x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เคล็ดลับผ่อนบ้านให้เงินต้นและดอกเบี้ยลดเร็วที่สุด!

icon 18 ก.ค. 66 icon 3,653
เคล็ดลับผ่อนบ้านให้เงินต้นและดอกเบี้ยลดเร็วที่สุด!
การซื้อบ้านหรือคอนโดถือเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ เพราะเราต้องแบกภาระหนี้ก้อนนี้นานถึง 30 ปี ซึ่งการมีภาระหนี้ที่ยาวนานทำให้หลายคนอยากรีบปลดหนี้ก้อนนี้ให้หมดไวๆ เพื่อจะได้นำเงินไปต่อยอด หรือนำไปจัดสรรปันส่วนกับภาระหนี้ในส่วนอื่นๆ ได้มากขึ้น บทความนี้เราจะมาบอกเคล็ดลับผ่อนบ้านยังไงให้หมดไว แถมลดทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ตามไปดูกันเลยค่ะ

1. จ่ายค่างวดเกินทุกเดือน

ตามปกติแล้วหากเราชำระค่างวดตามเรทที่ธนาคารกำหนด เงินต้นจะลดไปเพียงเล็กน้อย เพราะส่วนใหญ่จะจมไปกับดอกเบี้ย ดังนั้น หากเราชำระค่างวดเกินกว่าเรทที่ธนาคารกำหนดทุกเดือน เงินที่ชำระเกินจะถูกนำไปตัดเงินต้น และส่งผลให้ดอกเบี้ยลดลง เช่น ธนาคารกำหนดให้ชำระค่างวดเดือนละ 15,000 บาท เราอาจจะชำระเกินสัก 5,000 - 10,000 บาท ก็จะสามาถช่วยร่นระยะเวลาในการเป็นหนี้ได้มากเลยทีเดียว

2. จ่ายเพิ่มปีละครั้ง

หากใครที่มีภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนเยอะ ไม่สามารถจ่ายค่างวดเกินได้ทุกเดือน วิธีการจ่ายค่างวดเพิ่มปีละครั้ง (งวดที่ 13) ก็สามารถช่วยลดเงินต้นได้เหมือนกัน แต่อาจจะไม่มากเท่าการจ่ายค่างวดเกินทุกเดือนแบบข้อ 1

3. มีเงินก้อนให้รีบโปะ

สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ได้โบนัสประจำปี หรือฟรีแลนซ์ที่ได้เงินก้อนจากโปรเจคต่างๆ ให้นำเงินส่วนหนึ่งมาโปะบ้าน เพื่อช่วยลดเงินต้นและลดดอกเบี้ย ทางที่ดีควรเลือกโปะช่วงที่ดอกเบี้ยต่ำ จะทำให้การโปะบ้านคุ้มค่ามากขึ้น

4. ปรับโครงสร้างหนี้ใหม่

ในการกู้สินเชื่อบ้านนั้น รูปแบบของอัตราดอกเบี้ยจะเป็นแบบ MRR โดยจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่อัตราดอกเบี้ยบ้านใน 3 ปีแรกจะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ แต่ในปีถัดไปจะเพิ่มขึ้นสูงขึ้น ทำให้เราต้องจ่ายเพิ่มเป็นจำนวนมาก ดังนั้น วิธีที่จะช่วยลดเงินต้นและลดดอกเบี้ยได้ดีก็คือการปรับโครงสร้างหนี้ โดยสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
4.1 รีไฟแนนซ์ (Refinance) เป็นการย้ายหนี้เดิมจากธนาคารเก่าไปยังธนาคารใหม่ ซึ่งทางธนาคารใหม่จะเสนอดอกเบี้ยที่ถูกกว่า ทำให้เราสามารถปลดหนี้บ้านได้ไวขึ้น แต่ทั้งนี้ควรพิจารณาเลือกรีไฟแนนซ์กับธนาคารที่ให้ข้อเสนอที่ตอบโจทย์ที่สุด
4.2 รีเทนชัน (Retention) เป็นการขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ซึ่งมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากเท่าการรีไฟแนนซ์ เนื่องจากหลายธนาคารจะมีโปรโมชั่นกรณีที่ลูกค้าอยากรีเทนชัน และหากเป็นลูกหนี้ชั้นดี ไม่มีประวัติชำระหนี้ล่าช้า ยิ่งทำให้โอกาสในการอนุมัติสูงขึ้นด้วย
แต่ทั้งนี้ควรอ่านสัญญาสินเชื่อให้ถี่ถ้วนว่าสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้เมื่อไหร่ เพราะหากเราดำเนินการตอนที่ยังไม่หมดอายุสินเชื่อ เราอาจจะต้องเสียค่าปรับเป็นจำนวนมากได้

5. เช็กสิทธิพิเศษกับทางบริษัท

ปัจจุบันหลายๆ บริษัทมี benefit ให้พนักงาน เช่น มีการดีลข้อเสนอสุดพิเศษกับทางธนาคาร เพื่อให้พนักงานที่ยื่นกู้ซื้อบ้านได้รับดอกเบี้ยอัตราพิเศษ หรือหลายๆ อาชีพ เช่น แพทย์ ข้าราชการ ที่มักจะได้รับโปรโมชั่นพิเศษในการซื้อบ้าน เป็นต้น

6. ไม่สร้างหนี้เพิ่ม

การเพิ่มหนี้สินในขณะที่เราแบกรับภาระหนี้ใหญ่อย่างการผ่อนบ้านนั้น เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดและอาจนำมาซึ่งการจ่ายหนี้ไม่ไหว ดังนั้น ควรโฟกัสทีละอย่าง เคลียร์หนี้บ้านให้จบก่อน เพื่อให้สถานะทางการเงินมีความคล่องตัวและไม่แบกรับภาระหนี้ที่หนักจนเกินไป
แท็กที่เกี่ยวข้อง ดอกเบี้ยต่ำ เคล็ดลับ ลดดอกเบี้ย ผ่อนบ้าน รีไฟแนนซ์บ้าน ลดเงินต้น ปิดหนี้บ้าน
Property Guru
เขียนโดย ญาณินท์ นาควารี Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)