x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

FIRST Choice : เลือกอะไรดี?งบ 4,000 บาทกับสองสมาร์ตโฟนสุดฮอต Nokia G10 VS realme Narzo 50i

icon 1 ก.พ. 65 icon 9,827
FIRST Choice : เลือกอะไรดี?งบ 4,000 บาทกับสองสมาร์ตโฟนสุดฮอต Nokia G10 VS realme Narzo 50i
realme Narzo 50i และ Nokia G10 สองสมาร์ตโฟนราคาไม่เกิน 4,000 บาท น่าจะเป็นสมาร์ตโฟนคู่ที่น่าสนใจที่สุดในเวลานี้สำหรับตลาด Entry phone ด้วยความสดใหม่ของทั้งคู่ที่พึ่งเปิดตัวไปในช่วงไตรมาส 3-4 ของปี 2021 งานออกแบบที่ทำได้ดีทั้งคู่ และแน่นอนว่าสเปคตัวเครื่องก็พอฟัดพอเหวี่ยงกันสนุก ดังนั้นเพื่อช่วยให้คนที่กำลังเล็ง ๆ สองรุ่นนี้อยู่ตัดสินใจเลือกได้ดีขึ้น เลยขอจับสมาร์ตโฟนสุดน่าซื้อทั้งสองรุ่น realme Narzo 50i และ Nokia G10 มาเปรียบเทียบกันผ่านบทความนี้เพื่อให้ได้ "Choice" ที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนครับ! 

งานออกแบบ (Design) 

เริ่มต้นด้วยการออกแบบรอบตัวเครื่องกันก่อนเลย ด้านงานออกแบบต้องเกริ่นก่อนว่าอยู่ที่สไตล์ความชอบของแต่ละคนที่จะมองว่า ดีไซน์แบบไหนสวยหรือไม่สวยนะครับ ดังนั้นผมขอหยิบรายละเอียดในส่วนอื่นของตัวเครื่องมาเทียบกันนะ รอบตัวเครื่องของทั้งสองรุ่นจะมีความแตกต่างกันเรื่องของฝาหลัง
โดยที่ realme Narzo 50i จะวางงานออกแบบกล้องเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมวางไว้มุมซ้ายบนของฝาหลัง พร้อมกับวางไลน์เส้นสายของฝาหลังเป็นสองส่วนทำให้รู้สึกเป็นสมาร์ตโฟนสำหรับผู้คนที่ชื่นชอบความทันสมัย ไม่ซ้ำใคร โดยเฉพาะน้อง ๆ วัยหนุ่มสาว น่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของงานออกแบบในครั้งนี้ของเรียลมี ในขณะที่ด้านหน้าเลือกใช้หน้าจอแสดงผล LCD แบบ Notch ขนาด 6.5 นิ้ว ความละเอียดระดับ HD+ (1600x720 พิกเซล) มีค่าความสว่าง 400 nits และตรงรอย Notch เป็นตำแหน่งของกล้องหน้าความละเอียด 5MP ทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ AI Camera ของเรียลมี
มากันที่ฝั่งของ Nokia G10 ฝาหลังยังคงยึดงานออกแบบจากซีซั่นก่อน ด้วยงานออกแบบกล้องเป็นรูปทรงกลมวางไว้ตรงกลางฝาหลังเด่นชัด พร้อมกับเล่นลวดลายฝาหลังเป็น Dot เบา ๆ เพื่อเพิ่มการถือจับที่กระชับมือ ส่วนตัวมองว่างานออกแบบของโนเกียจะเน้นไปที่ความคลาสสิกสามารถใช้งานได้หลากหลาย เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานได้เกือบทุกกลุ่ม แต่อาจเน้นไปทางวัยทำงานขึ้นไปมากกว่าน้อง ๆ ในขณะที่ด้านหน้าใช้หน้าจอแสดงผลสไตล์เดียวกับเรียลมี คือหน้าจอแสดงผล LCD ขนาด 6.5 นิ้ว ความละเอียดระดับ HD+ (1600x720 พิกเซล) มีค่าความสว่าง 400nits และมีลูกเล่น Sunlight brightness boost สำหรับเร่งแสงหน้าจอขึ้นอีก เพื่อใช้งานที่แจ้ง ในขณะที่ตรงรอย Notch เป็นตำแหน่งของกล้องหน้าความละเอียด 8MP

สเปกตัวเครื่อง (Specification)

