x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

"หมอนและที่นอน" สำคัญแค่ไหน? How to เลือกยังไงให้เหมาะกับชีวิตการนอนของเรา

icon 25 ส.ค. 64 icon 4,852
"หมอนและที่นอน" สำคัญแค่ไหน? How to เลือกยังไงให้เหมาะกับชีวิตการนอนของเรา

หมอนที่ดีที่สุดคือ หมอนทอง!!! ไม่ใช่แล้ว หมอนทองนั่นมันทุเรียน อย่าเพิ่งเครียดกับมุขนี้นะคะ มาเครียดเรื่องการเลือกหมอนและที่นอนเข้าบ้านดีกว่า หลายๆ บ้านอาจไม่ค่อยให้ความสำคัญเรื่องนี้เท่าไหร่ บางคนตัดสินที่ราคา ความฟู ดูนุ่ม แต่รู้หรือไม่ เลือกหมอนและที่นอนผิด ชีวิตก็เปลี่ยนได้เหมือนกันนะคะ ดังนั้นวันนี้ Checkraka.com เลยอยากมาเล่าเรื่องราวของ "หมอนและที่นอน" ให้ฟังกันค่ะ ยุคนี้มีแบบไหนบ้าง? แล้วแบบไหนเหมาะกับใคร? ก่อนซื้อเข้าบ้านลองมาเช็กดูกันว่า แบบไหนเหมาะกับเราที่สุด 
เลือก "หมอน" ยังไง ให้นอนหลับสบายไม่ปวดคอ!

เคยรู้สึกว่า ตื่นเช้าขึ้นมาแล้วปวดคอกันบ้างมั้ยคะ? ทำไมตอนไปเที่ยวรีสอร์ทหรูๆ หมอนเค้านุ่มนอนหลับสบายได้ขนาดนั้น หลายบ้านเลือกซื้อหมอนที่ราคาเบาๆ นุ่มฟูก็เพียงพอ แต่จริงๆ แล้ว หมอนมีความสำคัญมากกว่านั้น และสามารถเปลี่ยนชีวิตเราได้เหมือนกัน หมอนที่ไม่รองรับสรีระของร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการปวดคอ นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยเนื้อตัว เมื่อสะสมเข้ามากๆ ก็อาจเกิดอาการเรื้อรังจนต้องได้รับการรักษาอย่างจริงจังก็ได้ วันนี้เรามาเลือกหมอนให้ตรงกับสรีระและท่านอนที่เราชอบกันค่ะ
เดี๋ยวนี้หมอนที่เราเห็นนั้นใช้วัสดุต่างกันอย่างหลากหลาย มีตัวอย่างมาให้ดูดังนี้ค่ะ
1. หมอนยางพารา เป็นหมอนที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง เพราะแข็งแรงคงทนใช้ได้หลายปี แต่ราคาค่อนข้างสูงมีตั้งแต่ราคาหลักร้อยจนถึงหลักพัน นักกายภาพบำบัดพูดถึงหมอนยางพาราไว้ว่า "หมอนยางพารา ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ มีความยืดหยุ่น คืนตัวได้ไว สามารถรองรับการพลิกตัวไปมาได้อย่างดีและสามารถรองรับแรงกดทับได้มาก ที่สำคัญยังสามารถระบายอากาศได้ดี ซึ่งมีข้อดีตรงที่ปราศจากไรฝุ่น แบคทีเรีย และเชื้อโรค และยังป้องกันโรคกระดูกคอเสื่อมได้เป็นอย่างดี ส่วนข้อเสียนั้นก็ไม่มีอันตรายมากมายนัก นอกจากอาจจะมีกลิ่นยางบ้างเล็กน้อยเท่านั้นเอง" นับว่าเป็นหมอนที่เลือกใช้กันได้เลย เราต้องมาเลือกรูปทรงของหมอน ความสูง และความกว้างให้เข้ากับการนอนของเราอีกที   
2. หมอนใยสังเคราะห์ เป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากราคาไม่แรงเลย มีตั้งแต่ราคา 90 บาท ไปจนถึง 1,000 บาท มีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ การดูแลรักษาก็ค่อนข้างง่ายสามารถซักและตากแดดให้แห้งได้ตามปกติทั่ว แต่อายุการใช้งานจะสั้นหน่อย เพราะยุบตัวง่าย ยืดหยุ่นได้ไม่ดีเท่าหมอนยางพารา ใครที่ใช้หมอนใยสังเคราะห์มานานแล้วรู้สึกว่าปวดคอ นอนหลับไม่ค่อยสบาย ลองสลับเปลี่ยนมาใช้หมอนยางพาราเผื่อช่วยให้อาการเบาลงได้ค่ะ

