x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

แสนสิริ ผนึกกำลัง กสศ. และ สมัชชาการศึกษาราชบุรี เดินหน้าโครงการ “Zero Dropout” ปีที่ 2 รุกพันธกิจ “1 โรงเรียน 3 รูปแบบ ”

ข่าว icon 10 ส.ค. 66 icon 1,128
• แสนสิริ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และสมัชชาการศึกษาราชบุรี รุกแผนโร้ดแมพ ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ’ ภายใต้ โครงการ 'Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน' ปีที่ 2 หวังเป็นฟันเฟืองช่วยปฏิรูปโครงสร้างระบบการศึกษาของประเทศ
• ครั้งแรก! ของจังหวัดราชบุรี ระบบการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น ตอบโจทย์โอกาสในการเข้าถึงการศึกษามากที่สุด ผ่านรูปแบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมให้กับเด็กไม่ว่าจะอยู่ในเงื่อนไขชีวิตแบบใด เรียนที่โรงเรียน-เรียนออนไลน์-เรียนตามอัธยาศัย
• จากข้อมูลสถิติของ กสศ. หลังจากเปิดตัวโครงการเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา ได้ช่วยเหลือเด็กเสี่ยงหลุดและเด็กหลุดจากระบบได้มีทางเลือกการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น ตอบโจทย์ชีวิตได้แล้วจำนวน 9,311 คน จากทั้งหมด 10 อำเภอในจังหวัดราชบุรี
• ตอกย้ำความมุ่งมั่นของแสนสิริ ด้านการให้ความสำคัญกับเด็กอย่างยั่งยืนกว่า 10 ปี และส่งเสริมความเท่าเทียมในสังคม
• เดินหน้าขับเคลื่อนราชบุรี ให้เป็นจังหวัดต้นแบบ ที่จะสร้างกลไกการเปลี่ยนแปลงการศึกษาระดับประเทศ ให้เด็กหลุดจากการศึกษาเป็น ‘ศูนย์’ ได้ในปี 2567 ภายใต้การดำเนินงานของ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และสมัชชาการศึกษาราชบุรี ภายใต้เงินสนุบสนุน 100 ล้านบาท
นายอภิชาติ จูตระกูล ประธานกรรมการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “แสนสิริ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจภายใต้เจตนารมณ์ในการช่วยเหลือสังคมอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความเสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ผลักดันความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคมทุกมิติ รวมถึงสิทธิทางการศึกษาของเด็กที่จะนำพาประเทศไทยให้เดินไปข้างหน้าอย่างมีคุณภาพ จากโครงสร้างการศึกษาไทยที่ยังไม่ได้คำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ และวิกฤตในการใช้ชีวิตของเด็กๆ ในพื้นที่นั้นๆ อย่างเท่าเทียม ในปีนี้ เราจึงเดินหน้า พันธกิจ ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ’ ร่วมกับ กสศ. และสมัชชาการศึกษาจังหวัดราชบุรี เพื่อลงลึกถึงการแก้ปัญหาตั้งแต่จุดเริ่มต้นอย่างมีประสิทธิภาพ ผลักดันสู่การแก้ปัญหาอย่างแท้จริงได้ในระดับประเทศ ผ่านโครงการ ‘Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน’ ทั้งภารกิจในการพัฒนากลไกการปฏิรูประบบเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาถึงระดับโครงสร้าง การพัฒนากลไกการทำงานเชิงพื้นที่ ภารกิจในการสำรวจ ช่วยเหลือ และติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชนในระบบและนอกระบบการศึกษาให้ได้รับโอกาสอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมา เราได้เห็นถึงการดำเนินงานของ กสศ. ที่ต่อเนื่องและมีพัฒนาการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ ให้เด็กทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ภายใต้ทุกเงื่อนไขชีวิตเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม”  
 
