในการบังคับหรือกดปุ่มต่าง ๆ ก็จะยิ่งมากขึ้น ค่าความไวสูงสุดตอนนี้อยู่ที่ 720Hz 
RAM   |  ROM   
หน่วยความจำชั่วคราว  |  หน่วยความจำถาวร
RAM (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำชั่วคราวหรือหน่วยความจำที่กำลังถูกใช้งานอยู่  ช่วยเสริมการรันแอปพลิเคชันต่างๆ ยิ่งตัวเลขมาก ยิ่งส่งผลให้ไวขึ้น ส่วน ROM (Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำถาวร ซึ่งใช้สำหรับเก็บไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ยิ่งตัวตัวเลขมาก ก็ยิ่งเก็บได้เยอะ
CPU
หน่วยประมวลผลกลาง
CPU (Central Processing Unit) คือ หน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่เป็นเหมือนมันสมอง ซึ่งเป็นตัวกำหนดขีดความสามารถของมือถือรุ่นนั้น ๆ ซึ่ง CPU เป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญบน SoC (System-on-Chip) โดย SoC บนมือถือมีผู้ผลิตหลักๆ คือ Qualcomm, MediaTek, HiSilicon, Samsung, Apple และจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามผู้ผลิตอีกที เช่น Snapdragon ของ Qualcomm, Dimensity ของ MediaTek, Exynos ของ Samsung เป็นต้น
Operating System (OS)
ระบบปฏิบัติการ
Operating System (OS) หรือระบบปฏิบัติการเป็นซอฟต์แวร์ระบบ ทำหน้าที่บริหารจัดการการทำงานของมือถือ รวมทั้งโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเครื่องด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีระบบปฏิบัติการอยู่ทั้งหมด 3 ระบบ คือ iOS, Android OS และ Harmony OS
สำหรับคำศัพท์ที่คัดมาทั้งหมดในวันนี้ เป็นคำหลัก ๆ ที่เราควรจะต้องศึกษาให้เข้าใจกันสักเล็กน้อย เพื่อดูสเปกโดยรวมให้เป็นก่อนที่จะเดินเข้าร้านเพื่อไปเทสต์จับตัวจริงของมือถือเครื่องใหม่ หรือเมื่อไปถึงหน้าร้านแล้ว พนักงานขายอาจจะบรรยายสรรพคุณ จุดเด่นต่าง ๆ ของมือถือด้วยคำศัพท์เหล่านี้ให้คุณฟัง การที่เราไม่รู้เลยหรือมีความเข้าใจผิด ๆ ก็อาจทำให้เราได้มือถือเครื่องใหม่ที่ไม่เหมาะกับไลฟ์สไตล์การใช้งานของตัวเอง ดังนั้น การเตรียมความพร้อม ทำความเข้าใจไปก่อน จึงเป็นหนทางที่ดีที่สุดแล้วสำหรับนักซื้อ (มือถือ) ฉบับมือใหม่ค่ะ
ส่วนใครที่มีศัพท์คำไหนที่อยากให้เราบอกให้รู้อีก หรือมีคำไหนที่อยากแบ่งปันให้เพื่อน ๆ นักซื้อมือใหม่รู้ สามารถเข้าไปร่วมพูดคุยหรือคอมเมนต์ให้ข้อมูลไว้ที่โพสต์ด้านบนได้เลยนะคะ laugh
แท็กที่เกี่ยวข้อง ram rom knowledge oled cpu os refresh rate touch sampling rate ซื้อมือถือใหม่ ซื้อมือถือ LCD LED
Mobile Guru
เขียนโดย สโรชา ศรีชัย Mobile Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)