3. หมอนเมมโมรี่โฟม กระจายแรงกดทับได้ รองรับสรีระการนอนได้ดี ช่วยลดอาการปวดคอ ไหล่ และหลังได้ ไม่มีสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ หมอนชนิดนี้ผลิตจากโพลียูริเทน เป็นวัสดุสังเคราะห์ มีความยืดหยุ่นได้ดี เวลาเราสัมผัสจะนุ่มๆ สามารถเปลี่ยนรูปทรงได้ตามแรงกดแต่ก็อาจจะต้องใช้เวลาในการคืนตัวนิดหน่อย เวลานอนจะทำให้รู้สึกเหมือนนอนบนพื้นที่ไม่เรียบ ไม่เหมาะสำหรับคนที่ชอบนอนพลิกตัวไปมาบ่อยๆ เพราะจะ  
4. หมอนขนเป็ด ขนนก ขนห่าน จะมีความนุ่มและฟูมากทีเดียว ยืดหยุ่นได้แต่ก็ยุบตัวอยู่บ้าง ราคาค่อนข้างแรงอยู่ แต่สำหรับคนที่ชอบความนุ่มฟินก็ต้องยอมนะ มีข้อควรระวังก็คือ ขนเป็ดหรือขนสัตว์ต่างๆ ก็อาจจะไม่เหมาะกับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้เท่าไหร่ และอาจจะมีกลิ่นเฉพาะตัวของขนสัตว์ต่างๆ อยู่บ้างเล็กน้อย 

ดังนั้นเราสามารถสรุปได้ว่า หมอนราคาแพง อาจไม่ได้ทำให้เรานอนสบายเสมอไป เพราะบางทีเราเลือกมาไม่เหมาะกับสรีระ และวิถีชีวิตของเรา ซึ่งจริงๆ แล้ว คุณเซ้ง-ชวกิจ เก้าเอี้ยน นักกายภาพบำบัดได้ให้สัมภาษณ์กับมิติชน เอาไว้ว่า "หมอนที่ดี คือ หมอนที่เหมาะกับสรีระและลักษณะการนอนต่างหาก ที่สำคัญคือต้องถูกสุขลักษณะ อนามัย ทำความสะอาดได้ง่าย" สำคัญที่สุดอยู่ที่การเลือก ความสูงของหมอน ความกว้างที่ต้องพอเหมาะกับการพลิกตัวไปมาตลอดคืน รูปทรงที่รองรับสรีระของคอเราได้อย่างพอเหมาะ รวมถึงวัสดุที่มีความนุ่ม ยืดหยุ่น พอดีกับความต้องการของแต่ละคน เวลาเราไปเลือกซื้อหมอนจึงต้องปรึกษาทางร้าน ทดลองนอนดูตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้หมอนที่ตรงกับเรามากที่สุดค่ะ
"ที่นอน" แบบไหน? นอนสบายที่สุด!

