x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

รู้ไว้ไม่บ้ง! เทคนิคเลือกผู้รับเหมาสร้างบ้านอย่างไร ไม่ถูกโกง ไม่ทิ้งงาน งบไม่บานปลาย

icon 18 มี.ค. 65 icon 47,774
รู้ไว้ไม่บ้ง! เทคนิคเลือกผู้รับเหมาสร้างบ้านอย่างไร ไม่ถูกโกง ไม่ทิ้งงาน งบไม่บานปลาย
ผู้ที่กำลังสร้างบ้านหลายคนหัวจะปวดกับ "ปัญหาผู้รับเหมาสร้างบ้าน" ซึ่งเป็นปัญหาที่มักได้ยินข่าวอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นผู้รับเหมาทิ้งงาน โดนโกง หรือบางที่อาจวางแผนงานไม่ดีจนทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลาย ดังนั้นการพิจารณาเลือกผู้รับเหมาสร้างบ้านจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก วันนี้เรามีเทคนิคเบื้องต้นในการเลือกผู้รับเหมาสร้างบ้านมาฝากกัน เลือกอย่างไรไม่ให้บ้ง!! ลดความเสี่ยงหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้น...
1. มีความน่าเชื่อถือ
ปกติผู้รับเหมาขนาดกลางถึงขนาดใหญ่จะมีทีมงานประจำครบทั้งสถาปนิก วิศวกรโยธา วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรสุขาภิบาล และโฟร์แมน (หัวหน้าคนงาน) แต่สำหรับผู้รับเหมารายเล็กอาจจะจ้างทีมงานดังกล่าวไว้เป็นที่ปรึกษาหรือจ้างเพียงครั้งคราวเท่านั้น ดังนั้นหากจะเลือกใช้ผู้รับเหมารายเล็ก เจ้าของบ้านควรพิจารณาว่าทีมงานเหล่านั้นมีความรู้ ความสามารถ รวมถึงประสบการณ์เพียงพอที่จะสร้างบ้านให้ได้หรือไม่ โดยเฉพาะวิศวกร และสถาปนิกแนะนำให้เลือกบุคคลที่มีใบประกอบวิชาชีพ และผู้รับเหมาที่ดีควรได้รับการอบรมจากสถาบันที่รับรองได้ด้วย นอกจากนี้หากมีที่ตั้งบริษัท หรือที่อยู่ชัดเจน ย่อมสร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่าบริษัทที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
2. มีผลงานที่ผ่านมาให้ดู
การหาผู้รับเหมารับสร้างบ้านส่วนใหญ่จะมาจาก 2 วิธี คือ
  • หาจากคนรู้จัก ที่แนะนำกันแบบปากต่อปาก ซึ่งเคยมีประสบการณ์สร้างบ้านกับผู้รับเหมานั้นๆ มาก่อน เราสามารถสอบถามถึงคุณภาพงานที่ผ่านมาจากคนรู้จักได้ และค่อนข้างเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
  • ผู้รับเหมาที่ไม่เคยรู้จัก แนะนำให้ขอดูผลงานเก่าที่เคยผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย หากให้พาไปชมสถานที่จริงได้ด้วยยิ่งดี เพราะบางทีอาจมีโอกาสไปพุดคุยกับเจ้าของบ้านนั้นๆ และทราบถึงความคิดเห็นที่มีต่อผู้รับเหมานั้นมากยิ่งขึ้น
3. ราคาเหมาะสม
ในการเปรียบเทียบราคาค่าก่อสร้างต้องอ้างอิงจาก "เอกสารราคากลาง" ซึ่งเป็นเอกสารที่สถาปนิกทำให้ เพื่อบอกรายละเอียดของราคาค่าก่อสร้างในหมวดต่างๆ โดยแสดงรายละเอียดปลีกย่อยว่าจะใช้วัสดุอะไรในปริมาณเท่าไหร่ และแยกค่าแรงเอาไว้อย่างชัดเจน โดยจัดการประมูลราคาให้ผู้รับเหมาแต่ละรายเสนอราคามาเทียบกัน ซึ่งควรเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับราคาใน "เอกสารราคากลาง"
กรณีที่เจ้าของบ้านตั้งใจจะจัดซื้อวัสดุเองควรแจ้งให้ผู้รับเหมาทราบตั้งแต่ต้นเพื่อที่ผู้รับเหมาจะได้ไม่คิดราคาในส่วนนี้ และทำสำคัญอย่าลืมตรวจดูรายการวัสดุที่ระบุในใบเสนอราคาให้ครบถ้วนตามรายการวัสดุที่ระบุในเอกสารราคากลางด้วย
4. มีแผนงานที่ดี
ผู้รับเหมาที่ดีจะต้องมีการทำแผนงานก่อสร้าง โดยแสดงระยะเวลาการทำงานในแต่ละขั้นตอนมาให้เราดูอย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย ซึ่งการวางแนงานที่ดีนั้นจะเกิดจากความรู้ และประสบการณ์ในการทำงานของผู้รับเหมา เช่น การบริหารคนงาน การสั่งวัสดุล่วงหน้า การหมุนเวียนเงินทุน และการจัดการกับปัญหาหน้างานที่อาจเกิดขึ้น และที่สำคัญคือ จะต้องควบคุมเวลาในการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนงานที่ได้จัดวางไว้ด้วย
