x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ตักดินในที่ตัวเองไปขาย ทำไมตำรวจจับ?

icon 10 ม.ค. 67 icon 7,776
ตักดินในที่ตัวเองไปขาย ทำไมตำรวจจับ?
จากที่เป็นข่าวดังเกี่ยวกับเรื่องการขุดตักดินในที่ดินของตัวเองไปขายแต่ถูกตำรวจจับดำเนินคดี เพราะเหตุใดถึงโดนจับ หลายๆ ท่านคงสงสัยกันว่าผิดกฎหมายข้อไหน หากใครกำลังมีแผนจะขุดบ่อปลา ขุดสระน้ำชลประทานสำหรับทำการเกษตรมาทำความเข้าใจกันก่อนจะลงมือขุดกันค่ะ เช็คราคามาอธิบายให้แบบง่ายๆ 

1. ขุดตักดินในที่ดินตัวเอง ผิดกฎหมายยังไง?

การขุดดินในที่ดินของตนเองนั้นสามารถทำได้ แต่ถ้าหากขุดกว้างและลึกเกินกำหนด นั้นจะทำให้เกิดความเสี่ยงพื้นที่รอบๆ ทรุดและพังทลายได้ เป็นเหตุให้เสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต ดังนั้นจึงมีการกำหนดขนาดของการขุดขึ้นมาตามกฎหมาย

2. การขุดแบบไหนต้องแจ้งเจ้าหน้าที่?

1. การขุดดินลึกเกิน 3 เมตร
2. หรือพื้นที่ปากบ่อเกินกว่า 10,000 ตารางเมตร (6 ไร่ 1 งาน)
3. ปากบ่อดินมีระยะห่างถึงเขตที่ดินข้างเคียง เกิน 2 เท่าของความลึก แม้จะเป็นที่ดินของตนเองก็ตาม ต้องแจ้งการขุดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนจะทำการขุดดิน เพื่อจัดการป้องกันการพังทลายของดิน

3. แจ้งเจ้าหน้าที่ต้องขอเอกสารอะไรบ้าง?

หากมีต้องการขุดดินจะต้องติดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ณ เทศบาล, ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตที่อยู่ก่อนทำการขุด 2 เรื่อง คือ
1) ขอเอกสารการแจ้งการขุด
2) ขอเอกสารการได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535
สำหรับเอกสารตัวหลังนี้จำเป็นต้องขอด้วยแม้จะขุดเพื่อทำการเกษตร เพราะในทางกฎหมายนั้นมองว่าการขุดบ่อโดยใช้รถแบ็คโฮซึ่งมีแรงม้าสูงกว่า 50 แรงม้า เพื่อขุดนั้น เจ้าของที่ดินได้รับผลประโยชน์ในการขุดคือได้น้ำไปใช้สำหรับทำการเกษตร และดินที่ตักไปนั้นสามารถนำไปขายได้ด้วย

4. หากฝ่าฝืน โทษที่ได้รับคืออะไร?

❎ โทษของการไม่ขออนุญาตขุด
เพราะการขุดดินหลุมใหญ่ๆ มีความเสี่ยงต่อการพังทลายและทรุดตัวของดิน ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและพื้นที่ข้างเคียง จึงจำเป็นที่ต้องขออนุญาตก่อนเพื่อวางแผนจัดการป้องกันการพังทลายของดิน โดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ หากไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีโทษตาม พ.ร.บ. การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โทษของการมีใบอนุญาตแต่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด
หากมีการขุดดินหรือถมดินที่ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 6 เช่น กฎกระทรวงกำหนดมาตราการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ.2548 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกิน 1,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตาม
โทษในส่วนของการประกอบกิจพาณิชย์
ในส่วนของการขุดดินขายถึงแม้จะเป็นที่ดินตนเอง ก็ถือเป็นการประกอบกิจการพาณิชย์ เพราะได้รับผลประโยชน์ทั้งเงินจากการขายดิน และได้ทั้งบ่อน้ำเพื่อการเกษตรไว้ใช้ในที่ดินของตนด้วย และการใช้รถแบ็คโฮแรงม้าสูงกว่า 50 แรงม้า ขุดดิน จึงถือเป็นการเข้าองค์ประกอบของการจัดตั้งโรงงานจำพวกที่ 3 ตามบัญชีจำแนกประเภทโรงงานท้าย พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 หากจะประกอบกิจการต้องขออนุญาตจากอุตสาหกรรมจังหวัดก่อน ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากใครพบเห็นการขุดดินเป็นหลุมลึกขนาดใหญ่หรือถมดินใกล้ที่ดินของตนเองสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ ตามมาตรา 29 ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินสามารถร้องขอให้เจ้าพนักงานทองถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ 
แท็กที่เกี่ยวข้อง ขุดดิน ตักดินในที่ดิน ขุดบ่อ ตักดินขาย
Property Guru
เขียนโดย ปรียานุช สองศร Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่





เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)