x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เวนคืนที่ดินคืออะไร จะรู้ได้ยังไงว่าที่ดินของเราจะถูกเรียกเวนคืนหรือเปล่า?

icon 24 เม.ย. 67 icon 3,143
เวนคืนที่ดินคืออะไร จะรู้ได้ยังไงว่าที่ดินของเราจะถูกเรียกเวนคืนหรือเปล่า?
"เวนคืนที่ดิน" น่าจะเป็นคำที่หลายเคยได้ยิน หรือเห็นผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง ล่าสุด ครม. ได้มีมติอนุมัติเรียกเวนคืนที่ดินทั้งหมด 33 แปลง เพื่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว - สำโรง ( สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลิก ) แล้วเวนคืนที่ดินคืออะไร มีกี่ขั้นตอน จะรู้ได้อย่างไรว่าพื้นที่ที่เราอยู่อาศัยจะถูกเรียกเวนคืนหรือเปล่า บทความนี้มีคำตอบ

📌 เวนคืนที่ดินคืออะไร 

เวนคืนที่ดิน คือ การที่ภาครัฐ หรือหน่วยงานราชการขอบังคับซื้อที่ดินจากประชาชน เพื่อนำที่ดินนั้น ไปสร้างสาธารณประโยชน์ พัฒนาระบบสาธารณูปโภคของประเทศ  ตัวอย่างเช่น สร้างรถไฟฟ้า, ทางด่วน, ถนน, อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น 

📌 รู้ได้อย่างไรว่าที่ดินของเราถูกเรียกเวนคืนหรือไม่

โดยปกติแล้ว การเรียกเวนคืนที่ดินจะไม่สามารถทำได้ทันที หน่วยงานจะประกาศพื้นที่เวนคืนผ่านข่าวสารช่องทางต่างๆ หากมีชื่ออยู่ในเขตเวนคืน ให้นำเลขโฉนดไปตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประกาศแนวเวนคืน เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าพื้นที่ทั้งหมดของเขตนั้นจะถูกเรียกเวนคืน 
วิธีตรวจสอบพื้นที่แนวเวนคืน 

ทุกคนสามารถเช็กแนวเวนคืนได้จากเว็บไซต์ https://thaivaluer.com/  
เมื่อเข้าไปหน้าเว็บไซต์แล้ว ให้กด "GoogleTerrain" ที่มุมขวาบน
เลือก "ข้อจำกัด/กฎหมาย/คมนาคม" แล้วเลือกแนวเวนคืน

หลังจากนั้นจะมีพื้นที่แนวเวนคืนขึ้นมา ทุกคนสามารถคลิกเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลย 

📌 ขั้นตอนการเวนคืนที่ดินมีอะไรบ้าง

1. ประกาศพื้นที่ที่อยู่ในเขตแนวเวนคืนที่ดิน
2. เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการสำรวจว่า อสังหาริมทรัพย์ใดบ้าง ที่อยู่ในเขตพื้นที่เวนคืนที่ดิน โดยจะมีหนังสือแจ้งเจ้าของอสังหาฯ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน
3. กำหนดราคาเวนคืนของอสังหาริมทรัพย์ และที่ดินในพื้นที่เวนคืน โดยพิจารณาจาก
3.1 ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด
3.2 ราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่
3.3 ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรม
3.4 สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น
3.5 เหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน
3.6 การได้ประโยชน์และเสียประโยชน์จากการเวนคืน
และถ้าต้องเวนคืนเพียงบางส่วนของที่ดิน แล้วส่งผลให้ที่ดินส่วนที่เหลือนั้นราคาตก อันเกิดจากการเวนคืนที่ดิน เจ้าหน้าที่ต้องให้กำหนดเงินค่าทดแทนราคาที่ตกนั้นด้วย
4. ทำการประกาศราคาค่าทดแทนพื้นที่ที่ถูกเวนคืน ซึ่งหากหน่วยงานประกาศแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนใจปรับลดจำนวนเงินค่าทดแทนได้ในภายหลัง
5. ออกหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดิน ให้มาติดต่อทำสัญญาซื้อขาย ถ้ายังไม่ตกลงทำสัญญาจะดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนก่อน
6. ขั้นตอนจ่ายเงินค่าทดแทน ทำสัญญาซื้อขาย และรับเงินทดแทนจากเจ้าหน้าที่ภายใน 120 วัน หลังจากทำสัญญา
7. หากไม่พอใจคำวินิจฉัยเงินทดแทน สามารถอุทธรณ์ขอเพิ่มราคาเงินค่าทดแทน ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ โดยฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี
8. เมื่อศาลตัดสินเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนและเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์และที่ดิน
9. ขนย้ายรื้อถอนอสังหาริมทรัพย์ โดยรัฐ หรือผู้ถูกเวนคืน
10. ตรา พ.ร.บ. เวนคืนฯ เพื่อให้กรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ตกเป็นของรัฐ

✅ วิธีตรวจสอบราคาประเมินที่ดินด้วยตนเอง 
1. กรณีมีโฉนด 
 
เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ https://assessprice.treasury.go.th/

เลือก เลขที่โฉนด หลังจากนั้นกรอกรายละเอียด เพื่อค้นหา
ระบบจะแสดงผลลัพธ์ราคาประเมินต่อตารางวา

 
2.กรณีไม่มีโฉนดที่ดิน 
 
เข้าเว็บไซต์กรมที่ดิน https://landsmaps.dol.go.th/#
เลือกจังหวัด อำเภอ หรือกรอกรายละเอียดที่อยู่ตรง "ค้นหาสถานที่สำคัญ"
ระบบจะแสดงข้อมูลเบื้องต้นมาให้
ทุกคนสามารถรัชมบวิดีโอสรุปข้อมูลเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินได้ที่  https://bit.ly/4aMqk92
 
ขอบคุณข้อมูดีๆ จาก : กรุงเทพธุรกิจ, คมชัดลึก, ธรรมนิติGenie-Property
แท็กที่เกี่ยวข้อง เวนคืนที่ดิน เวนคืนที่ดินคืออะไร
Property Guru
เขียนโดย ภิณญา ฤกษ์ฉวี Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)