x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

Shopping Online มาแรง! ซื้อของออนไลน์ยังไงให้ปลอดภัย?

icon 16 ส.ค. 61 icon 12,843
Shopping Online มาแรง! ซื้อของออนไลน์ยังไงให้ปลอดภัย?

Shopping Online มาแรง! ซื้อของออนไลน์ยังไงให้ปลอดภัย? 

เดี๋ยวนี้หากอยากได้อะไรเราก็แค่เปิดเว็บเพื่อเช็คราคา หารายละเอียดสินค้าที่เราสนใจ แถมเน็ตสมัยนี้ก็แรงขึ้นๆ สวนทางกับการจราจรที่มันช่างแสนจะติดขัด ขาช้อปทั้งหลายก็เลยหันไปเทใจให้การ Shopping Online ทางเลือกที่ดี และแสนจะสะดวก แต่เดี๋ยวก่อน! ร้านค้าออนไลน์มีให้เลือกซื้อเยอะแยะ แล้วเว็บไหนล่ะที่เราจะช้อปกันได้อย่างปลอดภัย ไร้กังวล ได้ของดีมีคุณภาพ เจ๋งเหมือนภาพถ่ายที่โชว์หราอยู่ในเว็บ ไม่ยากๆ แค่คุณทำตามขั้นตอน สังเกต และระวังตัวตามที่เราแนะนำสักหน่อย รับรองช้อปออนไลน์ได้ปลอดภัยและคุ้มค่าแน่นอนค่ะ

ขั้นตอนแรก:  "เลือกเว็บไซต์" ให้ดี

  • เว็บไซต์ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์ ที่ได้รับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพราะการจดทะเบียนคือการยืนยันตัวตน และหลักแหล่งของผู้ขายตามกฎหมาย ถือเป็นการแสดงความจริงใจของเจ้าของร้านที่ตั้งใจทำธุรกิจอย่างซื่อสัตย์ โดยร้านที่จดทะเบียนพาณิชย์จะมีสัญลักษณ์  หรือสัญลักษณ์  แสดงอยู่ (สัญลักษณ์ DBD verified ได้ต่อเมื่อมาแปะสัญลักษณ์ DBD registered บนเว็บนานเกิน 6 เดือน)

  • มีเว็บไซต์ E-commerce ที่ดูน่าเชื่อถือ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก หรือจะให้ดีมี Background อยู่ในวงการธุรกิจมานานก็จะยิ่งช่วยการันตีความมั่นใจ เพื่อนๆ ควรหลีกเลี่ยงการเสิร์ชหาชื่อเว็บไซต์จาก Search Engine เพราะบางทีอาจเสิร์ชเจอเว็บไซต์ "phishing" ที่ใช้เทคนิคการหลอกลวงโดยสร้างหน้าเว็บไซต์ปลอมตาม copy เว็บดังที่คนใช้บริการเยอะๆ เพื่อหวังเอาข้อมูลอย่างชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน ถ้าเราเผลอใส่รายละเอียดลงไป หากคลิกลิ้งค์ที่เสิร์ชเจอโดยไม่ระวัง จุดสังเกตง่ายๆ คือให้ดูทีชื่อ URL เว็บพวกนี้จะมีคำสะกดผิด หรือภาพที่แสดงผลมักจะไม่ชัดและเบลอ

  • เว็บไซต์ต้องมีมาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล และมีระบบรักษาความปลอดภัยในการส่งข้อมูล โดยปัจจุบันเว็บไซต์ที่มีสัญลักษณ์แม่กุญแจสีเขียว ที่ Address Bar หน้าชื่อ URL ที่แสดงผลเป็น HTTPS ซึ่งถือว่ามีความ Secure สูงและได้รับมาตรฐานความปลอดภัยกว่าเว็บไซต์ที่แสดงผลแค่ HTTP ทั่วไป ตัวอย่างเช่น https://www.google.co.th