ถ้าถามว่า สำหรับ "ที่นอน" แล้วนั้น สำคัญกับการนอนของคนเรามากน้อยแค่ไหน? เชื่อหรือไม่ว่า หนึ่งในสาเหตุที่เรานอนไม่หลับ หรือนอนหลับๆ ตื่นๆ ไม่ใช่เรื่องของความเครียดทั่วไปอย่างเดียว แต่สาเหตุอาจเกิดจากที่นอนที่เรานอนนั้น แข็งเกินไปหรือนุ่มเกินไป ไม่เหมาะกับสรีระร่างกายและท่านอนของเราร่วมด้วย บางคนลามไปถึงเกิดอาการปวดเมื่อยตัว และอาจเจ็บปวดเรื้อรังได้ในอนาคต คนเราจะซื้อที่นอนกันสักกี่ครั้งในชีวิต เพราะที่นอนเป็นของชิ้นใหญ่ ใช้นานจนลืม แถมคิดจะทิ้งทีก็ทำเอาเราลำบากอยู่เหมือนกัน ดังนั้นจะซื้อที่นอนเข้าบ้านแต่ละที เลือกให้ดี ให้เหมาะกับเราที่สุดจะดีกว่าค่ะ  
ขอบคุณภาพจาก www.ikea.com และ www.asian-bed.com
ที่นอนมีหลายรูปแบบ เราแบ่งประเภทตามวัสดุของที่นอนมาให้ดูแบบนี้ค่ะ
1. ที่นอนใยมะพร้าว ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ โดยการนำเส้นใยมะพร้าวผ่านกระบวนการแปรรูปอัดขึ้นงานเป็นแผ่น อัดให้แน่น ที่นอนประเภทนี้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะราคาเข้าถึงง่าย มีราคาตั้งแต่ 1,000-10,000 บาท น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้ง่าย ค่อนข้างแข็ง ยืดหยุ่นได้น้อย ผู้สูงอายุจะชอบเพราะที่นอนแข็งนอนแล้วจะปวดหลังน้อยกว่าที่นอนนุ่มๆ และข้อดีก็คือย่อยสบายไปเองได้ตามธรรมชาติ อายุการใช้งานเป็นสิบปี แต่ก็มีข้อเสียที่แข็งเกินไปจนทำให้ปวดหลังได้เช่นกัน และอาจเปื่อยยุ่ย เป็นขุยและมีไรฝุ่นมาเกาะ ไม่เหมาะกับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้เท่าไหร่นะคะ
2. ที่นอนสปริง ก็คือที่นอนที่มีโครงสร้างเป็นสปริง ทำให้มีความหนากว่าที่นอนประเภทอื่นๆ ซึ่งโรงแรม รีสอร์ต ก็มักใช้ที่นอนแบบนี้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งหนา ทั้งนุ่ม ให้ความสบายกับการมาพักผ่อนของแขกได้เต็มที่ รองรับน้ำหนัก และแรงกระแทกต่างๆ ได้ดี แต่ก็มีข้อด้อยตรงที่เวลาขยับตัว นอนดิ้น อาจเกิดแรงกระเพื่อมจนคนข้างๆ รู้สึกตัวเอาได้ค่ะ 
3. ที่นอนพอกเก็ตสปริง เป็นสปริงขดลวดวางเรียงกันเป็นแถวๆ ใส่ถุงผ้าที่สปริงเพื่อลดการเสียดสี จะช่วยลดเสียงเวลาที่เรานอนพลิกตัวได้มากขึ้น ยิ่งวงสปริงจำนวนมากก็ยิ่งรองรับน้ำหนักตัวได้ดี แล้วเสริมด้วยแผ่นโฟม หรือฟองน้ำอีกชั้นเพิ่มความนุ่มและทำให้ที่นอนหนาขึ้นด้วย ซึ่งแน่นอนว่า ราคาก็จะสูงขึ้นมาจากที่นอนสปริงอีกนิดหน่อย เหมาะกับคนที่น้ำหนักตัวไม่สูงมาก ชอบนอนที่นอนนุ่มๆ ยวบๆ แต่ยืดหยุ่นดี สำหรับคนชอบนอนตะแคง ความนุ่มจะรองรับกับไหล่ได้อย่างเหมาะสม ทำให้ไม่ปวดเมื่อยและนอนหลับสบาย แต่ก็ยังรองรับสรีระอาจจะรับได้เฉพาะจุด