5. มีหนังสือสัญญาที่ชัดเจน
ในการว่าจ้างผู้รับเหมาสร้างบ้านควรทำหนังสือ "สัญญาว่าจ้างรับเหมางานก่อสร้าง" ทุกครั้ง โดยเจ้าของบ้านควรอ่านหนังสือสัญญาให้ละเอียดรอบคอบ ถึงแม้ว่าจะมีเนื้อหาและมีรายละเอียดที่มากแต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องอ่าน โดยเนื้อความในสัญญานั้นแบ่งเป็นหมวดต่งๆ ดังนี้
หมวดที่ 1 :  รายละเอียดทั่วไป มีเนื้อความแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อที่อยู่ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง ชื่อสถาปนิก และวิศวกรทุกแขนง และเกี่ยวกับรายการแบบต่างๆ พร้อมระยะเวลาการก่อสร้าง
หมวดที่ 2 : บอกเรื่องค่าตอบเทนในราคาจ้างเหมาก่อสร้าง และมีเนื้อความเกี่ยวกับวัสดุเพื่อใช้ในการก่อสร้างที่เจ้าของบ้านจะเป็นผู้จัดซื้อเองแสดงไว้ด้วย
หมวดที่ 3 : หน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย
  • หน้าที่ผู้ว่าจ้าง จะเกี่ยวกับการจ่ายเงินตามระยะเวลา และจัดสรรแบบให้แก่ผู้รับเหมา
  • หน้าที่ผู้ออกแบบ จะเกี่ยวกับการแก้ไขแบบ การแก้ไขข้อปัญาหาในกรณีแบบเกิดความขัดแย้ง เป็นต้น
  • หน้าที่ผู้ตรวจงาน เป็นผู้มีสิทธิ์ในการตรวจและอนุมัติวัสดุขั้นตอน และผลงานในการก่อสร้างต่างๆ 
  • หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับจ้าง ต้องทำงานตามสัญญา เช่น การจัดหาเครื่องมือ และวัสดุที่มีมาตรฐาน เวลาเข้าทำงาน และการจัดคนเข้าทำงาน
หมวดที่ 4 : การชำระค่าตอบแทน การแบ่งงวดการชำระเงิน การหักค่าประกันผลงาน เอกสารประกอบการส่งผลงานแต่ละงวด การหักภาษีฯ
หมวดที่ 5 : การติดต่อราชการและกฏหมาย เริ่มตั้งแต่การต่อใบอนุญาตก่อสร้าง การขอน้ำ-ไฟชั่วคราว และน้ำ-ไฟจริง การจัดให้มีสถาปนิก และวิศวกรควบคุมงาน ตลอดจนการปฏิบัติตามกฎหมายก่อสร้างต่างๆ 
หมวดที่ 6 : ความรับผิดชอบต่อสาธารณสมบัติ อาคารข้างเคียง และการป้องกันภัยต่างๆ เช่น การดูแลทำความสะอาดถนน ตลอดจนท่อระบายน้ำสาธารณะและการป้องกันฝุ่นละอองรบกวนอาคารข้างเคียง เป็นต้น
หมวดที่ 7 : การเปลี่ยนเปลง การลดหรือเพิ่มงาน การเปลี่ยนแปลงวัสดุและการตัดงานบางส่วนออก ซึ่งเจ้าของบ้านมีสิทธิ์ปรับได้ (สามารถเพิ่มงาน หรือตัดงานได้ตามข้อตกลง) โดยดูจากรายการราคาค่าของและค่าแรง
หมวดที่ 8 : การต่ออายุสัญญา การปรับ การบอกเลิกสัญญา และการเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งในเนื่อหาจะเป็นกรณีที่สามารถกระทำต่อกันได้จากทั้ง 2 ฝ่าย เช่น หากเจ้าของบ้านไม่ชำระเงินงวด ผู้รับจ้างก็สามารถหยุดงานหรือบอกเลิกสัญญาได้ หรือหากผู้รับจ้างทำานล่าช้า เจ้าของบ้านก็สามารถปรับเงินได้เป็นรายวัน ตามอัตราที่ได้ตกลงกันไว้
หมวดที่ 9 : การประกันผลงาน กำหนดเรื่องระยะเวลาการประกันผบลงานและการเข้าซ่อมแซมตามระยะเวลา ตลอดจนถึงการคืนค่าประกันผลงานให้แก่ผู้รับจ้างเป็นงวดๆ ตามช่วงเวลาที่ตกลงกันไว้
หมวดที่ 10 : การฟ้องร้องต่างๆ ในกรณีพิพาทอันเนื่องจากการปฏิบัติตามสัญญาโดยให้คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายตกลงให้ดำเนินคดีที่ศาลแพ่งประจำจังหวัดต่างๆ เพียงแห่งเดียว
 
Cr. Home Guide Book 8 ขั้นตอนการสร้างบ้านในฝัน
แท็กที่เกี่ยวข้อง รับสร้างบ้าน ผู้รับเหมาสร้างบ้าน
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)