  • เว็บไซต์ที่มีหน้าร้านเปิดขายของจริงจะยิ่งดี เพราะถ้าเราอยากเลือกไปรับสินค้าเอง หรือต้องการเปลี่ยนคืนสินค้าเมื่อของมีปัญหาเราก็สามารถเข้าไปที่ร้านได้โดยตรง ไม่ต้องรอการจัดส่งทางไปรษณีย์อย่างเดียว หรือถ้าเราอยากเห็นสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อเราก็สามารถเดินทางไปดูสินค้าที่หน้าร้านเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อได้ ยกตัวอย่างเว็บไซต์ central ถือว่าเป็นเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ที่มีหน้าร้านให้เราเลือกไปรับของได้เองทั้งที่เซ็นทรัล, เซน หรือ Top DAILY สาขาต่างๆ ที่เราสะดวก

  • ตรวจสอบว่าร้านค้ามีตัวตนจริง โดยดูจากที่ตั้งอย่างที่อยู่ร้านค้า สถานที่ตั้งของออฟฟิศ และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ หากลองเช็คแล้วพบว่าไม่ได้ตั้งอยู่ในสถานที่แปลกๆ เบอร์โทรสามารถติดต่อได้ก็ถือว่าไว้ใจได้ในระดับนึงค่ะ 


ตัวอย่างเว็บไซต์ "phishing" ที่ใช้เทคนิคการหลอกลวงโดยสร้าง URL และหน้าเว็บไซต์ปลอมให้เหมือนเว็บไซต์ชื่อดัง
เพื่อหวังขโมยข้อมูล Login name กับ Password จากผู้ใช้บริการ ระบาดจนเป็นข่าวช่วง 2015 อยู่พักนึงค่ะ
 (ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ www.scb.co.th)
ขั้นตอนสอง:  "กรอกข้อมูล" สมัครสมาชิกเว็บไซต์ให้ระวัง
  • ตั้ง password ให้ยากต่อการคาดเดา และเปลี่ยนรหัสผ่านทุก 3 เดือน เมื่อต้องสมัครเป็นสมาชิกด้วยการ sign in ก่อนเลือกซื้อสินค้า ให้พยายามตั้ง password ที่เดาได้ยาก โดยส่วนใหญ่ Password ควรมีความยาว 8 - 14 ตัว และมีสวนผสมของอักขระทั้ง 4 อย่างตามนี้คือ ตัวอักษรเล็ก เช่น a b c, ตัวอักษรใหญเช่น A B C, ตัวเลข เชน 1 2 3 และอักขระพิเศษ เชน !# $ % ^ & * ( ) _ +

  • sign up โดยใส่เฉพาะข้อมูลที่จำเป็น ไม่จำเป็นต้องให้รายละเอียดส่วนตัวที่เยอะเกินไปเวลาสมัครสมาชิก เช่น ชื่อญาติสนิทหรือพี่น้อง, วันเกิด, เลขประกันสังคม หรือวุฒิการศึกษา เพราะถ้าเราใส่ข้อมูลส่วนตัวให้เค้าทราบเยอะเกินไป แล้วเว็บรักษาข้อมูลได้ไม่ดีพอ เราอาจถูก spam ด้วยการส่งข่าวสารที่เราไม่สนใจตามมารบกวนทีหลังก็ได้

ขั้นตอนสาม:  "รอบคอบนิดนึง" ก่อนตัดสินใจซื้อ
  • ทำความเข้าใจเรื่องการจ่ายเงินว่ามีช่องทางแบบไหนบ้าง เช่น จ่ายผ่านบัตรเครดิตออนไลน์, โอนเงิน, หรือเก็บเงินปลายทาง ทำความเข้าใจกับเรื่องระยะเวลาการรับประกัน สามารถคืนสินค้าได้ถ้าหากมีปัญหา และใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่าจัดส่งสินค้าคืน นอกจากนี้ก็ต้องทำความเข้าใจเรื่องระยะเวลาการส่งของ ว่าใช้ระยะเวลาจัดส่งกี่วัน ก่อนจัดส่งมีการนัดหมายยังไงเพื่อที่เราจะได้ไม่พลาดการรับสินค้า

