x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

เครื่องค้าง เครื่องหน่วง บนสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ (Android) แก้ได้ไม่ยาก

icon 7 พ.ย. 66 icon 69,410
เครื่องค้าง เครื่องหน่วง บนสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ (Android) แก้ได้ไม่ยาก
เป็นคำถามที่หลายคนที่ใช้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ (Android) มักจะถามอยู่บ่อยๆ ว่า เครื่องค้าง เครื่องหน่วง หรือเครื่องช้า ทำอย่างไรดี แก้ปัญหายังไง หรือต้องส่งศูนย์ซ่อมอย่างเดียวเลย เสียเงินเท่าไร ทำไมถึงเป็น เพราะฉะนั้นเพื่อไขข้อข้องใจไปพร้อมกับแนะนำแนวทางแก้ปัญหา ผมมีเทคนิคเกือบจะลับมาบอกและแนะนำผ่านบทความนี้ไปพร้อมกันครับ

เข้าใจก่อนว่าทำไมถึงเกิดปัญหานี้

เชื่อว่าผู้ใช้งานเกือบ 70% ที่ใช้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์มักจะมองว่า Android OS เป็นระบบปฏิบัติการเรื่องเยอะ ไม่เสถียร แย่กว่า iOS ไปต่างๆ นานา แต่แท้จริงแล้วถ้าเข้าใจในความเป็นไปของระบบปฏิบัติการหุ่นเขียวตัวนี้ จะรู้ว่า Android OS นั้นเป็นระบบปฏิบัติการที่น่าคบหาด้วยอีก OS บนโลกใบนี้
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า Android OS เป็นระบบปฏิบัติการรูปแบบ Multi-Tasking ที่จะมีการทำงานของแอปพลิเคชั่นพร้อมกันหลายๆ แอปฯ ในเวลาเดียวกันได้ นั้นหมายความว่าถ้าเรากดออกจากแอปพลิเคชั่นไปเฉยๆ โดยที่ไม่ได้ทำการเคลียแอปฯ นั้นทิ้งไป ตัวแอปฯ ก็จะยังคงทำงานอยู่ และจะทำงานต่อไปเรื่อยๆ พอนานเข้าหรือมีการเปิดหลายๆ แอปฯ ก็จะเกิดอาการแย่งพื้นทีหน่วยความจำชั่วคราว (RAM) กัน และนั้นก็คือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการเครื่องช้าหรือหน่วง ซึ่งจะแตกต่างจาก iOS ที่ถ้าหากเรากดปุ่ม Home ออกจากตัวแอปไป แอปฯ นั้นก็จะถูก Freeze ไว้ทันที

เรื่องหน่วยความจำภายใน ก็มีส่วน

Android OS ก็คล้ายกับการใช้งาน Windows บน PC ซึ่งเมื่อพื้นที่หน่วยความจำ (ROM) ใกล้เต็ม ตัวระบบปฏิบัติก็จะเริ่มมีอาการช้าลงหรือหน่วงแบบที่หลายคนเจอด้วยเช่นกัน เนื่องจากตัว OS ไม่มีพื้นที่เหลือมากพอที่จะทำงานนั้นเอง ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่อยากแนะนำคือ ถ้าคุณเป็นคนใช้แอปพลิเคชั่นเยอะหลายตัว แนะนำว่าตอนเลือกซื้อสมาร์ทโฟนให้เลือกมือถือที่มีสเปก ROM ขั้นต่ำ 32GB หรือถ้าให้ดีไปเลย 64GB เป็นอย่างน้อยจะได้ไม่เกิดปัญหานี้
แต่ถ้าสมาร์ทโฟนรุ่นที่ต้องการไม่มี ROM มากขนาดนั้น ก็คงต้องมั่นพยายามลบแอปพลิเคชั่นที่ไม่ใช่งานออกให้มากที่สุด ส่วนถ้าใครเน้นถ่ายรูป ถ่ายวีดีโอเท่านั้น ก็แนะนำให้หา MicroSD Card ความจุสูงสุดเท่าที่ตัวเครื่องรองรับมาใช้งานหรือถ้าไม่อยากเสียเงินก็แนะนำให้ใช้แอปฯ จำพวก Photo cloud อย่าง Google Photo ที่สามารถฝากรูปขึ้นระบบคลาว์แบบรีลไทม์ได้ตลอดและไม่เสียค่าบริการด้วย