ด้านความคืบหน้าพันธกิจโครงการ ‘Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน’ สามารถลดจำนวนเด็กเสี่ยงหลุดออกนอกระบบการศึกษา รวมไปถึงเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาไปแล้วให้สามารถได้รับการศึกษาและพัฒนาให้มีทักษะการทำงานในโลกยุคใหม่ ได้แล้วจำนวน 9,311 คน จากทั้งหมด 10 อำเภอ หลังจากเริ่มต้นโครงการเมื่อปี 2565 โดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) และกสศ. ภายใต้เงินสนับสนุนจากการระดมทุนบริจาคช่วยเหลือเด็ก 100 ล้านบาท ในการดำเนินงาน 3 ปี ในปีที่ผ่านมา ได้ริเริ่มใช้นวัตกรรมกลไกอาสาสมัครอย่าง“3 พลังอาสา จังหวัดราชบุรี” จากการรวมพลัง 3 กลไกท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) อาสาสมัครการศึกษา (อสศ.) เพื่อฟื้นฟูเด็กๆ ทุกมิติ มุ่งดูแลและฟื้นฟูเด็กที่มีความเสี่ยงหลุดออกนอกระบบการศึกษาและทำงานครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่ ด้านสุขภาพกาย-ใจ การคุ้มครองทางสังคม และโอกาสทางการศึกษา โดยการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน 
 
 
จากการลงพื้นที่สำรวจในปีนี้ เพื่อช่วยเหลือเด็กนอกระบบทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ เด็กเสี่ยงหลุดออกนอกระบบการศึกษา, เด็กหลุดออกจากระบบ, เด็กกลุ่มเปราะบาง และเด็กในกระบวนการยุติธรรม ทำให้พบว่า ไม่ใช่แค่ปัจจัยด้านทุนทรัพย์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่ทำให้เด็กเหล่านี้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง แต่ยังสามารถพบอีกหลากหลายปัจจัย เช่น เด็กกลุ่มเปราะบางที่ปัญหาด้านกายภาพไม่พร้อมจะเรียนรวมกับเด็กคนอื่นๆ (กลุ่มออทิสติกและกลุ่มเด็กที่พัฒนาการช้า) หรือเด็กที่ไม่กล้าไปโรงเรียนหรือไม่สามารถไปโรงเรียนได้ (เด็กที่ถูกรังแก, เด็กที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร, เด็กที่ต้องช่วยครอบครัวทำงาน) 
 
 
ดร.ไกรยส  ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า “กสศ. พบว่าระบบการศึกษาที่ไม่เข้ากับเด็ก, ขาดแคลนทางเลือก และไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายได้ เป็นสาเหตุสำคัญของการผลักดันให้เด็กและเยาวชนหลุดออกจากระบบการศึกษาและระบบสังคม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในครัวเรือนยากจน, ด้อยโอกาส, กลุ่มเปราะบางทางสังคม และปัญหาเฉพาะ เช่น เด็กและเยาวชนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม กลุ่มตั้งครรภ์ในวัยเรียน กลุ่มที่มีความต้องการพิเศษ  ดังนั้นควรสนับสนุนให้เกิดหน่วยจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเสมอภาค ตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันรายบุคคล มีความยืดหยุ่นทั้งเวลา รูปแบบ และเงื่อนไขในการเข้ารับบริการทางด้านการศึกษา สามารถเรียนแล้วได้วุฒิ ได้งาน ได้เงิน  ได้ทักษะชีวิต ทักษะการทำงานในโลกยุคใหม่”
 