  • เลือกช้อปจากเว็บไซต์ที่มีช่องทางการจัดส่งที่หลากหลาย ทั้งส่งถึงบ้านด้วยพนักงาน และทางไปรษณีย์ หรือสามารถเดินทางไปรับสินค้าได้ด้วยตัวเองสำหรับร้านที่มีหน้าร้านจริง เช่น www.central.co.th สามารถเลือกรับของที่สั่งซื้อ, เปลี่ยนคืนสินค้าหรือชมสินค้าก่อนซื้อจริงได้ที่ห้างเซ็นทรัล, เซ็น หรือ Top Dairy สาขาใกล้บ้าน

  • สินค้าต้องมีมาตรฐานการรับรองที่ถูกต้อง เช่น เครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิว หรืออาหารเสริมควบคุมน้ำหนัก ต้องพิจารณาเลือกซื้อเฉพาะสินค้าที่ผ่านมาตรฐานการรับรองมี อย. ที่ตรวจสอบได้จริงเท่านั้น

  • ศึกษารายละเอียดสินค้า หรือดูรีวิวสินค้าจากเว็บไซต์หรือผู้ที่เคยใช้งานจริงประกอบการตัดสินใจ

  • เลือกช้อปออนไลน์กับเว็บไซต์ที่มีโปรโมชั่นตอบแทนที่หลากหลาย เช่น สะสมแต้ม หรือมีโปรโมชั่นส่วนลดเมื่อช้อปผ่านบัตรเครดิต เพื่อเพิ่มความคุ้มค่า

  • ช้อปปิ้งออนไลน์ด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนตัว ห้ามใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ ที่สำคัญต้องลงโปรแกรม Anti-Virus, Anti-Spam, Firewall และหมั่นอัปเดตโปรแกรมให้เป็นรุ่นปัจจุบันเสมอ

  • ช้อปผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตก็ต้องระวัง ควรหลีกเลี่ยงการนำเครื่องที่ jailbreak มาใช้ซื้อของออนไลน์ และเวลาช้อปปิ้งก็ควรปิดช่องทางการเชื่อมต่อจากอุปกรณ์อื่นๆ อย่าง Bluetooth จะให้ดีควรเปิดเฉพาะเวลาใช้ และปิดเมื่อเลิกใช้งานเสมอ

  • หลีกเลี่ยงการใช้ WiFi ในที่สาธารณะเวลาช้อปออนไลน์ หรือทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต ห้ามใช้ WiFi ฟรีที่ไม่รู้ที่มาเป็นอันขาด โดยเฉพาะ WiFi ฟรีตามห้างอาจไม่ปลอดภัยจาก Hacker ที่ตั้งใจโจรกรรมข้อมูลจากเรา


ตัวอย่างโปรโมชั่นเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ของ www.central.co.th ที่มีโปรโมชั่นหลากหลาย
อย่างเช่น รับส่วนลดเพิ่มเมื่อจ่ายผ่านบัตรเครดิต หรือรับส่วนลดราคาพิเศษในการช้อปปิ้งออนไลน์
ขั้นตอนสี่:  "กด Click ตัดสินใจซื้อ" ให้ถี่ถ้วนถูกต้อง
  • ถ้าเลือกได้ให้ชำระสินค้าแบบเก็บเงินปลายทาง เพราะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุด รองลงมาคือจ่ายออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต กับเว็บไซต์ที่ได้รับรองมาตรฐานความปลอดภัย SSL (Secure Socket Layer) ที่ออกหรืออนุมัติโดย CA (Certificate Authority) เพื่อยืนยันว่าการรับส่งข้อมูลระหว่างเว็บไซต์นี้และผู้ใช้งานจะเป็นความลับ ไม่สามารถดูหรือถอดรหัสโดยพวก Hacker ได้ (วิธีสังเกตเว็บไซต์ที่ได้รับรองมาตรฐานความปลอดภัย SSL ที่ Address Bar จะแสดงผลเป็น HTTPS (https://) นำหน้าชื่อ URL ของเว็บไซต์ ต่างจากเว็บทั่วไปที่แสดงผลเป็น HTTP (http://)