ด้านสเปกตัวเครื่องในภาพรวม (Overall) ถือว่าไล่เลี่ยกันนะครับ คงแนะนำให้เลือกตามไลฟ์สไตล์การใช้งานของตัวเองจะดีกว่า ถ้าชอบประสบการณ์การใช้งานแบบ Pure Android พร้อมรับประกันอัปเดทซอฟต์แวร์นาน 2 ปี ฝั่ง Nokia ก็จะลงตัวกว่า แต่ถ้าใครชอบประสบการณ์การใช้งานแบบซน ๆ มีลูกเล่นให้เลือกปรับแต่ง ตัว UI มีความสนุก ทาง realme ก็จะตอบโจทย์ได้ดีกว่า
นอกนั้นทั้งคู่ก็จะมีจุดแตกต่างกันในเรื่องของรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย เช่น realme Narzo 50i จะได้ถาดซิมการ์ดแบบ 2+1 ทำให้สามารถใช้งานซิมการ์ดพร้อมกันได้สองซิมและ 1 MicroSD Card ในขณะที่ของทาง Nokia จะเป็นถาดซิมการ์ดแบบหน้า-หลัง ต้องเลือกใช้งานเอง หรือจะเป็นเรื่องของการเชื่อมต่อ Bluetooth ทาง Nokia G10 ให้เป็น Bluetooth 5.0 มา ส่วนของ realme Narzo 50i จะเป็น Bluetooth 4.2 เป็นต้น ลองไปดูสเปกทั้งสองรุ่นเทียบกันในตารางด้านล่างได้เลยครับ
  realme Narzo 50i Nokia G10
Dimension 165.2 x 76.4 x 8.9 มม. (ยาว x กว้าง x หนา) 164.9 x 76 x 9.2 มม. (ยาว x กว้าง x หนา)
Display IPS LCD ขนาด 6.5 นิ้ว HD+ IPS LCD ขนาด 6.5 นิ้ว HD+
CPU Unisoc SC9863A MediaTek Helio G25
GPU IMG 8322 PowerVR GE8320
RAM 4GB 4GB
ROM /
MicroSD Card
64GB / Micro SD Card 256GB 64GB / Micro SD Card 512GB
OS Android OS 11 with realme Go Edition Android OS 11 (Android Stock UI)
Camera
Rear : 8MP + LED Flash
Front : 5MP (F2.2)
Rear : 13 MP + 2MP + 2MP (Main + Macro + Depth)
Front : 8MP
Battery 5000 mAh (รองรับ Reverse Charge) 5050 mAh (Charge 10W)
Price 3,999 Baht 3,990 Baht

RECAP ภาพรวมถือว่าใกล้เคียงกัน!

มาสรุปภาพรวมกันครับว่า สรุปแล้วทั้งสองรุ่นเป็นอย่างไร? และถ้าจะซื้อสักเครื่องควรเลือกแบบไหน? สำหรับตัวผมมองว่าในด้านของประสิทธิภาพของทั้งสองรุ่นเมื่อนำภาพรวมทั้งหมดมาเฉลี่ยกัน ก็ตอบได้เลยครับว่าให้ประสบการณ์การใช้งานที่แตกต่างกันไม่มากนัก ถึงแม้หลายคนอาจเห็นแย้งว่าฝั่ง realme ใช้ชิปประมวลผล UniSoC นะจะไปแรงเท่า MediaTek G Series ได้อย่างไร?
ซึ่งก็มีส่วนเป็นจริงครับ เพราะด้วยความแตกต่างกันของปัจจัยฮาร์ดแวร์และคุณสมบัติบางอย่างของชิปทั้งสอง แต่เรื่องของ "แบรนด์" ไม่ได้มีผลต่อประสิทธิภาพของตัวชิปนะครับ แต่ที่ผมมองไปที่เรื่องของซอฟต์แวร์ที่เป็นตัวเชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ที่ทำให้ทั้งสองรุ่นนี้มีความต่างกันมากกว่าครับ ดังนั้นถ้าเทียบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทั้งสองรุ่นแล้ว ประสบการณ์การใช้งานในภาพรวมถือว่า "พอกัน"
แต่จะไปแตกต่างตรงซอฟต์แวร์ที่ในการตอบสนอง ประมวลผล และมอบประสบการณ์การใช้งานมากกว่า ซึ่งส่วนตัวเอียงไปทาง Nokia มากกว่านะ เพราะได้รับการการันตีอัปเดทนาน 2 ปี ซึ่งมีน้อยมากที่สมาร์ตโฟนระดับ Entry จะได้รับการเหลียวมอง อีกส่วนก็คงเป็นความคลีนของ UI ที่มีผลต่อการเรนเดอร์กราฟฟิกต่อใช้งาน ที่อาจทำให้รู้สึกว่าสมูธกว่าเท่านั้นเอง แต่ทาง realme เองก็มีจุดเด่นที่เหนือกว่าตรงความซุกซน ประสบการณ์การใช้งานที่หลากหลายจากตัว realme UI 
ดังนั้นถ้าใครชอบงานออกแบบคลาสสิก ดูสุขุมหน่อย และชอบประสบการณ์การใช้งานแบบคลีนสุด ๆ ตั้งใจไว้ว่าซื้อครั้งนี้แล้วถือใช้งานยาว ๆ Nokia G10 จะเป็นตัวเลือกที่น่ารักสำหรับคุณครับ แต่ถ้าหากใครชอบความสนุก ดีไซน์สดใสไม่ตกเทรนด์ ซอฟต์แวร์มีของเล่นให้ใช้งานมากมาย และจำเป็นต้องใช้งานเบอร์พร้อมกันสองซิมการ์ด realme Narzo 50i จะเป็นคู่หูให้คุณได้สุดทางแน่นอน
แท็กที่เกี่ยวข้อง nokia realme realme narzo 50i Nokia G10
Mobile Guru
เขียนโดย วินระพี นาคสวัสดิ์ Mobile Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)