x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เรื่องควรรู้ก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน

icon 19 พ.ค. 66 icon 8,504
เรื่องควรรู้ก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน
รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Car (Electric Vehicle) เริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเราอย่างแพร่หลายแล้วนะคะ เริ่มมีการตีตลาดกันมากขึ้น ผู้คนสนใจกันมากขึ้น แต่การจะใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้น ก็ต้องเติมพลังงานด้วยไฟฟ้า เพราะฉะนั้นถ้าหากใครจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าใช้ จำเป็นต้องติดตั้ง EV Charger ไว้ในบ้านด้วยเช่นกันค่ะ ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำเรื่องควรรู้ก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน เป็นเกร็ดข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ มาฝากกันค่ะ

ขอบคุณภาพจาก www.mea.or.th

  1. ตรวจสอบระบบไฟฟ้า

1.1 เปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า

EV Charger นั้นปกติแล้วจะใช้กำลังไฟที่ Single-Phase ขนาด 30(100) A หรือ มิเตอร์ 3-Phase ขนาด 30(100) A ในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ในขณะที่บ้านเรือนทั่วไป จะมีขนาดไฟฟ้าแบบ Single-Phase ขนาด 5(15)A ซึ่งถ้าหากเราต้องใช้เจ้า EV Charger ไปพร้อมกับใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ภายในบ้านไปพร้อมๆ กันด้วยจะทำให้กำลังไฟฟ้าไม่เพียงพอ อาจทำให้ไฟดับเนื่องจากการใช้ไฟฟ้าเกิน (Overload) ก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นเราควรที่จะเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งทำได้สองทางคือ เปลี่ยนมิเตอร์เพื่อเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า หรือ ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าเพิ่มอีกอันนึง
สำหรับในประเทศไทยแบ่งเฟสไฟฟ้าออกเป็นแบบ 1 เฟส กับ 3 เฟส ซึ่งมีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้
1 เฟส (Single Phase) มีสายไฟทั้งหมด 2 เส้น เดินไฟ 1 เส้น อีกเส้นเป็นสายเส้นศูนย์ (Neutral Line) จะมีแรงดันอยู่ที่ 220 โวลต์ ซึ่งเป็นขนาดที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันของบ้านทั่วไป
3 เฟส (3 Phase) มีสายไฟทั้งหมด 4 เส้น เดินไฟ 3 เส้น อีกเส้นเป็นสายเส้นศูนย์ (Neutral Line) จะมีแรงดันอยู่ที่ 380 โวลต์ นำไปใช้ในอาคารตึกสูง ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก
สำหรับการจะใช้เฟส 1 หรือเฟส 3 นั้น จะขึ้นอยู่กับขนาดของรถไฟฟ้า และคุณสมบัติของ EV Charger ด้วยค่ะว่ารองรับไฟฟ้าขนาดไหน ซึ่งอาจจะต้องใช้ช่างติดตั้งเป็นผู้ประเมินให้ค่ะ

1.2 ตรวจสอบสายไฟเมน และตู้ Main Circuit Breaker (MCB)

นอกจากนี้ต้องไปตรวจสอบสายไฟเมน หรือสายไฟที่เชื่อมต่อมายังตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้านนั้น ควรมีขนาด 25 มม. ซึ่งถ้ายังเป็นขนาดที่เล็กกว่านี้ก็ต้องเปลี่ยนค่ะ นอกจากนี้ยังต้องเช็คตู้ Main Circuit Breaker (MCB) ควรใช้ตู้ที่สามารถรองรับกระแสไฟได้สูงสุดไม่เกิน 100 แอมป์ และช่องว่างเพียงพอสำหรับจ่ายไฟออกไปหา EV Charger ซึ่งควรมีขนาดตามพิกัดที่รองรับกระแสไฟของ EV Charger ได้ด้วย

1.3 ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว (RCD)

อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว (RCD) ต้องเป็นแบบ type B หรือเทียบเท่า เอาไว้ตัดวงจรเมื่อมีค่ากระแสไฟฟ้าไหลเข้า-ออกไม่เท่ากัน เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรนั่นเองค่ะ

  2. ตรวจสอบเต้ารับ

การเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าควรใช้เต้ารับแบบ 3 รู และมีสายดินที่แยกออกจากสายดินหลักของระบบไฟฟ้าเดิม สำหรับสายต่อสายดินของ EV Charger ควรเป็นสายหุ้มฉนวน ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 10 ตร.มม. ส่วนตัวสายดินนั้นควรมีขนาด 16 มม. ยาว 2.4 เมตร

  3. เลือกตำแหน่งติดตั้ง EV Charger ให้เหมาะสม

ตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้ง EV Charger นั้นควรสามารถเดินสายไฟจาหเครื่องชาร์จไปยังตู้เมนไฟฟ้าได้สะดวก เพื่อที่จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟเพิ่มอีกค่ะ นอกจากนี้ยังต้องดูเรื่องระยะห่างจากเต้ารับไปยังจุดเสียบเข้าที่ตัวรถก็ไม่ควรเกิน 5 เมตร เนื่องจากสาย EV Charger โดยปกติแล้วจะยาว 5-7 เมตรเท่านั้น และควร เลือกติดตั้งในที่ร่ม เพื่อกันแดด กันฝนและละอองฝน ถึงแม้ว่าบางเครื่องอาจจะระบุไว้ว่าอยู่กลางแจ้งได้ แต่ก็ไม่ควรให้โดนน้ำโดยตรงจะดีกว่าค่ะ

Image by Freepik

อ่านบทความเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าได้ที่นี่ >> https://www.checkraka.com/car/tag/รถยนต์ไฟฟ้า
อ่านบทความ รวม 10 คอนโดแบรนด์ดังที่มี EV Charger รองรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

ขอบคุณข้อมูลจาก

หากใครมีข้อสงสัยอะไรเพิ่มเติม สามารถเข้าร่วมพูดคุยกับกูรูได้ที่นี่เลยค่ะ https://page.line.me/uht3147t
แท็กที่เกี่ยวข้อง EV Charger
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)