x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

รู้จัก HarmonyOS ระบบปฏิบัติการตัวใหม่ของ หัวเว่ย กับทางเลือกหากไม่มี Android OS

icon 20 ก.ค. 65 icon 31,079
รู้จัก HarmonyOS ระบบปฏิบัติการตัวใหม่ของ หัวเว่ย กับทางเลือกหากไม่มี Android OS

รู้จัก HarmonyOS ระบบปฏิบัติการตัวใหม่ของ หัวเว่ย กับทางเลือกหากไม่มี Android OS

เปิดตัวกันไปเรียบร้อยสำหรับ HarmonyOS หรือ HongmengOS ระบบปฏิบัติการตัวใหม่ของ Huawei ที่ทางคุณ Richard Yu ซีอีโอคนเก่งได้ประกาศว่า "นี้คือระบบปฏิบัติทางเลือกของ หัวเว่ย ในวันที่ไม่มี Android OS" ทำให้ความสนใจทั้งหมดในแวดวงไอทีช่วงนี้ ต้องหันสปอร์ตไลท์เข้าหาเวที่ HDC 2019 ของหัวเว่ยทันที
แต่ด้วยเนื้อหาทั้งหมดที่ทาง Huawei เผยออกมาค่อนข้างเป็นเนื้อที่ Unique มากๆ และหนักไปในทาง Development เกือบทั้งหมด ทำให้เชื่อว่าน่าจะมีหลายคนที่ยังมีข้อสงสัยในมุมต่างๆ เกี่ยวกับ Hormony OS ว่าสุดท้ายแล้วคืออะไร และ Huawei เปิดตัวมาเพื่ออะไรกันแน่ 
ดังนั้นเพื่อไขข้อสงสัยเหล่านี้ เลยอยากพาทุกคนไปรู้จักกับ Hormony OS ระบบปฏิบัติการตัวใหม่ของหัวเว่ยในมุมที่ผู้ใช้งานอย่างเราๆ ควรทราบกันครับ รับรองว่าไม่หนักหัวจนเกินไปแน่นอน! ถ้าพร้อมแล้วไปลุยกันครับ

HarmonyOS คืออะไร?

HarmonyOS ก็คือ ระบบปฏิบัติการตัวหนึ่งที่เหมือนกับ Android OS และ OS อื่่นๆ นั้นแหละครับ ความพิเศษของมันก็อยู่ตรงที่เป็นระบบปฏิบัติการตัวแรกของ Huawei ที่เปิดตัวขึ้นมานับตั้งแต่เข้ามาลุยตลาดไอทีหลายสิบปี โดยมีเป้าหมายคือการก้าวขึ้นเป็นระบบปฏิบัติการแบบไร้รอยต่อ (Seamless) ระดับโลก ซึ่งทาง Huawei ประกาศไว้ว่า HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open Source) ที่นักพัฒนาทุกคนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้อย่างอิสระ

จุดเด่น Micro Kernal ที่ชูไว้ ดีแค่ไหน?

