x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

แปลงโฉมห้องให้มินิมอลได้ทันตาด้วย "กระเบื้องยางคลิกล็อก"

icon 4 เม.ย. 67 icon 11,844
แปลงโฉมห้องให้มินิมอลได้ทันตาด้วย "กระเบื้องยางคลิกล็อก"
เรียกได้ว่าเป็นเทรนด์ที่สนั่นโซเชียลเหมือนกันนะคะสำหรับเทรนด์รีโนเวทห้องด้วยการ "เปลี่ยนพื้น" ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ Tiktok หรือ Twitter หลายๆ ท่านก็มานำเสนอการรีโนเวทห้องของตัวเองให้สวย ซึ่งสิ่งแรกที่ปรับแล้วเห็นได้ทันตาก็จะเป็นการทาสีห้องและเปลี่ยนพื้นนี่แหละค่ะ วันนี้เราได้รับเกียรติจากคุณแบงค์มาให้สัมภาษณ์ถึงประสบการณ์ในการเปลี่ยนพื้น "กระเบื้องยางคลิกล็อก" จะง่ายหรือจะยากยังไงไปติดตามกันเลยค่ะ

1. จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนเป็นกระเบื้องยางคลิกล็อก?

"พื้นเดิมตอนแรกเป็นลามิเนตสีเข้มครับ ซึ่งแรกสุดคือผมกับแฟนเราไม่ชอบสีเข้ม เพราะเราอยากให้บ้านสว่าง มี mood and tone แบบเกาหลีๆ เลยคิดว่าอยากจะเปลี่ยนเป็นสีอ่อน ประกอบกับพื้นลามิเนตบางจุดเริ่มมีการบวมน้ำและตอนนั้นก็ได้ห้าข้อมูลพื้นแบบต่างๆ รู้สึกว่าชอบกระเบื้องยาง เพราะว่ามันทนกว่า ส่วนตัวเลือกอื่นแทบไม่มีเลยครับ เพราะพอได้หาข้อมูลเกี่ยวกับกระเบ้ืองยางก็รู้สึกว่าตอบโจทย์เลย"

2. กระเบื้องยางคลิกล็อกดียังไง?

"รู้สึกว่ากระเบื้องยางคลิกล็อกมันทนต่อรอยขีดข่วน เพราะที่บ้านเลี้ยงแมวด้วยถ้าเป็นพิ้นไม้ปาเก้หรือพื้นชนิดอื่น เราก็กลัวว่ามันจะเป็นรอย ไม่สวย แล้วกระเบื้องที่เลือกมาก็เป็นสีอ่อนทำให้ดูสบายตาขึ้นกว่าแต่ก่อน เมื่อก่อนเป็นสีเข้มพอเจอขนแมวที่ร่วงก็รู้สึกมันสกปรก ไม่สบายตา ส่วนอีกเรื่องคือมันค่อนข้างจะทนกับความชื้นได้ดีกว่าลามิเนต เราก็ไม่ต้องกังวลว่ามันจะบวมน้ำหรืออะไรครับ"

3. ขั้นตอนการเปลี่ยนพื้นทำยังไง?

"เริ่มต้นคือเราก็ติดต่อร้านว่าเราอยากเปลี่ยนพื้น แล้วเขาก็จะส่งทีมมาประเมินว่าพื้นที่ที่เราจะเปลี่ยนต้องใช้กระเบื้องยางทั้งหมดกี่กล่อง เอาแคตตาล็อกมาให้เลือก ให้เทียบสี หลังจากสรุปแล้วก็ติดต่อร้านให้ส่งทีมช่างมาทำ เริ่มจากรื้อพื้นลามิเนตเดิมออกก่อนจากนั้นก็ขัดผิวแล้วลงกระเบื้องยางใหม่ ประมาณ 60 กว่าตารางเมตรใช้เวลาประมาณ 2 วัน ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ"

4. แพงไหม? กว่าจะได้แบบนี้หมดไปเท่าไหร่?

ราคากระเบื้องยาง 490 บาท/ตร.ม.
ค่ากระเบื้องยาง
60 x 490 = 29,400 บาท
ค่ารื้อลามิเนตเดิม
20,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ 50,000 บาท
"พื้นที่ทั้งหมดที่ปูไปก็ประมาณ 60 กว่าตารางเมตร ราคากระเบื้อง 490 บาทต่อตารางเมตร ทั้งหมดผมจ่ายไปประมาณ 50,000 บาทครับ แบ่งเป็นค่าของรวมค่าปูประมาณ 30,000 บาท และมีค่ารื้อและค่ายกลามิเนตเดิมประมาณ 20,000 บาทครับ ตอนที่เราติดต่อซื้อคือถ้าปู 60 ตารางเมตรขึ้นไป เขาจะมาปูให้ฟรีแล้วก็ยังแถมบัวให้ด้วยครับ"
"ถ้าเทียบกับเงินที่จ่ายไปผมรู้สึกคุ้มค่ามากครับ เพราะตัวนี้ทีเลือกมาช่างบอกว่าทนมาก อยู่ได้ 15 ปี ทนน้ำ ทนรอยขีดข่วน ทนไฟ ไม่ต้องกังวลเรื่องปลวก ซึ่งโดยส่วนตัวเราก็ไม่ได้เป็นคนดูแลรักษาอะไรพิถีพิถันมาก การใช้กระเบื้องแบบนี้ก็รูสึกว่าเราดูแลได้ง่ายขึ้นครับ"

5. ถ้าบ้านเราเป็นพื้นกระเบื้องปูได้เลยไหม?

"จริงๆ สามารถปูทับได้เลยครับ ถ้าพื้นเดิมเป็นกระเบื้อง หรือปูนเรียบๆ แต่ของผมเนื่องจากลามิเนตเดิมมีการบวม ทางช่างก็เลยแนะนำให้รื้อก่อน เพราะดีในระยะยาวและเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายหลังครับ"

6. หลังจากที่เปลี่ยนแล้วมีปัญหาอะไรหรือเปล่า?

"ผมปูตั้งแต่เดือนตุลาคมเมื่อปีที่แล้วครับ ปูเสร็จผมก็นอนได้เลย ไม่มีกลิ่นกาว หรือปัญหาเรื่องกลิ่นอื่นๆ เลยครับ ถึงตอนนี้ก็ประมาณ 8 เดือนก็ไม่มีปัญหาอะไรเลย แฮปปี้ดี"

7. อยากฝากอะไรถึงคนที่อยากเปลี่ยน?

"สิ่งแรกคือควรจะเรียกช่างมาประเมินหน้างานครับ เพื่อเราจะได้ทราบว่ามีส่วนตรงไหนที่เป็นปัญหาหรืออาจจะเป็นปัญหาในอนาคตหรือเปล่า แล้วก็ในการเลือกสีและลายก็ควรดูจากของจริงมากกว่าในภาพครับ เพราะบางทีการดูจากภาพอาจจะไม่ตรงกับสีจริงๆ ส่วนจากประสบการณ์ที่ได้ใช้มา ก็รู้สึกว่ากระเบื้องยางคลิกล็อกเป็นอะไรที่ดีและคุ้มค่ามากๆ ทั้งตอบโจทย์ของชีวิตเราและคุ้มค่าในระยะยาวครับ"
แท็กที่เกี่ยวข้อง กระเบื้องยางคลิกล็อก รีโนเวทห้อง
Property Guru
เขียนโดย ปรียานุช สองศร Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่





เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)