x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

"รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-หลักสอง)" ชมภาพล่าสุดทีมงานถ่ายเอง ... พร้อมเปิดใช้ ส.ค. 62

icon 7 ส.ค. 62 icon 33,900
"รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-หลักสอง)" ชมภาพล่าสุดทีมงานถ่ายเอง ... พร้อมเปิดใช้ ส.ค. 62

"รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-หลักสอง)"  ชมภาพล่าสุดทีมงานถ่ายเอง ... พร้อมเปิดใช้ ส.ค. 62

อีกไม่นาน รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง - หลักสอง) จะเริ่มเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนสิงหาคม 2562 นี้ รถไฟฟ้าสายนี้น่าจะให้ความสะดวกกับชาวไทย นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และคนฝั่งธนฯ มากยิ่งขึ้น เพราะเป็นสายที่เชื่อมต่อจากฝั่งรัตนโกสินทร์ข้ามไปฝั่งธนฯ และเส้นทางที่ตัดผ่านนั้น สามารถไปเยาวราช เขตกรุงเทพชั้นใน วัดพระแก้ว และวัดต่างๆ ได้สะดวกมากเลยทีเดียว
โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง มีระยะทางทั้งสิ้น 14 กิโลเมตร ลักษณะเป็นทางวิ่งใต้ดินอุโมงคู่รางเดี่ยว ในช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ ซึ่งเป็นสถานีใต้ดินจำนวน 4 สถานี และทางวิ่งยกระดับในช่วงท่าพระ-บางแค ซึ่งมีสถานียกระดับจำนวน 7 สถานี โดยเริ่มต้นจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหัวลำโพง เป็นเส้นทางใต้ดินตามแนวถนนพระราม 4 เข้าสู่ถนนเจริญกรุง ผ่านวัดมังกรกมลาวาส ผ่านวังบูรพา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสนามไชย จากนั้นลอดใต้แม้น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณปากคลองตลาด ลอดใต้คลองบางกอกใหญ่ เข้าสู่ถนนอิสรภาพ แล้วเปลี่ยนเป็นเส้นทางยกระดับ มีลักษณะเป็นทางวิ่งรางคู่บนเสาตอม่อบริเวณเกาะกลางถนนเข้าสู่สี่แยกท่าพระ ซึ่งเป็นสถานีร่วม (Interchange) กับรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ แล้ววิ่งไปตามแนวถนนเพชรเกษม ผ่านบางไผ่ บางหว้า ภาษีเจริญ บางแค และสิ้นสุดปลายทางที่บริเวณถนนวงแหวนกาญจนาภิเษกที่สถานีหลักสอง

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-หลักสอง

แผนที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินทุกสาย เชื่อมต่อกับสายสีม่วง

ส่งมอบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ขบวนใหม่แกะกล่อง

สำหรับรถไฟฟ้าขบวนใหม่นี้ ได้รับการส่งมอบไปเมื่อเดือนเมษายน 2562 ที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งหมด 35 ขบวน และจะทยอยส่งมอบจนครบทั้งหมด 35 ขบวน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 รถไฟฟ้าที่สั่งมานี้เป็นล็อตที่สอง จากบริษัท ซีเมนส์ ผลิตจากโรงงานที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมในบ้านเรา และมีอายุการใช้งานที่มากกว่า 30 ปี นอกจากนี้ ยังมาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยขึ้นอีกด้วย

รถไฟฟ้าขบวนใหม่แกะกล่องจาก บริษัท ซีเมนส์ (ขอบคุณภาพรถไฟฟ้า : Hutchison Ports Thailand)

เริ่มทดสอบระบบ และการใช้งานเสมือนจริงในเดือนกรกฎาคม 2562 

เริ่มเปิดใช้งานจริงช่วงเดือนสิงหาคม 2562
สถานีใต้ดิน

สถานี วัดมังกร 

ตั้งอยู่บริเวณ ถนนเจริญกรุง ตัดกับ ถนนพลับพลาไชย และถนนแปลงนามที่แยกแปลงนาม (ซอยเจริญกรุง 18 - ซอยเจริญกรุง 23) มีทางขึ้น-ลงทั้งหมด 3 จุด หากลงสถานีนี้ สามารถไปเที่ยวเยาวราช สำเพ็ง และวัดเล่งเน่ยยี่ ได้ค่ะ
ทำเลที่ตั้ง และทางเข้า-ออก

ตำแหน่งของสถานีวัดมังกร

แผนผังแสดงทางเข้า-ออก ซึ่งมีทั้งหมด 3 ทาง และลิฟท์ 2 ตัว

รูปแบบอาคารที่สร้างให้คล้ายกับชุมชนชาวจีน

จุดที่ 1 - ตรงแยกแปลงนาม ฝั่งถนนแปลงนาม 

จุดที่ 2 - ฝั่งซอยเจริญกรุงเลขคู่ 

จุดที่ 3 - ฝั่งซอยเจริญกรุงเลขคี่ หรือฝั่งวัดเล่งเน่ยยี่
สถานที่น่าสนใจใกล้สถานีวัดมังกร
เยาวราช สำเพ็ง สามารถใช้ทางออกตรงแยกแปลงนาม ฝั่งถนนแปลงนาม และฝั่งซอยเจริญกรุงเลขคู่ จะสะดวกที่สุด 