จุดเด่นที่ทาง Huawei ชูไว้ในงานว่า เหนือกว่า Android OS คือ เรื่องของการเป็นระบบปฏิบัติการแบบ Micro Kernal ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่าคืออะไรกันแน่ ด้วยเนื้อหาที่เป็น Development ถ้าลงลึกอาจจะยากไป ผมเลยขออธิบายแบบง่ายๆ เกี่ยวกับ Kernal กันซักนิดครับ เพื่อให้พอมองภาพออก 
สำหรับ Kernal หน้าที่ของเขาคือ การเป็นตัวกลางในการติดต่อไปยังส่วนต่างๆ ในระบบปฏิบัติการ (OS) เพื่อให้เกิดการทำงาน เช่น ติดต่อให้กล้องถ่ายรูปทำงานเมื่อกดชัตเตอร์, การดึงภาพมาแสดงผลบนหน้าจอ ฯลฯ เป็นต้น
หรือเอาให้เห็นภาพมากขึ้น ลองจินตนาการว่า Kernal คือ คนที่เก่งมากๆ สามารถสั่งการหรือทำงานได้ทุกอย่างใน OS ก็ได้ครับ ซึ่งไม่ว่าใครอยากทำอะไรใน OS เขาคนนี้จะเป็นคนเดียวที่สามารถสั่งการให้เกิดการทำงานตามที่ต้องการได้ ที่นี้พอนึกภาพออกไหมว่า ถ้าวันหนึ่งเขาคนนี้เกิดตายขึ้นมาจะเกิดอะไรขึ้นกับระบบ? แน่นอนว่าระบบก็จะพัง ทำงานต่อไม่ได้นั่นเอง Micro Kernal จึงเป็นทางเลือกที่จะแบ่งหน้าที่การทำงานของ Kernal ออกเป็นส่วนๆ แต่ยังคงมีคนสั่งการเพียงคนเดียวเสมือนกับเป็นหัวใหญ่ของห้อง แล้วมีลูกน้องที่แต่ละคนจะมีหน้าที่รับผิดชอบไม่เหมือนกัน
ดังนั้นถ้าหากจะสั่งให้กล้องทำงาน หัวหน้าใหญ่ของห้องก็เลือกสั่งการหรือติดต่อไปหาคนที่มีหน้าที่สั่งกล้องเท่านั้นโดยตรง ทำให้ถ้าหากวันหนึ่งเจ้าคนดูแลกล้องหายตัวไปขึ้นมา ระบบอื่นๆ ที่เหลือก็ยังคงทำงานต่อไปได้ และนี้ก็คือข้อดีของ Harmany OS ที่เป็น Micro Kernal ครับ  
ในขณะที่ทางด้าน Android OS จะเป็นแบบ Mono Kernal หรือมีหัวหน้าทำงานคนเดียวใน OS ซึ่งถ้าหากเรามองด้านความปลอดภัยต่อข้อมูลแล้ว OS แบบ Micro Kernal ก็จะมีความปลอดภัยที่สูงกว่า เพราะถ้าเป็น OS แบบ Mono Kernal ถ้าหากเกิดการโจรกรรมข้อมูลจากจุดใดจุดหนึ่่งของระบบขึ้นมา ก็จะสามารถนำพาไปสู่การเข้าถึงข้อมูลในส่วนอื่นๆ ได้ทันที แต่ทาง Google เองก็ยืนยันว่าได้มีการทดสอบที่หนักหน่วง และมีการอัปเดทเพื่อปิดจุดอ่อนให้กับผู้ใช้งานอยู่เสมอ

One once run Anywhere !!

อีกจุดเด่นที่ทาง Huawei ชูไว้ว่า HarmonyOS สามารถพอร์ตแอปพลิเคชั่น Android มาลงใช้งานได้ทันที หรือนักพัฒนาสามารถเขียนแอปพลิเคชั่นตัวเดียว ก็สามารถนำมาใช้งานได้กับอุปกรณ์ทั้งหมดที่รันบน Harmony ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วเป็นสิ่งที่สามารถทำได้และเกิดขึ้นได้ครับ!
เพียงแต่ถ้าหากใครที่เป็นนักพัฒนาฯ อยู่แล้วก็จะทราบดีว่า ของจริงนั้นเส้นทางไม่ได้สวยหรูเท่าไรนัก เพราะการจะเขียนแอปพลิเคชั่นครั้งเดียวแต่รันได้ทุกแพลตฟอร์ม จะมีอุปสรรคสำคัญคือเรื่องของฮาร์ดแวร์ ที่เราจะต้องทำการปรับปรุงแอปพลิเคชั่นของเราให้มีความเหมาะสมกับดีไวซ์ที่จะใช้งาน เช่น SmartWatch เป็นอุปกรณ์ที่มีชิปประมวลผลความเร็วต่ำ และมีหน่วยความจำน้อยกว่าบนมือถือเป็นอย่างมาก ดังนั้นถ้าเราไม่ปรับแต่งอะไรเลย ก็น่าจะพอเห็นภาพใช่ไหมครับว่าจะเกิดอะไรขึ้น!
ในขณะที่การพอร์ตแอปพลิเคชั่นจาก Android OS มาสู่ HarmonyOS เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ตามที่หัวเว่ยได้กล่าวไว้เลยเพียงแต่ในปัจจุบันแอปพลิเคชั่นที่อยู่บน Google Play Store เกือบ 80% จะมีการเชื่อมโยงอยู่กับ Google Mobile Service ไว้ เนื่องจากเป็นนโยบายด้านการพัฒนาแอปพลิเคชั่นบน Google Play Store ของ Google และเป็นทางเลือกที่นักพัฒนาฯ ส่วนมากจะเลือกกัน
ดังนั้นการที่จะเอาแอปพลิเคชั่น Android OS ไปรันบน HarmonyOS ที่ไม่มี Google Mobile Service จึงเป็นไปไม่ได้เลย!! ที่แอปพลิเคชั่นเหล่านี้จะทำงาน และยิ่งแอปพลิเคชั่นดังๆ ที่คนไทยอย่างเรานิยมใช้งานอย่าง Google Maps, Gmail, Youtube หรือ Facebook ฯลฯ ล้วนแต่เชื่อมโยงอยู่กับ Google Mobile Service ทั้งนั้น ที่นี้ก็ลองนึกภาพดูครับว่า ถ้าไม่มีแอปพลิเคชั่นเหล่านี้ คุณจะซื้อมือถือเครื่องนั้นที่ราคา 20,000 บาท มาใช้งานหรือไม่? นั่นแหละครับคือคำตอบ!

