x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

รู้จัก NDID ทางเลือกใหม่ของการทำธุรกรรมออนไลน์ในยุคดิจิทัล ที่ทุกคนควรทราบ

icon 20 ธ.ค. 64 icon 2,853
รู้จัก NDID ทางเลือกใหม่ของการทำธุรกรรมออนไลน์ในยุคดิจิทัล ที่ทุกคนควรทราบ

รู้จัก NDID ทางเลือกใหม่ของการทำธุรกรรมออนไลน์ในยุคดิจิทัล ที่ทุกคนควรทราบ

หลายคนน่าจะเริ่มได้เห็นชื่อ "NDID" กันมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ต้องทำธุรกรรมการเงินอยู่เป็นประจำ หรือผู้ที่กำลังสนใจเปิดบัญชีเงินฝากออนไลน์ 'E-saving Bank' ที่ช่วงนี้หลายธนาคารคิดดอกเบี้ยเงินฝากให้ค่อนข้างสูง ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้น่าจะเป็นสองกลุ่มที่ต้องเห็นชื่อนี้อยู่บ่อยครั้ง เพราะการจะเปิดบัญชีออนไลน์ได้นั้นหนึ่งในเงื่อนไข ที่ธนาคารใส่มาให้ทุกแบงค์เลยก็คือ การต้องยืนยันตัวตนผ่านระบบ NDID มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถเปิดบัญชีออนไลน์ได้เลย
และยิ่งถ้าหากแผนพัฒนาระบบหน่วยงานราชการเกิดขึ้นจริงได้ ในอนาคตเราก็จะเห็นหน่วยงานราชการหลายแห่งนำระบบ NDID เข้ามาใช้งานกันแพร่หลายขึ้น เพื่อช่วยลดขั้นตอนการทำงานและเพิ่มความสะดวกในการให้บริการด้วย เรียกได้ว่าขยับตัวไปทางไหนเราก็เริ่มเห็นชื่อของ NDID บ่อยมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง เพราะฉะนั้นเราลองไปทำความรู้จักกับ "NDID" กันสักหน่อยดีกว่าครับว่า ระบบนี้คืออะไร? และทำไมเราต้องพบเจอบ่อยมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงความจำเป็นในการใช้งานมีมากแค่ไหน? ตามไปหาคำคอบกันได้ผ่านบทความนี้เลย!

NDID คืออะไร? และมีที่มาอย่างไร?

NDID (อ่านว่า เอ็น-ดี-ไอ-ดี) คือ 
  • NDID มีชื่อเต็มคือ National Digital ID เป็นระบบยืนยันหรือตรวจสอบตัวบุคคล เพื่อใช้อ้างอิงตัวตนของผู้ใช้บริการบนโลกดิจิทัล ทำให้สามารถทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝากออนไลน์ การสมัครขอสินเชื่อออนไลน์ เป็นต้น โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สาขาหรือสำนักงาน เพื่อทำการแสดงตนสำหรับสมัครบริการ เพราะสามารถใช้ข้อมูลของ NDID ให้การอ้างอิงตัวบุคคลแทนได้
  • NDID เป็นชื่อบริษัท National Digital ID Co., Ltd. หรือ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด และเนื่องจากชื่อบริษัทเป็นที่รู้จักเป็นการทั่วไป ทางคณะกรรมการจึงเห็นสมควรให้ตั้งชื่อ N-D-I-D (เอ็น ดี ไอ ดี) เป็นชื่อของผลิตภัณฑ์ทำนองเดียวกัน ในการสื่อสารออกไปวงกว้าง เมื่อผู้ใช้ไปสมัครเปิดบริการ NDID Services ยังผู้ให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตน หรือ Identity Provider (IdP) ก็ให้เป็นอันรู้กันว่ามาสมัครเข้าระบบ NDID (Onboarding NDID with any IdP)
ที่มาที่ไปของ NDID เป็นอย่างไร?
NDID เกิดขึ้นมาจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐฯ และหน่วยงานเอกชน ที่มีความต้องการตรงกัน 2 อย่าง คือ 1. ภาครัฐฯ ต้องการเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชนได้รวกเร็วขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ (Ease of Doing Business) 2. ภาคเอกชนที่อยู่ในอุตสาหกรรมการเงินได้เห็นถึงข้อจำกัดในการยืนยันตัวตนร่วมกันระหว่างธนาคารหรือสถาบันการเงิน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน, ความน่าเชื่อถือ และการสิ้นเปลืองทรัพยากรที่มาจากรูปแบบการทำงานที่ล้าหลัง 
ด้วยเหตุนี้ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) จึงได้ผลักดันโครงการ "NDID" ขึ้นมาร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) ที่นำธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศเข้าร่วมพัฒนาฯ ด้วย จนทำให้สามารถจัดตั้งบริษัทเอกชนที่ชื่อว่า National Digital ID ได้สำเร็จ โดยปล่อยให้รับหน้าที่บริหารจัดการระบบ NDID 

