x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

แชร์วิธีเคลียร์ปัญหา "กู้บ้านร่วมกับคนรักเก่า" เลิกกันไปแล้วทำยังไงให้จบสวยๆ

icon 1 ต.ค. 64 icon 10,820
แชร์วิธีเคลียร์ปัญหา "กู้บ้านร่วมกับคนรักเก่า" เลิกกันไปแล้วทำยังไงให้จบสวยๆ
กู้เงินมาซื้อบ้านร่วมกันกับ "คนรัก" ช่วงแรกๆ จะเป็นเรื่องชิลและหวานหอมเสมอ แต่ตอนเลิกกันนี่สิ! มันจะเปลี่ยนเป็น "หวานอมขมกลืน" ว่ามั้ยคะ? เพราะบ้านคือ ทรัพย์สินชิ้นใหญ่ ไม่ใช่เรื่องที่จะหั่นแบ่งและแยกจากกันไปได้ง่ายๆ แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้ค่ะ คนเลิกกันเคลียร์เรื่อง "บ้าน" กันแบบนี้ได้ รีบเคลียร์ให้จบก่อนชีวิตจะยุ่งเหยิงเหมือนวันทองละครหลังข่าว เคลียร์ปัญหา "กู้บ้านร่วมกับคนรักเก่า" ยังไง?? เลิกกันไปแล้วทำยังไงให้จบสวยๆ ?? ไปดูกันเลยค่ะ
กรณีที่ยังเคลียร์ไม่จบ หย่า VS ไม่หย่า
การเลิกกันอาจมีสถานะที่ยังคลุมเครือกันอยู่หน่อยๆ แผลยังไม่ได้หายสนิท มีทั้งที่เคลียร์กันลงตัวและยังยุ่งเหยิง โดยเฉพาะการจดทะเบียนอย่าอย่างเป็นทางการ ซึ่งตรงนี้มีความสำคัญต่อการเคลียร์เรื่องบ้านอยู่ไม่น้อย ทาง Krungsri Guru ก็บอกเอาไว้ว่า กรณีที่ทั้งคู่เคลียร์กันลงตัวจดทะเบียนหย่าเรียบร้อยแล้ว ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อยากผ่อนชำระหนี้แล้ว ยกบ้านให้กับอีกฝ่ายไปเลย กรณีนี้สามารถทำสัญญาจะซื้อจะขายกันระหว่างอดีตคู่สมรส แล้วให้เอาสัญญาจะซื้อจะขาย และใบจดทะเบียนการหย่า มาประกอบการขอสินเชื่อกับทางธนาคาร ฝ่ายไหนจะเป็นคนผ่อนต่อต้องขอสินเชื่อใหม่กันไปอีกที 
ส่วนกรณีที่ยังไม่จดทะเบียนหย่า ตรงนี้ควรเจรจากันให้ลงตัวว่า ใครจะถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของบ้าน ส่วนการผ่อนสินเชื่อก็ให้แจ้งความประสงค์ต่อธนาคารว่า หย่าร้างกันแยกกันอยู่ จะขอถือกรรมสิทธิ์ต่อและอยู่ในฐานะผู้กู้เพียงคนเดียว 
ถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วม แล้วรีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมเป็นกู้คนเดียว
พอตกลงกันเรื่องหย่าไม่อย่า เรื่องกรรมสิทธิ์บ้านจะเป็นของใครได้แล้ว สำหรับคู่รักที่กู้เงินซื้อบ้านร่วมกัน สามารถถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วม นัดกันที่ไปดำเนินการต่อที่กรมที่ดินเพื่อขอโอนเปลี่ยนชื่อเป็นผู้กู้คนเดียว ส่วนนี้ผู้ที่ถือกรรมสิทธิ์บ้านควรเตรียมตัวประวัติการเงินให้พร้อมนะคะ ถึงจะยื่นถอดถอนผ่านเพราะเหมือนการตั้งต้นกู้ใหม่อีกครั้ง ธนาคารจะพิจารณาความสามารถในการผ่อนชำระใหม่อีกที
รีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมเป็นกู้คนเดียว การรีไฟแนนซ์บ้านก็คือ การกู้เงินจากธนาคารใหม่ เพื่อนำไปลดภาระเงินกู้กับธนาคารเก่าที่เรากู้และผ่อนชำระอยู่ โดยเราสามารถเลือกธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่า ซึ่งการรีไฟแนนซ์จะทำให้เราลดภาระค่าผ่อนชำระต่อเดือน และยังทำให้ผ่อนบ้านหมดเร็วขึ้นได้ด้วย วิธีนี้จะทำให้เรามีโอกาสได้รับการอนุมัติเงินกู้จากธนาคารเจ้าอื่นๆ ที่ดอกเบื้ยต่ำกว่า อย่างที่บอกคืออัตราดอกเบี้ยก็จะต่ำลงในช่วงแรกด้วยนะคะ ระยะเวลายาวแค่ไหนแล้วแต่ธนาคารอีกที แต่อย่างไงก็ตามความสามารถในการผ่อนชำระของผู้กู้ยังเป็นปัจจัยสำคัญมากๆ ที่จะทำให้ธนาคารอนุมัติให้เราเป็นผู้กู้เพียงผู้เดียว
ซึ่งวิธีเตรียมตัวให้พร้อมก่อนรีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมเป็นกู้คนเดียวคือ ผู้กู้ควรทำงานที่มั่นคง มีเงินเข้าออกบัญชีแบบตรวจสอบได้ ไม่ควรมีหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระพ่วงอะไรหลายๆ อย่าง และที่สำคัญประวัติการผ่อนชำระควรสม่ำเสมอ 
ขายบ้านไปเลย ก็จบกันแล้วให้มันจบๆ ไป
ขายบ้านไปเลย จะได้จบๆ ไป ไม่อยากเก็บบ้านหลังนี้ไว้ให้ชอกช้ำอีกต่อไปแล้ว วิธีนี้จะเป็นการปิดการกู้ร่วมและจบปัญหาได้ดีทีเดียวเลยนะคะ จะได้ไม่ต้องมีใครมารับภาระในการผ่อนบ้านต่อให้เป็นภาระทั้งทางการเงินและภาระทางใจต่อกันทั้งสองฝ่าย ดีไม่ดีถ้าเกิดยังเก็บรังรักเก่าเอาไว้อาจเกิดปัญหาในอนาคตสำหรับฝ่ายที่แต่งงานใหม่ได้อีกด้วย แต่สำหรับใครที่ไม่แคร์ บ้านก็เป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่า ถ้าทำเลดี มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีแนวโน้มว่าราคาจะขึ้นในอนาคต เช่า มีห้างสรรพสินค้าเตรียมมาเปิดอยู่ใกล้ๆ มีโรงพยาบาลชั้นนำ หรือมีรถไฟฟ้าสายใหม่ตัดผ่าน จะเก็บไว้อยู่ๆ ไปก่อนก็ไม่เสียหาย 
สำหรับใครที่อยากขายบ้าน มีข้อควรระวังและควรทำที่เราอยากแนะนำดังนี้ อย่างแรกเลยคือ เวลาเราร้อนใจที่จะขาย สิ่งที่ตามมาคือ การตั้งราคาบ้านที่อาจไม่คุ้มค่าสำหรับการขาย เนื่องจากบ้านหลังนี้ "มีค่า" ใช่ค่ะ มีค่าอะไรหลายๆ อย่างที่เราต้องจ่ายตั้งแต่ตอนที่ซื้อบ้านปีแรก เราควรนึกย้อนกลับไปว่าเราจ่ายไปเท่าไหร่ จ่ายอะไรไปบ้าง ทั้งค่าบ้าน ค่าดอกเบี้ย ค่าต่อเติม ค่าซ่อมแซม ค่าโอน และค่าอื่นๆ อีกมากมายที่เราก็อาจจะทำเป็นลืมๆ ไปบ้างก็ย่อมได้ค่ะ เพื่อให้การขายเป็นไปอย่างคล่องตัว ก็จะถือว่า จบเรื่องได้เร็วที่สุด ส่วนวิธีที่จะแนะนำให้ทำคือ การซ่อมแซมให้บ้านดูดีขึ้น ดูน่าอยู่น่าซื้อ ผู้ซื้อสามารถลากกระเป๋าเข้าอยู่ได้เลยก็นับว่า เป็นตัวช่วยให้ขายบ้านได้เร็วขึ้นได้ค่ะ แต่สำหรับบางคนอาจจะชอบบ้านที่ดูทรุดโทรมไปบ้าง แต่เน้นที่ราคาถูกมากๆ แล้วนำไปรีโนเวทในภายหลังก็มีเช่นกันนะคะ แล้วแต่ว่าเราจะเลือกเน้นกลุ่มลูกค้าประเภทไหน พอมาถึงขั้นตอนที่จะขายแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง แล้วต้องเสียภาษีอะไรยังไง? อ่านต่อได้ที่ อยาก "ขายบ้าน" เสียค่าใช้จ่ายและภาษีอะไรบ้าง?
