x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ซื้อหรือสร้างบ้านใหม่ เลือกโครงสร้างบ้านอะไรดี?

icon 13 ม.ค. 65 icon 6,682
ซื้อหรือสร้างบ้านใหม่ เลือกโครงสร้างบ้านอะไรดี?

ซื้อหรือสร้างบ้านใหม่ เลือกโครงสร้างบ้านอะไรดี?

ในอดีตโครงสร้างบ้านของคนไทยก็จะทำจากดิน จากไม้ชนิดต่างๆ ต่อเมื่อมีชาวตะวันตกเข้ามา ก็เริ่มนำเอาการก่อสร้างแบบการก่ออิฐฉาบปูนเข้ามาด้วย ทำให้บ้านนั้นคงทนต่อแรงลมกว่าแบบเดิม ซึ่งวิธีนี้ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในเมืองไทยจวบจนปัจจุบัน อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีการก่อสร้างก็ไม่ได้หยุดพัฒนา ได้มีการสร้างที่อยู่อาศัยกันอย่างหลากหลายรูปแบบและหลากหลายโครงสร้าง วันนี้เช็คราคาจึงรวมวิธีการก่อสร้างว่ามีอะไรบ้างที่ได้รับความนิยมในตอนนี้ และแต่ละโครงสร้างมีข้อดีอย่างไร เหมาะกับใคร เพื่อที่จะได้นำข้อมูลนี้ไปสร้างบ้านของตัวเองหรือถามกับพนักงานขายได้ว่าบ้านหลังนี้โครงสร้างทำจากอะไร? เพื่อตัดสินใจซื้อต่อไปค่ะ
 
1. อิฐมอญ (Brick)
 
จริงๆ แล้วโครงสร้างบ้านหลักคือคือคอนกรีตเสริมเหล็กค่ะ แต่โดยทั่วไปชาวบ้านอย่างเราๆ ก็จะเรียกกันว่าบ้านอิฐมอญ ถือเป็นตำนานของการสร้างบ้านเลยก็ว่าได้ อิฐแดงทำมาจากดินเหนียว ทราย แกลบ ขี้เถ้าขึ้นรูป และนำไปเผา สำหรับการสร้างโดยใช้อิฐแดงหรืออิฐมอญ ถามว่าคงทนไหม ดูได้จากเจดีย์ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็น่าจะตอบได้นะคะว่าทนแค่ไหน และจากหลักฐานเชิงประจักษ์นี้ จึงทำให้หลายท่านชอบมากเวลาที่โครงการบ้านจัดสรรโฆษณาว่า "สร้างด้วยอิฐมอญทั้งหลัง" ซึ่งข้อดีของการก่ออิฐฉาบปูนก็คือ แข็งแรงทนทาน สามารถตอก ทุบ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างได้เมื่อต้องการ และราคาถูก แต่ข้อด้อยที่มาพร้อมกันก็คืออิฐนั้นก็คือจะกันเสียงและความร้อนได้ไม่ดี สะสมความร้อนทำให้บ้านร้อน และยังมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อความแข็งแรงและสวยงามคือคุณภาพของอิฐ ความชำนาญของช่าง และสภาพภูมิอากาศ ถ้าฝนตกก็ทำให้ก่อสร้างได้ช้าลง เป็นต้น  
 
2. อิฐมวลเบา (Foamed Concrete Block)
 
ขอบคุณภาพจาก www.scg-smarthome.com
ขอบคุณภาพจาก www.pd.co.th
อิฐมวลเบา (Foamed Concrete Block) มีส่วนผสมมากจากปูนซีเมนต์ ทราย ปูนขาว ผงอลูมิเนียม ยิปซั่ม และน้ำ ข้างในอิฐจะมีฟองอากาศเล็กๆ จึงทำให้มีน้ำหนักเบาและป้องกันความร้อนได้ โครงสร้างบ้านที่ก่อด้วยอิฐมวลเบาก็จะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเช่นเดี่ยวกับอิฐมอญ แต่ด้วยขนาดที่ใหญ่กว่าอิฐมอญจึงทำให้ก่อสร้างได้รวดเร็วกว่า และก้อนอิฐได้มาตรฐานกว่า เพราะต้องทำจากโรงงานเท่านั้น เหมาะสำหรับนำไปก่อผนังหลักของบ้าน แต่ต้องระวังเรื่องการแตกลายงา (เทคนิคป้องกันการแตกลายงาก็คือไม่ควรฉาบปูนหนาเกินไป) และต้องระวังเรื่องการดูดซับน้ำทำให้ผนังขึ้นราหรือตะไคร่ขึ้นได้ง่าย ดังนั้นจึงไม่ควรนำมานำเป็นผนังส่วนห้องน้ำหรือห้องครัวค่ะ
 
3. ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก (Precast Concrete)
 
ขอบคุณภาพจาก MM&P Precast Concrete Factory
ขอบคุณภาพจาก www.pruksa.com
ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก (Precast Concrete) ระบบนี้เป็นการนำเอาชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปที่หล่อมาจากโรงงาน มาประกอบเป็นบ้าน โดยบ้านหลังหนึ่งอาจมีส่วนประกอบพรีคาสท์หลายส่วน เช่น ชิ้นส่วนผนัง พื้น หรือชิ้นส่วนรั้วสำเร็จรูป เป็นต้น หากบ้านเป็นแบบ Fully Precast จะไม่มีเสาและคาน แต่จะเป็นระบบโครงสร้างผนังรับน้ำหนักแทน ระบบพรีคาสท์ในไทยมีการใช้มานานแล้ว เช่น การก่อสร้างสะพาน หรือทางยกระดับ เป็นต้น
ข้อดีของโครงสร้างบ้านแบบนี้คือ มีความแข็งแรงมากเพราะผนังมีการเสริมเหล็กเข้าไปด้วย นอกจากนั้นยังทนไฟ ป้องกันเสียงรบกวน ข้อด้อยคือไม่สามารถทุบปรับเปลี่ยนโครงสร้างได้ อาจมีปัญหาเรื่องการรั่วตามรอยต่อ และพรีคาสท์นั้นจะเก็บความร้อนเพราะผลิตจากคอนกรีตที่มีความทึบสูง
 
4. ระบบกล่อง (Modular) 
 
ขอบคุณภาพจาก www.researchgate.net
บ้านแบบกล่อง (Modular) เป็นบ้านกึ่งสำเร็จรูปที่สร้างชิ้นส่วนต่างๆ มาเสร็จแล้วจากโรงงานและยกเข้ามาติดตั้งในพื้นที่ ซึ่งข้อดีก็คือชิ้นส่วนต่างๆ ที่มาประกอบเป็นบ้านนั้นได้มาตรฐานทุกชิ้น ไม่ต้องกังวลเรื่องช่างไม่มีประสบการณ์ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความรวดเร็วในการสร้างบ้าน เพราะวิธีนี้ลดขั้นตอนการก่อสร้างที่หน้างานไปได้มาก ตั้งแต่โครงสร้างไปจนถึงงานสถาปัตย์ก็ทำเสร็จตั้งแต่ในโรงงานเลย แถมมีความแข็งแรงทนทาน เป็นที่ยอมรับจากหลายๆ ประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นที่มีแผ่นดินไหวหลายครั้งต่อปี ก็เลือกใช้โครงสร้างนี้ด้วย ส่วนในเรื่องของดีไซน์นั้นส่วนใหญ่ก็จะมาในรูปแบบคล้ายๆ กล่องสี่เหลี่ยมต่อเป็นชั้นขึ้นไปหากมีหลายชั้น จะได้ความโมเดิร์น แต่ถ้าหากใครอยากตกแต่งภายนอกเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ค่ะ ราคาก็จะสูงขึ้นไปตามดีไซน์ที่เราต้องการ ถ้าใครยังคิดไม่ออกว่าจะสร้างออกมาได้ในรูปแบบไหนได้บ้างสามารถดูแบบบ้าน Modular จาก SCG HEIM ได้ที่นี่ 
 
5. ระบบอุโมงค์ (Tunnel Form)
 