วัดเล่งเน่ยยี่ สามารถใช้ทางออกฝั่งซอยเจริญกรุงเลขคี่ ได้เลยค่ะ

สถานี สามยอด

ตั้งอยู่บริเวณ ถนนเจริญกรุง ตัดกับ ถนนมหาไชยที่แยกสามยอด จนถึง ถนนเจริญกรุง ตัดกับ ถนนอุณากรรณ และ ถนนบูรพา เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-ราษฏร์บูรณะ (โครงการในอนาคต) สถานีออกแบบสไตล์ชิโนโปรตุกีส ด้วยสถาปัตยกรรมแบบย้อนยุคในสมัยรัชกาลที่ 6 เพื่อให้กลมกลืนกับอาคารบ้านเรือนโดยรอบ มีทางขึ้น-ลงทั้งหมด 3 จุด
ทำเลที่ตั้ง และทางเข้า-ออก

ตำแหน่งของสถานีสามยอด

แผนผังแสดงทางเข้า-ออก ซึ่งมีทั้งหมด 3 ทาง และลิฟท์ 1 ตัว ซึ่งในอนาคตจะเป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง 
ช่วงบางใหญ่-ราษฏร์บูรณะ ด้วยค่ะ

สถานีสามยอด ออกแบบสไตล์ชิโนโปรตุกีส ด้วยสถาปัตยกรรมแบบย้อนยุคในสมัยรัชกาลที่ 6

จุดที่ 1 - ตรงแยกวังบูรพา

จุดที่ 2 - ช่วงถนนเจริญกรุง ตรงซอยสามยอด

จุดที่ 3 - ช่วงถนนเจริญกรุง ตรงใกล้แยกเจริญกรุงตัดกับถนนอุณากรรณ
สถานที่น่าสนใจใกล้สถานีสามยอด

ดิโอลด์สยาม และ พาหุรัด สามารถใช้ทางออกช่วงถนนเจริญกรุง ตรงใกล้แยกเจริญกรุงตัดกับถนนอุณากรรณได้เลย

สถานี สนามไชย 

ตั้งอยู่บริเวณ ถนนสนามไชย ตัดกับ ถนนพระพิพิธ จนถึง ถนนสนามไชย ตัดกับ ถนนราชินี บริเวณคลองคูเมืองเดิม (บริเวณโรงเรียนวัดราชบพิธและมิวเซียมสยาม) เป็นสถานีก่อนที่จะลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนฯ มีทางขึ้นลง 5 จุด
ทำเลที่ตั้ง และทางเข้า-ออก

ตำแหน่งของสถานีสนามไชย

แผนผังแสดงทางเข้า-ออก ซึ่งมีทั้งหมด 5 ทาง และลิฟท์ 2 ตัว

จุดที่ 1 - ด้านในมิวเซียมสยาม มีทั้งบันไดเลื่อน ลิฟท์ และบันไดทางขึ้น-ลงปกติ

จุดที่ 2 - หน้าโรงเรียนวัดราชบพิธ 

จุดที่ 3 - ช่วงถนนสนามไชย ใกล้แยก สน.พระราชวัง มีลิฟท์ให้ 1 ตัว

จุดที่ 4 - คลองคูเมืองเดิม ตรงถนนราชินี

จุดที่ 5 - คลองคูเมืองเดิม ข้างกำแพงโรงเรียนราชินี 
สถานที่น่าสนใจใกล้สถานีสนามไชย

ปากคลองตลาด สามารถใช้ทางออกคลองคูเมืองเดิม ตรงถนนราชินี และทางออกข้างกำแพงโรงเรียนราชินี จะสะดวกที่สุดค่ะ

มิวเซียมสยาม สามารถใช้ทางออกมิวเซียมสยาม ขึ้นมาตรงด้านในมิวเซียมพอดีเลยค่ะ

วัดพระแก้ว สามารถใช้ทางออกมิวเซียมสยาม แล้วเดินตรงไปตามถนนสนามชัย วัดพระแก้วจะอยู่ฝั่งซ้ายมือ
ขอบคุณภาพจาก วิกิพิเดีย

สถานี อิสรภาพ

ตั้งอยู่บริเวณซอยอิสรภาพ 23 จนถึงซอยอิสรภาพ 34 เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจุดสุดท้ายของช่วงนี้ มีทางขึ้นลง 2 จุด
ทำเลที่ตั้ง และทางเข้า-ออก