แล้วกำไรจากการขายบ้านหลังนี้จะเป็นของใคร?
เป็นอีกเรื่องที่หลายคนสงสัยเลยใช่มั้ยคะ ว่าถ้าขายบ้านไปแล้ว กำไรจากการขายบ้านล่ะควรเป็นของใคร เท่าไหร่ ยังไงบ้าง? กรณีถ้าซื้อบ้าน ตามหลักการแล้วถ้าซื้อบ้านก่อนจดทะเบียนสมรสกำไรที่ได้จากการขายบ้านต้องเป็นของเจ้าของบ้าน 100% แต่ถ้าซื้อบ้านร่วมกันหลังจดทะเบียนสมรสจะถือว่าเป็นสินสมรส กำไรจากการขายบ้านจะถูกแบ่งกันคนละครึ่ง คนละ 50% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายอีกทีด้วยนะคะ เนื่องจากแต่ละคู่ก็มีข้อตกลงแตกต่างกันไป บางคู่มีสัญญาใจร่วมกันบอกว่า เธอจ่ายมากกว่า เราจ่ายน้อยกว่า เวลาเลิกเราให้เธอไปเลย แต่สุดท้ายตอนขายบ้านได้แล้วมาเรียกเงินส่วนแบ่งทีหลังอีกทีก็มีเช่นกัน เจอแบบนี้คงปวดหัวแย่แน่เลยว่ามั้ยคะ? ถ้าถึงขั้นนี้แนะนำว่าให้พยายามไกล่เกลี่ยกันดีๆ ค่ะ ถ้าเคลียร์ไม่จบ ลงไม่ค่อยสวยอาจจะต้องถึงมือทนาย ปรึกษาหาทางว่าควรทำอย่างไรต่อไป เพราะต้องแก้ไขเป็นกรณีๆ อีกทีค่ะ 
อย่างไรก็ตามการกู้ร่วมก็ถือเป็นวิธีที่ทำให้กู้ซื้อบ้านหรือคอนโดง่ายมากขึ้น เพราะมีสองแรงมาช่วนกันผ่อนชำระ ทางที่เราไม่อยากให้ไปถึงคือ ผู้กู้ร่วมต้องแตกคอแล้วเลิกรากันไป ทิ้งไว้ก็แต่ "บ้าน" ที่เคยอยู่ร่วมกัน วิธีจบเรื่องนี้ได้ไวที่สุดคือความแฟร์ ที่ควรมีให้กันทั้งสองฝ่าย ถ้าต่างฝ่ายต่างตั้งแง่ให้เรื่องดำเนินไปอย่างยากลำบากก็อาจบานปลายได้ เป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังเจอปัญหากู้บ้านร่วมกันแต่ดันต้องมาเลิกนะคะ ขอให้จบสวยๆ และผ่านไปด้วยดีค่ะ 
ขอบคุณข้อมูลจาก Krungsri Guru และ DDproperty
แท็กที่เกี่ยวข้อง กู้บ้าน กู้ร่วมบ้าน ปัญหากู้ร่วม
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)