NDID เกี่ยวข้องยังไงกับตัวเรา? ไม่สมัครได้ไหม?

NDID เกี่ยวข้องยังไงกับตัวเรา? คำตอบคือ เป็น "ทางเลือก" สำหรับใครที่ต้องเครื่องมือเข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรมการเงินครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิกฤตของเจ้าไวรัสโควิด-19 แบบนี้ ที่ทำให้หลายคนไม่สามารถออกจากบ้าน เพื่อมุ่งหน้าไปยังธนาคารต่าง ๆ ได้สะดวกเหมือนปกติ ดังนั้นการที่เราเลือกใช้ระบบ NDID ก็จะสามารถช่วยลดขั้นตอนการติดต่อธนาคาร ในส่วนของการส่งเอกสารยืนยันตัวตนแบบออฟไลน์ไปได้ ทำให้สามารถเปิดบัญชีออนไลน์ รวมถึงบริการในอนาคตที่จะทยอยเปิดใช้อย่าง การขอสินเชื่อ, การต่อประกัน, การเปิดบัญชีสำหรับเล่นหุ้น ได้รวดเร็วและง่ายขึ้น เพียงแค่มีสมาร์ตโฟน
ไม่สมัครใช้บริการ NDID ได้ไหม? 
คำตอบคือ "ได้" ครับ เพราะอย่างที่เกริ่นไป NDID เป็นเพียงตัวเลือกหรือทางเลือกในการให้บริการธุรกรรมการเงินของธนาคารเท่านั้น เรามีสิทธิ์ที่จะเลือกสมัครได้ว่าจะสมัครหรือไม่สมัคร 

ประโยชน์ของ NDID คืออะไร?

อย่างที่ได้เกริ่นไปในช่วงต้นแล้วครับ ประโยชน์ของการมีระบบ NDID เข้ามาในประเทศไทย ในด้านของผู้บริโภคหลัก ๆ เลยคือ การเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ในการใช้บริการธุรกรรมการเงิน เพราะในโลกดิจิทัลทุกวันนี้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ตลอดเวลาและเกือบทุกสถานที่ ดังนั้นเราจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไกลเพื่อไปยังธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพื่อยืนยันตัวตน ซึ่งบางครั้งอาจอยู่ไกลจากจุดที่เราอยู่หรือต้องฝ่าอุปสรรคสุดน่าเบื่ออย่างการจราจรในกรุงเทพฯ สามารถเอาเวลาไปทำอย่างอื่นจะดีกว่า และเมื่อยืนยันตัวตนผ่านระบบ NDID เพียงครั้งแรกครั้งเดียว ก็สามารถเข้าถึงบริการธุรกรรมการเงินจากธนาคารได้ทุกธนาคารเลยด้วยนะ จากที่ปกติจะใช้บริการธนาคารไหนก็ต้องไปเดินเอกสารที่ธนาคารนั้น สะดวกขึ้นไหมล่ะ!
ส่วนในด้านของธนาคาร สถาบันการเงิน หรือหน่วยงานราชการ แน่นอนว่าภาครัฐฯ พยายามผลักดันให้ "ดิจิทัล" เป็น infrastructure ของประเทศไทย ดังนั้นในอนาคตข้างหน้าถ้าหากทำได้สำเร็จ เราก็คงได้เห็นระบบยืนยันตัวตนแบบดิจิทัลอย่าง NDID เข้ามาช่วยให้บริการในภาครัฐมากขึ้น ไม่ต้องมาเซ็นรองรับสำเนาก็แบบเดิม และก็จะสามารถยกระดับการทำธุรกรรมต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเพิ่มความน่าเชื่อถือที่มากยิ่งขึ้นในสายตานักลงทุนอีกด้วย รวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการระบบการทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์ที่มีความปลอดภัยสูงยิ่งขึ้นจากเดิม สามารถลดต้นทุนในด้านบุคลากรและทรัพยากรอย่าง "กระดาษ" ลงได้ด้วย

NDID เป็นระบบออนไลน์ ปลอดภัยแค่ไหน?