โอกาสความสำเร็จกับการเป็น OS ที่สามฝั่งมือถือ?

ถ้าให้วิเคราะห์เกี่ยวกับเจ้า HarmonyOS นั้น ถ้ามองกันลึกๆ แล้ว ผมมองว่า OS ตัวนี้น่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานด้าน IoT (Internet of Things) มากกว่าที่จะกลายมาเป็นระบบปฏิบัติการบนสมาร์ทโฟน แต่ด้วยปัจจัยด้านการค้าระหว่างจีนกับอเมริการ จึงทำให้ทางหัวเว่ยเอง ก็ต้องมีอาวุธไว้รับมือจึงทำให้ HarmonyOS ถูกลากเข้าไปเป็นความหวังบนโมบายด้วย
ส่วนจะมาแทน Android OS หรือไม่? ผมคิดว่าเขาไม่ได้เกิดมาเพื่อแข่งกับ Android OS ครับ เพียงแต่เกิดมาเพื่อเป็น "เส้นขนาน" ที่ปลายทางอาจไม่มาบรรจบกันแต่ก็จะเดินจับมือไปพร้อมกันมากกว่า และด้วยข้อจำกัดต่างๆ ที่ได้กล่าวไป รวมถึง Ecosystem ที่ยังไม่พร้อมในระดับสากล ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของ OS และเราก็เห็นตัวอย่างในอดีตทั้งจาก Bada OS ของซัมซุง หรือ Windows Phone ของ Microsoft มาแล้ว จึงเป็นไปได้ยากมากๆ ที่ "HarmonyOS" จะก้าวขึ้นมาเป็น OS ที่สามของมือถือในเร็วๆ นี้
แต่ในด้านของ Gadget หรือ IoT ผมกลับมองว่า มีความเป็นได้สูงมากที่จะเกิด และประสบความสำเร็จในการมาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดกับ Wear OS ของ Google หรือ Tizen OS ของซัมซุง จากคุณสมบัติต่างๆ ของตัว OS ที่ดูจะพร้อมมากๆ สำหรับด้านนี้ จึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะกาชื่อ HarmonyOS ออกจากตลาดนี้

บทสรุป

สำหรับ HarmonyOS ถ้ามองกันไปที่งาน HDC 2019 ที่เป็นงานแถลงเปิดตัวก็จะเห็นได้ว่าทางหัวเว่ยเองก็ดูจะไม่พร้อมมากๆ ซึ่งไม่ได้มีการโชว์ผลิตภัณฑ์อะไรออกมาให้ได้เห็นกันจังๆ ด้วย มีเพียงแต่การพรีเซ็นท์บนเวทีเท่านั้น รวมถึง HarmonyOS เองก็พึ่งจะเริ่มพัฒนาขึ้นมาในปี 2017 เมื่อรวมกับสถานการณ์ของหัวเว่ยกับอเมริกาในตอนนี้ และหลายๆ ปัจจัยที่ได้กล่าวไป ทำให้พอจะวิเคราะห์ได้ว่า HarmonyOS น่าจะเป็นระบบปฏิบัติการที่ทางหัวเว่ย (จำใจ) นำมาประกาศเพื่อแสดงศักยภาพของบริษัทเพื่อแสดงให้เห็นถึงทางเลือกของบริษัทในตอนนี้ว่า "เรามีทางเลือกนะ!" มากกว่าการประกาศเพื่อมาแข่งขันกับ Android OS หรือ iOS นั่นเองครับ ส่วนในอนาคตเราคงจะได้เห็น Wearable ต่างๆ ที่รันบน OS ตัวนี้กันมากมายแน่นอน และคงกลายเป็นผู้เล่นสำคัญของตลาดได้แน่นอน
และถึงแม้ในตอนนี้ HarmonyOS กับโอกาสในการเป็นระบบปฏิบัติการบนโมบายที่สามของโลก จะมีความเป็นไปได้น้อยมากๆ แต่ผมเองก็แอบเชียร์เหมือนกันว่า Huawei จะฟันฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้ และกลับมาเป็นมังกรที่ทะยานไปข้างหน้าตามวิสัยทัศน์ของบริษัท และเป็นตัวแทนบริษัทสัญชาติเอเชียที่จะประกาศให้โลกได้รู้ว่า เอเชียก็เจ๋งไม่แพ้ใครนะ! ได้สำเร็จ เอาใจช่วยหัวเว่ยครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง huawei harmony os android os
Mobile Guru
เขียนโดย วินระพี นาคสวัสดิ์ Mobile Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)