ระบบอุโมงค์ (Tunnel Form) นี้เป็นระบบโครงสร้างที่เทคอนกรีตผนังรับน้ำหนักและพื้นพร้อมกันอย่างต่อเนื่องโดยใช้ไม้แบบ (เหล็ก) เป็นระบบที่ใช้กันมากในการสร้างทาวน์โฮมหรือทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งมีผนังอาคารแต่ละหลังเรียงแถวติดกัน ข้อดีคือ ปัญหารั่วซึมน้อย เพราะรอยต่อของบ้านน้อย หลักๆ ก็จะมีรอยต่อระหว่างห้องเท่านั้น และยังมีจุดเด่นคือความรวดเร็วและความแข็งแรงอีกด้วย แต่จุดอ่อนสำคัญของระบบนี้คืออาจจมีช่างที่ชำนาญน้อยในประเทศไทย ทำให้งานออกไม่ไม่เรียบร้อยได้ และแบบบ้านก็ค่อนข้างน้อยค่ะ
 
6. ระบบโครงสร้างเหล็กเบากำลังสูง (Light Gauge Steel)
 
ขอบคุณภาพจาก https://facebook.com/ProframeLGS/
ระบบโครงสร้างเหล็กเบากำลังสูง (Light Gauge Steel) เป็นการใช้เหล็กที่ประกอบสำเร็จจากในโรงงาน 100% มาเป็นโครงสร้างของบ้าน โดยการคำนวณอย่างแม่นยำจากวิศวกร โครงสร้างนี้สามารถทำอาคารสูงได้ถึง 4 ชั้น (หรือมากกว่าแล้วแต่บริษัท) ข้อดีของโครงสร้างบ้านแบบนี้คือมีความแข็งแรงทนทาน สามารถต้านพายุและแผ่นดินไหวได้ดี สร้างบ้านได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วกว่าแบบงานคอนกรีตเสริมเหล็กถึง 2 เท่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดขยะจากการก่อสร้าง โครงสร้างเหล็กเบากำลังสูงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างบ้านแบบเร่งด่วน หาคนงานมีฝีมือลำบาก แต่ระบบนี้มีข้อจำกัดในการออกแบบบ้าน จะมีไม่หลากหลาย จึงยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการก่อสร้างบ้านจัดสรรเท่าใดนัก
สรุปแล้วเลือกโครงสร้างบ้านแบบไหน? ถ้าเป็นการสร้างบ้านเองคงต้องดูจากงบประมาณและพื้นที่ตั้งในการสร้างเป็นหลักค่ะ ในบางพื้นที่อาจจะไม่มีช่างหรือมีช่างที่ชำนาญการก่ออิจฉาบปูนก็ยังคงเป็นวิธีที่ดีอยู่ (ต่างจังหวัดมักจะมีช่างที่ชำนาญอยู่เยอะ) หากอยู่พื้นที่ห่างไกลการสร้างบ้าน Modular หรือ Light Gauge Steel อาจจะเสียค่าขนส่งและค่าติดตั้งหน้างานแพงก็เป็นได้ หรือฝนตกชุกตลอดการสร้างกึ่งสำเร็จรูปก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง เพราะช่วยลดระยะเวลาการก่อสร้างได้มากเลยค่ะ แต่สำหรับผู้ที่ซื้อจากโครงการสามารถสอบถามจากโครงการได้เลยว่าโครงสร้างเป็นแบบไหน แล้วนำมาตัดสินใจว่าเราพร้อมที่จะรับความเสี่ยงกับข้อด้อยเหล่านั้นหรือไม่ เช่น บ้านอิฐมอญ แข็งแรงแต่ร้อน อิบมวลเบาไม่ร้อนแต่แตกลายงาง่าย หรือพรีคาสต์ต่อเติมเองไม่ได้ บ้านโครงสร้างเหล็กแข็งแรง เสร็จไวแต่แบบบ้านน้อย เป็นต้น ขอให้มีความสุขกับบ้านหลังใหม่นะคะ :)
แท็กที่เกี่ยวข้อง สร้างบ้าน โครงสร้างบ้าน บ้านอิฐมอญ บ้านปูน บ้านพรีคาสต์
Property Guru
เขียนโดย ปรียานุช สองศร Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)