ขึ้นชื่อว่า 'ออนไลน์' หลายคนน่าจะมีความกังวลเกี่ยวกับข้อมูลของตนเองว่าจะปลอดภัยแค่ไหน? และยิ่งถ้าหากมีหน่วยงานรัฐฯ เข้ามาเกี่ยวข้องก็ยิ่งกังวลใจใช่ไหมล่ะครับ มาครับผมอธิบายหลักการออกแบบของระบบ NDID ให้ฟังว่าเขามีความปลอดภัยและได้มาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลอยู่นะ
สำหรับหลักการออกแบบระบบ NDID จะเป็นแบบ Data Security and Privacy by Design เป็นการออกแบบระบบบริการที่มีความปลอดภัยสูงด้วยการเข้ารหัสในการรับส่งข้อมูล และตัวระบบจะไม่มีการรวมข้อมุลไปยังศูนย์เก็บข้อมูล ซึ่งทำให้ตัวข้อมูลจะยังคงอยู่กับหน่วยงานที่ดูแลข้อมูลและให้บริการลูกค้าเท่านั้น ตัวระบบถูกออกแบบภายใต้แนวคิด Decentralized ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Blockchain 
ที่มีผู้ดูแลระบบคือ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด (NDID) และจะไม่สามารถเห็นข้อมูลใดๆ ของลูกค้าได้ด้วยเช่นกัน แล้ว NDID ไว้ใจได้แค่ไหน? บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด (NDID) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเลกทรอนิกส์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบริษัทไปรษณีย์ไทย รวม ๆ แล้วมีบริษัทที่ร่วมทุนมากกว่า 60 บริษัท เลยทีเดียว
ดังนั้นแต่ละบริษัทก็จะมีบทบาทการกำกับด้วย จึงทำให้มั่นใจได้ว่าหน่วยงานที่กำกับและบริษัทเหล่านั้น ต้องปฏิบัติตามกฏหมายและกฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอย่างแน่นอนครับ หากเปรียบเทียบวิธีการของ NDID Ecosystem กับวิธีการในปัจจุบันที่ใช้กระดาษมาเซ็นเอกสารสำเนาในการสมัครบริการต่างๆ ด้านความปลอดภัยจะเห็นได้ชัดว่า มีความปลอดภัยต่อข้อมูลมากกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญ และสะดวก ประหยัดเวลาไปได้เยอะ

สรุป

NDID ก็เป็นอีกหนึ่งบริการออนไลน์ ที่ส่วนตัวผมมองว่า เป็นทางเลือกที่มีประโยชน์พอสมควรนะครับ ทั้งแง่ของผู้บริโภคหรือลูกค้าอย่างเรา ที่ไม่จำเป็นต้องไปยืนยันตัวตนแบบเดิม ๆ เพื่อใช้บริการธุรกรรมการเงินให้วุ่นวาย หงุดหงิด และเสียเวลา เพราะการยืนยันตัวตนผ่านระบบ NDID เพียงครั้งเดียว เราก็สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการยืนยันตัวตนได้ทุกธนาคารเลย ส่วนในแง่ของผู้ให้บริการก็เป็นยกระดับความน่าเชื่อถือและบริการด้วยเทคโนโลยี ลดการใช้ทรัพยากรลงได้ด้วย ก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยเพิ่มข้อมูล และการตัดสินใจใช้บริการ NDID ที่กำลังเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ให้กับทุกคนได้บ้างนะครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ยืนยันตัวตนดิจิทัล ndid ndid คืออะไร
Mobile Guru
เขียนโดย วินระพี นาคสวัสดิ์ Mobile Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)