จัดการทรัพยากรบนตัวเครื่องบ่อยๆ

จริงๆ แล้วนับตั้งแต่ Android OS 5.0 ขึ้นมา ตัวระบบปฏิบัติการ Android ก็มีการพัฒนาเรื่องของการจัดสรรทรัพยาการบนตัวเครื่องได้ดีขึ้นมากจากเดิมแบบหลายเท่าตัว แต่ด้วยพื้นฐานของ Android OS ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก JAVA ทำให้มักจะมีไฟล์ขยะหรือไฟล์ที่เกิดจากการจำลองของตัวระบบขึ้นมาไว้ในตัวเครื่องเยอะ ครั้นจะรอให้ทำงานออโต้เองก็อาจจะไม่ทันใจนัก ดังนั้นถ้าสมาร์ทโฟนของคุณมีโหมดจัดการทรัพยากรบนตัวเครื่อง (ปัจจุบันมีกันเกือบทุกรุ่น) ก็มั่นเข้าไปใช้งานดูก็ไม่ผิดอะไรนะครับ 

แอปฯ เด้ง แอปฯ ค้าง แก้ไงดี

เป็นอีกปัญหารำคาญใจของผู้ใช้งาน Android OS กับไลน์ไม่แจ้งเตือน ไลน์เด้ง เฟสบุ๊คพัง ต่างๆ นานา ซึ่งสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นบอกเลยว่า เราไม่สามารถเหมารวมว่าสมาร์ทโฟน Android OS จะเป็นกันทุกรุ่น เพราะสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากตัว ROM Android OS ที่แต่ละแบรนด์นำไปพัฒนาอาจเกิดข้อผิดพลาดกับตัวแอปพลิเคชั่นนั้นๆ ต่างหากที่เป็นปัจจัยสำคัญ
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหานั้น ก็ไล่ตั้งแต่ลบแอปฯ นั้นทิ้งไป แล้วลงใหม่ > ถ้ายังไม่ได้ก็ลองอัพเดทแอปฯ ว่ามีอัพเดทใหม่หรือไม่ > ถ้ายังไม่ได้อีกก็ลองเข้าไปเช็คอัพเดทตัว OS ดูว่ามีอัพเดทใหม่หรือไม่? > สุดท้ายคือการเข้าไปเคลีย data และ เคลีย Cache ในเมนูการตั้งค่า > แอปพลิเคชัน > ชื่อแอปฯ นั้น > Clear data หรือ Clear Cache (**ข้อมูลการใช้งานในแอปพลิเคชั่นอาจหาย**) สุดท้ายุถ้ายังไม่ได้ก็คงต้อง Factory reset ดูกันสักรอบครับ ซึ่งส่วนมากมาถึงตรงนี้ก็จะหายกัน

ถ้าไม่ใช่ Android ก็เทียบกันไม่ได้

ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า หลายคนชอบนำ Android OS ไปเทียบกับ OS อื่นๆ จากปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ iOS ซึ่งอยากให้เข้าใจก่อนเลือกซื้อว่า ทั้งสอง OS นั้นมีพื้นฐานการสร้างและทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นรูปแบบการประมวลผลหรือทำงานของทั้งสอง OS ก็ต่างกันไปด้วย รวมไปถึงข้อดีข้อเสียด้วยเช่นกัน ดังนั้นแนะนำว่าลองจับลองเล่นก่อนเลือกซื้อ น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราได้สมาร์ทโฟนทีถูกใจที่สุดแน่นอน และเปิดใจรับในความเป็นไปของตัว OS เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้งานได้อย่างมีความสุขแน่นอนครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง smartphone android
Mobile Guru
เขียนโดย วินระพี นาคสวัสดิ์ Mobile Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)