x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

อยากได้บ้านหลังแรกในชีวิต ต้องทำยังไงบ้าง ?

icon 7 ต.ค. 64 icon 5,154
อยากได้บ้านหลังแรกในชีวิต ต้องทำยังไงบ้าง ?
สำหรับบทความนี้จะมาช่วยบอกข้อมูลบางอย่างให้กับมนุษย์เงินเดือนที่หาเช้ากินค่ำ ที่อยากมีบ้านเป็นของตัวเอง โดยจะเน้นไปที่ผู้ที่ไม่มีเงินก้อนโต และต้องยื่นกู้เพื่อซื้อบ้าน ว่าถ้ามีความฝันที่อยากจะมีบ้านเป็นของตัวเองซักหลังนั้น ต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง อาจจะไม่ใช่เทคนิคลับอะไรมากมาย แต่เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเตรียมตัว และต้องรู้ตัวว่าเรามีความสามารถมากน้อยแค่ไหน ในการซื้อบ้านซักหลังหนึ่ง ซึ่งเราก็สามารถเลือกที่อยู่อาศัยได้หลากหลายรูปแบบ ทั้ง บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนี่ยม ไปดูกันเลยค่ะ
 
6 เช็คลิสต์ก่อนจะมีบ้าน
 
ถ้าหากเราไม่ได้มีเงินก้อนใหญ่ที่จะซื้อบ้าน แน่นอนว่าเราต้องกู้ซื้อบ้านผ่านสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งระยะเวลาการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยนั้นยาวนานถึง 30 ปี เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องตระหนักเป็นอย่างแรกเลยก็คือ หลังจากนี้เรากำลังจะก้าวเข้าสู่วงการ การเป็นหนี้ระยะยาว และถ้าเราโอเคกับสิ่งนั้นก็ตามมาดู 6 เช็คลิสต์ก่อนจะมีบ้านกันเลยค่ะ
 
1. เลือกบ้านที่เหมาะสม
บ้านที่อยากได้ เหมาะกับไลฟ์สไตล์ และความเป็นอยู่หรือไม่ เช่น ใช้ชีวิตอยู่คนเดียว หรือกับแฟนแค่สองคน ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนทั่วไป แต่จะซื้อบ้านเดี่ยวหลังใหญ่ พื้นที่ 50 ตร.ม. ขึ้นไป ก็อาจจะดูไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตเท่าไหร่ จริงอยู่ว่าการมีบ้านใหญ่อาจจะเป็นความใฝ่ฝัน แต่ยิ่งหลังใหญ่ เนื้อที่เยอะก็จะยิ่งมีราคาสูงขึ้นไปอีก ถ้าเปลี่ยนเป็นคอนโด หรือทาวน์โฮม 2 ชั้น เนื้อที่ไม่มาก ก็อาจจะตอบโจทย์มากกว่าค่ะ อย่างไรก็ตาม หากมีกำลังทรัพย์เพียงพอ และอยากอยู่บ้านหลังใหญ่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรค่ะ ทั้งนี้ก็ให้ดูบ้านที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และกำลังทรัพย์ของเราเป็นหลักจะดีกว่า นอกจากนี้ไลฟ์สไตล์อื่นๆ เช่น มีการวางแผนว่าจะมีลูกในอนาคต เป็นครอบครัวขยาย ก็เป็นไปได้ว่าจะมองหาเป็นบ้านแฝด หรือบ้านเดี่ยว ก็จะตอบโจทย์มากกว่าเช่นกันค่ะ
2. ทำเลบ้านที่ใช่
มนุษย์เงินเดือนทั่วไป ส่วนใหญ่ทำงานในทำเลในเมือง ที่ใกล้กับรถไฟฟ้า การมองหาที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เลยมองหาแบบที่ใกล้รถไฟฟ้าไปด้วย ซึ่งเดี๋ยวนี้รถไฟฟ้าเขาก็ขยับขยายเส้นทางออกไปนอกเมืองไปไกลแล้วเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น บ้านใกล้รถไฟฟ้าสายสีม่วงบ้านใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือถ้าใครที่อยากอยู่ในเมือง ก็อาจจะมองเป็นคอนโด ซึ่งก็มีคอนโดใกล้รถไฟฟ้าในเมืองอยู่เยอะแยะมากมาย ทางเว็บไซต์เช็คราคาเองก็ได้รวบรวมคอนโดติดรถไฟฟ้าไว้หลากหลายโครงการ สามารถเข้าไปดูได้ที่นี่เลยค่ะ คอนโดติดรถไฟฟ้า
 