  • ตรวจสอบข้อมูลสินค้าและค่าใช้จ่ายทั้งหมดอีกครั้ง เมื่อตกลงทำการซื้อสินค้าเรียบร้อย ต้องตรวจสอบข้อมูลสินค้า ราคาสินค้า ค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง และกำหนดวันรับสินค้าให้เข้าใจ

  • จัดเก็บข้อมูลยืนยันการสั่งซื้อสินค้า อย่าง SMS, E-mail หรือเอกสารยืนยันไว้เป็นหลักฐานในการรับสินค้า และใช้ประโยชน์กรณีเกี่ยวกับการรับประกันสินค้า


ตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ที่ได้รับรองมาตรฐานความปลอดภัย SSL (Secure Socket Layer) ยืนยันว่าการรับส่งข้อมูล
การชำระเงินผ่านบัตรเครดิตกับเว็บไซต์นี้ว่าจะเป็นความลับและปลอดภัยจากการถอดรหัสโดยพวก Hacker 
ขั้นตอนสุดท้าย:  เข้าใจ "ค่าใช้จ่าย" และ "ระยะเวลา" การจัดส่ง 
  • ค่าจัดส่งต้องไม่แพงหรือฟรี เงื่อนไขการจ่ายค่าจัดส่งไม่ควรวุ่นวาย เช่น จัดส่งฟรีเมื่อซื้อสินค้าครบ 499 บาท ถ้าซื้อไม่ถึงคิดค่าบริการจัดส่ง 50 บาท เป็นต้น

  • ระยะเวลาจัดส่งต้องไวและตรวจสอบได้ ในช่วงระหว่างการรอรับสินค้าส่วนใหญ่หากผู้สั่งซื้ออยู่ต่างจังหวัดที่ไกลอาจต้องใช้ระยะเวลาในการส่งที่มากกว่า 1 วัน เว็บไซต์ช้อปออนไลน์ที่ดีต้องมีระบบรายงานเพื่อตรวจเช็คระบบการจัดส่ง ส่วนลูกค้าที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียงส่วนใหญ่จะใช้เวลาจัดส่งสินค้า 1 วัน ผู้ให้บริการก็ต้องจัดส่งสินค้าได้ตามที่นัดหมายด้วยความรวดเร็ว

  • มีมาตรฐานการจัดส่งที่ดี ต้องเลือกใช้แพคเกจที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับตัวสินค้า และจัดส่งแบบมีคุณภาพ ไม่ใช่จัดส่งแบบไม่ใส่ใจจนทำให้แพคเกจเกิดความเสียหาย ซึ่งนอกจากจะไม่เป็นที่ประทับใจต่อตัวผู้สั่งซื้อแล้ว ยังอาจส่งผลทำให้สินค้าภายในแพคเกจเสียหายไปด้วย
     
การเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์ถือเป็นเรื่องง่ายและสะดวกมากในยุคนี้ แต่อย่าลืมว่าภัยจากมิจฉาชีพที่มีอยู่ก็เป็นสิ่งที่เราต้องระวัง เพื่อนๆ ต้องละเอียดรอบคอบดูแลตัวเองและอย่าลืมทำตามขั้นตอนที่ CheckRaKa.com แนะนำด้วยนะคะ จะได้ช้อปปิ้งกันได้สนุกปลอดภัยไร้กังวลค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง shopping shopping online
Mobile Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Mobile Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)