4. ที่นอนยางพารา ทำมาจากยางพาราธรรมชาติแบบ 100% โดยนำยางพาราไปขึ้นรูปผ่านการอบในอุณหภูมิที่เหมาะสม วางทับซ้อนกันให้ได้ความหนาตามไซซ์ที่ตลาดต้องการ ข้อดีของที่นอนยางพาราคือ คงทน แข็งแรง ยืดหยุ่นได้ดีและคืนตัวเร็ว ไม่ยวบเท่าที่นอนแบบสปริง รองรับน้ำหนักได้ดี ที่นอนชนิดนี้เป็นที่นิยมสูงมาก จะเหมาะสำหรับคนที่รักสุขภาพมากเป็นพิเศษ รองรับคนมีน้ำหนักตัวเยอะๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถพยุงน้ำหนักตัวได้ โดยที่ยืดหยุ่นกลับมาไวไม่ยุบตัว ช่วยลดอาการปวดเมื่อย และทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ทั้งยังย่อยสลาย พับได้ และนำกลับมารีไซเคิลได้ เหมาะกับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ แต่ก็มีข้อด้อยเล็กน้อยตรงที่อาจจะมีกลิ่นยางในช่วงแรกๆ มีน้ำหนักค่อนข้างเยอะ อาจมีค่าขนส่งที่สูงหน่อย แต่ใช้ได้นานเป็นสิบๆ ปีก็จัดว่าคุ้มนะคะ
นอกจากที่นอนและหมอนที่ต้องเข้ากับสรีระของเราแล้ว คุณชวกิจ นักกายภาพบำบัดได้ให้สัมภาษณ์กับมิติชนเอาไว้ว่า "คนไทยจะมีความเชื่อว่า การนอนที่นอนแข็งนั้นดี แต่นั่นไม่จริง ที่นอนที่ดีควรจะต้องแน่นแต่ไม่แข็ง ผิวหน้าเรียบ ไม่เป็นตะปุ่มตะป่ำ เพื่อไม่ให้สรีระเราไปโดนแล้วรู้สึกไม่สบายตัว ส่วนการนอนที่ดี หลังต้องราบไปกับเตียง เพื่อไม่ให้ปวดหลัง โดยท่าเริ่มต้นถือเป็นท่าที่สำคัญ หากเป็นคนนอนหงายต้องนอนราบ องศาของศีรษะต้องประมาณ 10-15 องศาไม่เกิน อาจดึงหมอนมาไว้ที่ไหล่เล็กน้อย เผื่อชอบเปลี่ยนท่า หากพลิกตัวตะแคงจะได้ไม่เกิดปัญหา สำหรับคนหลังแอ่นให้นำหมอนมาหนุนที่ช่วงเข่า จะเป็นการปรับท่านอนให้หลังราบไปกับที่นอนได้ ส่วนคนที่ชอบนอนตะแคงนั้น ให้ยกแขนด้านล่างขึ้นมาเล็กน้อย ป้องกันการเหน็บชา ส่วนขาที่ตะแคง ด้านล่างต้องเหยียดเล็กน้อย อีกข้าง สะโพกต้องไม่บิดจนเกินไป ไม่เช่นนั้นจะทำให้กล้ามเนื้อเจ็บ ซึ่งการเลือกหมอนข้างก็อาจเลือกให้ช่วงปลายเท้าแน่นเพื่อรองรับน้ำหนัก และช่วงบนนุ่มเพื่อใช้ก่ายได้" 
สรุปคือ เราไม่สามารถฟันธงให้ได้ว่า "ที่นอน" แบบไหนดีที่สุด? แต่สิ่งที่เรากำลังจะบอกคือ หมอนและที่นอนมีความสำคัญกับการนอนของเราอย่างมาก ควรเลือกให้เข้ากับสรีระร่างกายและวิธีการนอนของเราจะดีที่สุด ทั้งนี้อาจจะดูพฤติกรรมการนอนของคนที่นอนร่วมเตียงกับเรามาเป็นส่วนหนึ่งในการเลือกซื้อที่นอนด้วยค่ะ บางคนชอบที่นอนนุ่มยวบ เพราะนอนตะแคงทั้งคืน บางคนชอบที่นอนแข็งๆ เพราะถ้านอนนุ่มจะปวดหลังเอาได้ ราคาของที่นอนก็มีตั้งแต่หลัก 1,000 บาทไปจนถึงหลักล้านกันเลยทีเดียว เพื่อให้สุขภาพการนอนของเราออกมาดี พร้อมตื่นเช้าไปทำงานที่เรารักอย่างมีประสิทธิภาพ ลองพิจารณาดูนะคะว่า ทุกคนจะลงทุนกับที่นอนมากน้อยแค่ไหน ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการนอนนะคะ 


แท็กที่เกี่ยวข้อง ของใช้ในบ้าน ที่นอน หมอน อยู่บ้าน เลือกที่นอน การนอน
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่





เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)