3. ราคาบ้านสัมพันธ์กับเงินเดือน
เมื่อคิดไว้แล้วว่าอยากได้บ้านแบบไหน ทำเลตรงไหน ที่เหมาะสมกับเราแล้ว ทีนี้ก็ลองมาดูว่ามีราคาบ้านที่อยากได้กันค่ะว่าอยู่ในงบประมาณที่เราผ่อนไหวหรือเปล่า ซึ่งการกู้บ้านได้มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยของเราหลายอย่างเช่น ฐานเงินเดือน, อายุ, ความมั่นคงของหน้าที่การงาน ซึ่งเงินเดือนเท่าไหร่จะกู้ได้ที่เท่าไหร่นั้น สามารถดูได้จาก "อยากจะ "กู้ซื้อบ้าน" ที่ใช่ บนทำเลถูกใจ ต้องมีเงินเดือนเท่าไหร่ดี ?
 
4. เช็คหนี้ที่มีอยู่
ถ้าหากเรามีหนี้อยู่ก้อนหนึ่ง แต่เราก็ต้องการจะซื้อบ้านด้วย ก็สามารถซื้อได้เช่นกันค่ะ ธนาคารเขาจะดูความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ของเราด้วยว่า ถ้ามีหนี้เพิ่มมาอีกก้อนหนึ่งเรามีความสามารถในการจ่ายไหวไหม ปกติแล้วภาระหนี้ต้องไม่เกิน 40% ของเงินเดือน เช่น ถ้าเราเงินเดือน 20,000 บาท ภาระหนี้ต้องไม่เกิน 40% ซึ่งก็คือ 8,000 บาท แต่เรามีหนี้ที่ต้องจ่ายประจำอยู่เดือนละ 2,000 บาท เพราะฉะนั้นเราจะสามารถผ่อนบ้านได้อีกเดือนละ 8,000 - 2,000 = 6,000 บาท นั่นเองค่ะ อย่างไรก็ตาม ธนาคารเขาก็ไม่ได้คิดเป๊ะๆ ขนาดนั้นค่ะ เขาก็ดูเป็นเคสบายเคสไปค่ะ บางคนธนาคารอาจจะมองว่ามีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ได้มากกว่า 40% ก็ได้เช่นกันค่ะ แต่ถ้าเบื้องต้นเพื่อความเซฟด้านการเงิน ถ้าเราเตรียมตัวไว้แต่แรก ก็จะได้ไม่มีปัญหายุ่งยากในภายหลังค่ะ
นอกจากนี้ ถ้าหากหนี้ของเราอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ไม่นานนัก เราสามารถที่จะปิดหนี้ก้อนนั้นไปก่อน เพื่อไปยื่นกู้ซื้อบ้าน ก็ได้อีกเช่นกัน จะทำให้เราไม่ต้องแบกภาระหนี้หลายทางด้วยค่ะ
 
