x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

มารู้จักเทคโนโลยีการเชื่อมต่อในสมาร์ทโฟนกันดีกว่า

icon 6 ส.ค. 58 icon 9,438
มารู้จักเทคโนโลยีการเชื่อมต่อในสมาร์ทโฟนกันดีกว่า

มารู้จักเทคโนโลยีการเชื่อมต่อในสมาร์ทโฟนกันดีกว่า

เทคโนโลยีในสมัยนี้เริ่มก้าวหน้ามากขึ้นทุกวันๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการสื่อสารต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต ที่กลายมาเป็นปัจจัยหลักของยุคสมัยนี้ไปแล้ว และวันนี้ทีมงาน Checkraka.com จะพาทุกคนไปรู้จักกับรูปแบบการเชื่อมต่อต่างๆ ที่อยู่ในสมาร์ทโฟน ซึ่งเทคโนโลยีบางอย่างหลายคนอาจจะพอได้ยินหรือรู้จักกันมาบ้างแล้ว แต่ถ้าถามว่ามันคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร? หลายคนคงส่ายหัวกันเป็นแถว งั้นเรารีบไปทำความรู้จักกันดีกว่าค่ะ

NFC (Near Field Communication)

NFC หรือ Near Field Communication คือ เทคโนโลยีการเชื่อมต่อการสื่อสารไร้สาย ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย Sony และ NXP โดยใช้คลื่นวิทยุความถี่ 13.56 MHz บนมาตรฐาน ISO14443 เพื่อให้อุปกรณ์จำพวกสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์พกพาอื่นๆ สามารถสื่อสารระหว่างกันง่ายขึ้น อย่างเช่นสมัยก่อนหากเราต้องการจะส่งไฟล์ภาพหรือเพลงกับสมาร์ทโฟนด้วยกัน เราอาจจะต้องโอนผ่านสาย USB ดีขึ้นมาหน่อยก็จะเป็นส่งผ่านบลูทูธ ซึ่งจะส่งแต่ละทีนั้นต้องทำการจับคู่ กดยืนยันการจับคู่แถมใช้เวลาในการส่งค่อนข้างนานยิ่งถ้าเป็นไฟล์ใหญ่ๆ แต่เมื่อมี NFC แล้วหากต้องการส่งไฟล์ภาพ เพียงแค่เรานำตัวเครื่องสมาร์ทโฟนที่เราต้องการจะส่งให้มาแตะกับเครื่องเราเท่านั้นใช้เวลาไม่นานก็เป็นอันเสร็จ นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานในด้านอื่นๆ ได้เช่น 
  • ควบคุมการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นที่มีคุณสมบัติรองรับ NFC เช่น ลำโพง, แท่นชาร์จ, เครื่องปริ้นท์ ฯลฯ ช่วยให้สะดวกรวดเร็วในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ และส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น
  • ใช้จ่ายแทนบัตรเครดิต, เงินสด หรือเอทีเอ็ม โดยชำระเงินผ่านการแตะสมาร์ทโฟนบนอุปกรณ์ที่รองรับ
  • ตรวจสอบข้อมูลสินค้า เพียงแตะสมาร์ทโฟนลงบนแท็ก NFC ของสินค้าแทน ซึ่งสะดวกกว่าการตั้งกล้องให้นิ่งในการสแกน Code 

MHL (Mobile High-Definition Link)

MHL หรือ Mobile High-Definition Link คือ มาตรฐานใหม่ของการเชื่อมต่อสมาร์โฟนเข้ากับหน้าจอ LCD / LED TV ที่เป็นแบบ HDTV โดยใช้สาย MHL ในการเชื่อมต่อ ซึ่ง MHL สามารถส่งสัญญาณได้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน เช่นเดียวกับ HDMI แต่จะต่างกันตรงที่ MHL สามารถชาร์จไฟให้กับแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนได้ในตัว จึงไม่ต้องกังวลว่าแบตสมาร์ทโฟนของคุณจะหมดเมื่อไหร่ และเราสามารถควบคุมการทำงานต่างๆ ผ่านทางรีโมทของจอภาพ HDTV ได้โดยตรง ซึ่งข้อดีของการเชื่อมต่อแบบ MHL คือการใช้สายแบบต่อตรง ไม่ต้องใช้สายแปลง ทำให้สามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์พกพา โดยไม่จำเป็นต้องใช้ไฟเพิ่มเติม แต่สมาร์ทโฟน และ TV ของท่านต้องรองรับ MHL ทั้งคู่

BLE (Bluetooth Low Energy)

BLE หรือ Bluetooth Low Energy คือ ลักษณะของบลูทูธ 4.0 จะแตกต่างจากบลูทูธเวอร์ชั่นก่อนๆ คือการใช้งานสำหรับอุปกรณ์รุ่นใหม่นั้นจะใช้พลังงานต่ำในระยะทางใกล้ๆ (ไม่เกิน 50 - 160 เมตร) ถือว่าเป็นลักษณะที่โดดเด่นมากของบลูทูธเวอร์ชั่นนี้ ซึ่งมีไว้สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จำพวก Wearable Device หรือ Smart Device ที่ใช้พลังงานน้อย เช่น Android Wear, Smartband และอื่นๆ โดยอุปกรณ์พวกนี้มีขนาดเล็กเน้นพกพาติดตัวได้ ทำให้แบตเตอรีมีขนาดเล็ก และต้องใช้ BLE เพื่อให้ประหยัดพลังงานมากที่สุดในเวลาที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์แอนดรอยด์ ยกตัวอย่างที่มีการใช้เทคโนโลยีนี้ เช่น การแสดงแสดงหมายเลขผู้โทรศัพท์, อุปกรณ์ที่นักกีฬาสวมใส่เพื่อการตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย และ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น