“กสศ.ทำงานร่วมกับ สมัชชาการศึกษาจังหวัดราชบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ราชบุรี) และภาคีหลายภาคส่วน เร่งศึกษาปัญหาในชุมชน การประเมินต้นทุนการทำงานในพื้นที่ พร้อมกับวิเคราะห์ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบไปด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ราชบุรี, องค์การบริหารส่วนตำบล, กลุ่มโรงเรียน สพป. กลุ่มโรงเรียนเครือข่าย กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษาและขยายโอกาส, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) และเครือข่ายนวัตกรรมการศึกษาทางเลือก เพื่อร่วมพัฒนาหน่วยจัดการเรียนรู้ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่ยืดหยุ่น จนพัฒนาเป็น โครงการต้นแบบ ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ’ ครั้งแรกในจังหวัดราชบุรี โดยเตรียมนำร่องโครงการ 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1 ในเดือนสิงหาคมนี้ และได้มีการประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ซึ่งเป็นเขตพื้นที่นำร่อง เพื่อมุ่งหน้าสู่เป้าหมายสูงสุดในการพลิกการเปลี่ยนแปลงประเทศด้วยการทำให้เด็กในจังหวัดราชบุรีหลุดระบบการศึกษาเป็น “ศูนย์” ภายใน 3 ปีให้เกิดขึ้นได้จริง”
 
 
ดร.บรรเจิด อุ่นมณีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 (สพป.ราชบุรี เขต1) กล่าวว่า “การศึกษานั้นมีความสำคัญสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นอย่างมาก  พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ใน มาตรา 15 กำหนดไว้ว่า โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.การศึกษาในระบบ ที่กำหนดหลักสูตร, ระยะเวลาของการศึกษา และการวัดและประเมินผลเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน 2.การศึกษานอกระบบ ที่มีความยืดหยุ่นของรูปแบบ, วิธีการจัดการศึกษา, ระยะเวลาของการศึกษา และการวัดและประเมินผล โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม 3.การศึกษาตามอัธยาศัย ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อมสื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ ซึ่งทางโรงเรียนมหาราช 7 โรงเรียนอนุบาลสวนผึ้ง โรงเรียนวัดดอนตลุง (ราษฎ์ศรัทธาทาน) ในพื้นที่ สพป.ราชบุรี เขต 1 และ โรงเรียนเนกขำวิทยา สพม.ราชบุรี  จะเป็นโรงเรียนนำร่อง 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ เพื่อจัดการศึกษาให้ตอบโจทย์เด็กที่เสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษาเป็นรายบุคคล และสามารถพัฒนาระบบการศึกษา ให้พื้นที่จังหวัดราชบุรี เป็นพื้นที่ ZERO DROPOUT ในอนาคตต่อไป นอกเหนือจากโครงการต้นแบบ ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ’ แล้ว ทาง กสศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้โครงการ ‘Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน’ ยังไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาโครงการเพื่อส่งเสริมการศึกษาให้เข้าถึงเด็กทุกคน” 
 
 
 
“แสนสิริ มุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนแก้ไขที่หยั่งรากลึกถึงโครงสร้างของสังคมและระบบการบริหารจัดการของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำงบประมาณด้านการศึกษาเคยได้รับการจัดสรรอย่างไม่เท่าเทียมเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา รวมไปถึงการสร้างต้นแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กพื้นที่ห่างไกลอันเป็นที่พึ่งของเด็กเยาวชนกลุ่มเปราะบางที่มีการขาดแคลนโอกาสและทรัพยากรทางการศึกษา ทั้งหมดนี้เพื่อให้ ‘ราชบุรีโมเดล’ เป็นโครงการนำร่องในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเด็กนอกระบบ และสามารถขยายผลต่อในจังหวัดอื่น ๆ เพื่อสร้างจุดเปลี่ยนเพื่อการศึกษาของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน” นายอภิชาติ กล่าวสรุป 
 
ติดตามข่าวสารของโครงการ ‘Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน’ จากแสนสิริได้ทาง Facebook : Sansiri PLC,https://blog.sansiri.com/zero-dropout-main/ และ #SANSIRI #ZeroDropout #YOUAreMadeForLife

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวแสนสิริ 2023 ข่าวอสังหา 2023

ข่าวและอีเว้นท์บ้านล่าสุด




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)