5. เตรียมเงินก้อนสำหรับเงินจอง+ทำสัญญา
การเตรียมตัวซื้อที่อยู่อาศัย ต่อให้เราตั้งใจที่จะยื่นกู้กับธนาคาร แต่เราจำเป็นต้องมีเงินก้อนด้วยเช่นกันค่ะ ก้อนแรกเลยก็คือ เงินจองและ ค่าทำสัญญา นั่นเองค่ะ โดยปกติก็จะอยู่ที่ประมาณ 5,000 - 50,000 บาท แล้วแต่มูลค่าของห้อง และหลังจากนั้นจะมีค่าเงินดาวน์ สำหรับโครงการที่ยังสร้างไม่เสร็จ เราสามารถผ่อนดาวน์ได้ ก็จะช่วยผ่อนภาระเงินก้อนใหญ่ไปได้ แต่ถ้าโครงการที่สร้างเสร็จแล้วหรือโครงการมือสอง ส่วนใหญ่แล้วต้องจ่ายเงินดาวน์เป็นก้อนเลย ส่วนนี้เราก็ต้องเตรียมเงินสดไว้ค่ะ ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 10% ของราคาบ้าน หรือห้องนั้นๆ 
นอกจากนี้หลังจากที่กู้เงินผ่านแล้ว และเงินกู้นั้นน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าบ้าน เราก็ต้องเตรียมเงินในส่วนของวันที่โอนกรรมสิทธิ์ ด้วยเช่นกันค่ะ (ถ้าเงินกู้มากกว่าราคาบ้าน สามารถใช้วงเงินนั้นจ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ได้เลย) ซึ่งก็จะมีค่าใช้จ่ายยิบย่อยอีกประมาณนึง เช่น ค่าโอนกรรมสิทธิ์, ค่าจดจำนอง, ค่าประกันต่างๆ, ค่าส่วนกลาง และอื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ไปจนถึงสิ้นปีพ.ศ. 2564 รัฐมีมาตการรัฐลดค่าโอนและจดจำนอง สำหรับบ้านที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านอยู่ค่ะ ถ้าเราซื้อบ้านไม่เกิน 3 ล้าน ก็จะเสียค่าโอนกรรมสิทธิ์ จาก 1% เหลือ 0.01% และค่าจดจำนองจาก 1% เหลือ 0.01% เท่านั้น
 
6. ความมั่นคงของหน้าที่การงาน
ในยุคที่อะไรก็ไม่แน่นอน เราจำเป็นต้องดูด้วยว่าหน้าที่การงานที่เราอยู่ตอนนี้นั้นมีความมั่นคงแค่ไหน เพราะการซื้อที่อยู่อาศัยครั้งหนึ่งนั้นไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ต้องใช้เวลาผ่อนไปอย่างยาวนาน (กรณีไม่โปะ) เราก็ต้องจ่ายยาวไปเป็น 30 ปี แล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไรได้อย่างไรว่าในอนาคตเราจะมีหน้าที่การงาน ที่ทำให้เรายังมีความสามารถในการผ่อนบ้าน เป็นอีกเรื่องที่เราต้องคิดให้แน่ชัด คิดให้ดีทีเดียวค่ะ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่เรามีงานทำที่มั่นคง การโปะบ้าน และรีไฟแนนซ์ก็จะทำให้เราปิดยอดได้เร็วขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการจัดการ และวางแผนการใช้เงินของเรา ซึ่งก็ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอนค่ะ
 

 
สุดท้ายนี้ สำหรับมนุษย์เงินเดือนคนไหนที่อยากได้บ้านจริงๆ และพิจารณาจากเช็คลิสต์ด้านบนมาแล้วว่าเราไหวแน่นอน ก็เตรียมตัว เตรียมเอกสาร แล้วมองหาโครงการที่ใช่ได้เลยค่ะ นอกจากนี้ก็อย่าลืมมองหาโครงการที่มีโปรโมชั่นน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่อง โปรฯ อยู่ฟรี โปรฯ ลดราคา โปรฯ ฟรีค่าโอนฯ ค่าส่วนกลาง หรืออื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งจะทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นนั่นเองค่ะ

 
แท็กที่เกี่ยวข้อง ซื้อบ้าน
Property Guru
เขียนโดย พชรธรณ์ ถิ่นสอน Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่





เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)