Wifi Direct

Wifi Direct คือ เทคโนโลยี Wireless ใหม่ที่จะช่วยให้คุณสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้โดยตรง ผ่านสัญญาณ Wireless ไม่ต้องใช้ Wireless access point หรือ Wireless router เข้าช่วย ซึ่งทำให้การแชร์ไฟล์ หรือซิงค์อุปกรณ์ง่ายขึ้น จุดสำคัญของ Wifi Direct คือความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุด 54 Mbps ทำให้ผู้ใช้สามารถส่งไฟล์ภาพความละเอียดสูง หรือไฟล์วีดีโอแบบ HD จากสมาร์ทโฟนไปยังเครื่องของเพื่อนได้อย่างสบาย และ Wifi Direct ยังมีรัศมีครอบคลุมกว้างกว่าและมีระบบรักษาความปลอดภัยโดยการเข้ารหัส WPA2 (Wi-Fi Protected Access 2) และสามารถจับคู่ได้มากกว่าหนึ่งอุปกรณ์ ข้อดีของเจ้า Wifi Direct คือ หากคุณต้องการส่งไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่นั้นใช้เวลาแค่เพียงแปปเดียวและเร็วกว่าบลูทูธ สามารถประหยัดเวลาในการส่งไฟล์ใหญ่ๆ ได้เยอะเลยทีเดียว 

DLNA (Digital Living Network Alliance)

DLNA หรือ Digital Living Network Alliance แปลแบบง่ายๆ ก็คือ "เครือข่ายระบบดิจิตอลภายในที่พักอาศัย" โดยการใช้งานนั้นอุปกรณ์จะต้องมีเครื่องหมาย DLNA ติดอยู่เพื่อระบุว่าสามารถใช้งานเทคโนโลยีนี้ได้ โดยเทคโนโลยี DLNA  นี้ เกิดขึ้นเมื่อปี 2003 ก่อตั้งโดยค่าย SONY นั่นเอง สมัยนี้เทคโนโลยี DLNA นั้นมักอยู่ในทีวีสมัยใหม่และอุปกรณ์อื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน กล้องดิจิตอล กล้องวีดีโอฯ โดย DLNA นี้คือสามารถส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวีสำหรับการนำเสนอได้ง่ายๆ ผ่านทาง Wi-Fi ได้เลย ไม่ต้องต่อสายพวก VGA ติดกับคอม หรือสาย Analog เชื่อมกับตัวเครื่องเล่นให้วุ่นวาย ข้อดีอีกอย่างคือ DLNA จะช่วยให้อุปกรณ์ต่างชนิดกัน ข้ามค่ายกัน สามารถส่งข้อมูลมัลติมีเดีย ภาพ วิดีโอ เสียง เกม ข้ามกันไปมาได้ โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นอุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกันเท่านั้น

ANT+

ANT+ เป็นมาตรฐานของการสื่อสารไร้สายหรือ Wireless อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งความสามารถใกล้เคียงกับ Bluetooth Smart 4.0 ที่เชื่อมต่อร่วมกับสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์ Monitoring หรืออุปกรณ์พกพาอื่นๆ เพื่อรับหรือส่งข้อมูลระหว่างกันได้นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมการเปิด ปิด เพลง หรือเพิ่ม ลด เสียง ซึ่งผู้ผลิตอุปกรณ์จะต้องติดตั้งโปรไฟล์ที่รองรับฟังก์ชั่นดังกล่าวลงไป ซึ่งก็คล้ายกับโปรไฟล์ของ Bluetooth ที่จะมีโปรไฟล์ AVRCP ไว้รองรับการควบคุมการเล่นเพลงหรือวิดีโอผ่านสัญญาณบลูทูธนั่นเอง สำหรับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตที่รองรับ ANT+ มาในตัว ส่วนใหญ่จะเป็นสมาร์ทโฟน Android ระดับกลางขึ้นไปอย่าง Samsung Galaxy S6, Galaxy E5, E7, Galaxy Tab S, Galaxy Note 4, Sony Xperia Z1, Z2 เป็นต้น ซึ่งข้อดีของ ANT+ คือมีประสิทธิภาพการใช้งานสูงถึงแม้ว่า BLE และ ANT+ จะออกแบบมาให้ใช้พลังงานต่ำทั้งคู่ แต่หากเทียบกันจริงๆแล้ว ระบบ ANT+ นั้นมีประสิทธิภาพในด้านนี้มากกว่า อุปกรณ์ที่ใช้ระบบ ANT+ สามารถอยู่ได้เป็นปี ด้วยการใช้ถ่านนาฬิกาเพียงก้อนเดียว
เป็นยังไงกันบ้างคะหลังจากที่ได้อ่านบทความของเราจบแล้วพอจะเข้าใจกันบ้างแล้วใช่มั้ยค่ะ ว่าเทคโนโลยีการเชื่อมต่อในสมาร์ทโฟนแบบนี้คืออะไร มีที่มาที่ไปยังไง ทาง Checkraka.com หวังว่า บทความนี้คงจะได้ให้ความรู้และประโยชน์แก่ผู้ที่อ่านไม่มากก็น้อย และครั้งต่อไปทางเราจะนำบทความอะไรมาเสนอต้องติดตามชมกันนะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Mobile Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Mobile Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)