ตำแหน่งของสถานีอิสรภาพ

แผนผังแสดงทางเข้า-ออก ซึ่งมีทั้งหมด 2 ทาง และลิฟท์ 2 ตัว

จุดที่ 1 - ซอยอิสรภาพ 23 ซอยฝั่งเลขคี่ 

จุดที่ 2 - ซอยอิสรภาพ 34 ซอยฝั่งเลขคู่
สถานียกระดับบนดิน 

สถานี ท่าพระ 

จากรถไฟฟ้าใต้ดินจะเปลี่ยนเป็นสถานีลอยฟ้าที่สถานีนี้เป็นที่แรก สถานีนี้ตั้งอยู่ที่แยกท่าพระ ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่าง ถนนเพชรเกษม ถนนจรัญสนิทวงศ์ และถนนรัชดาภิเษก เป็นสถานีร่วม (Interchange) กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ (ที่จะเปิดให้บริการประมาณต้นปี 2563)
ทำเลที่ตั้ง และทางเข้า-ออก

ตำแหน่งของสถานีท่าพระ

แผนผังแสดงทางเข้า-ออก ซึ่งมีทั้งหมด 5 ทาง และลิฟท์ 3 ตัว

สถานีท่าพระ มี 2 ชั้น ชั้นแรกเป็นสายหัวลำโพง-หลักสอง ชั้นที่สองเป็นสายบางซื่อ-ท่าพระ

จุดที่ 1 - ตรงหัวมุมที่เชื่อมระหว่างถนนจรัญสนิทวงศ์ และถนนเพชรเกษม มีทั้งบันไดเลื่อน ลิฟท์ และบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 2A - ถนนเพชรเกษมฝั่งเลขคี่ (ฝั่ง Ideo ท่าพระ-อินเตอร์เชนจ์)

จุดที่ 2B - ตรงหัวมุมที่เชื่อมระหว่างถนนรัชดาภิเษก และถนนเพชรเกษม มีบันไดเลื่อน และบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 3 - ถนนเพชรเกษมฝั่งเลขคู่ ทั้งบันไดเลื่อน ลิฟท์ และบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 4 - ถนนจรัญสนิทวงศ์ฝั่งเลขคู่ ลงมาจะเห็นทางเข้าโครงการเดอะ ไพรเวซี่ ท่าพระ อินเตอร์เชนจ์ พอดี

สถานี บางไผ่ 

ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม ช่วงซอยเพชรเกษม 22 หน้าโรงพยาบาลบางไผ่ ใกล้กับโรงพยาบาลพญาไท 3 
ทำเลที่ตั้ง และทางเข้า-ออก

ตำแหน่งของสถานีบางไผ่

แผนผังแสดงทางเข้า-ออก ซึ่งมีทั้งหมด 4 ทาง และลิฟท์ 2 ตัว

จุดที่ 1 - ใกล้ซอยเพชรเกษม 19/1 มีลิฟท์ และบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 2 - ใกล้ซอยเพชรเกษม 19/2 

จุดที่ 3 - ซอยเพชรเกษม 22 มีลิฟท์ และบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 4 - ซอยเพชรเกษม 22 หน้าโรงพยาบาลบางไผ่ มีบันไดเลื่อน และบันไดขึ้น-ลง
สถานที่น่าสนใจใกล้สถานีบางไผ่

โรงพยาบาลบางไผ่ สามารถออกทางออกจุดที่ 3 และ 4 ลงมาจะเห็นซอยเพชรเกษม 22 หน้าโรงพยาบาลบางไผ่พอดี

โรงพยาบาลพญาไท 3 สามารถออกทางออกจุดที่ 2 แล้วเดินเลยซอยเพชรเกษม 19/2 ไปไม่ไกลจะเห็น โรงพยาบาล

สถานี บางหว้า

ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม ระหว่างแยกบางหว้า และซอยเพชรเกษม 34 และเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ช่วงสนามกีฬา-บางหว้า ซึ่งเปิดให้บริการแล้วในปัจจุบัน 
ทำเลที่ตั้ง และทางเข้า-ออก

ตำแหน่งของสถานีบางหว้า

แผนผังแสดงทางเข้า-ออก สำหรับสายสีน้ำเงินมี 2 ทาง ลิฟท์ 1 ตัว ตามรูป
แต่หากรวมกับทางเข้า-ออกของ BTS บางหว้าจะมีทางเข้า-ออกทั้งหมด 5 ทาง และมีลิฟท์ 3 ตัวค่ะ

สถานีบางหว้าตัวสถานีสร้างเสร็จเกือบ 100% แล้วค่ะ

จุดที่ 1 - ซอยเพชรเกษม 32/1 มีลิฟท์ และบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 2 - ซอยเพชรเกษม ฝั่งเลขคี่
ส่วนทางออกที่เหลือสามารถใช้ร่วมกันกับ รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ได้เลย

สถานี เพชรเกษม 48

ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม ช่วงซอยเพชรเกษม 31/1 - ซอยเพชรเกษม 46/2 
ทำเลที่ตั้ง และทางเข้า-ออก

ตำแหน่งของสถานีเพชรเกษม 48

แผนผังแสดงทางเข้า-ออก ซึ่งมีทั้งหมด 4 ทาง และลิฟท์ 2 ตัว

สถานีเพชรเกษม 48 สร้างเสร็จประมาณ 99% แล้วค่ะ

จุดที่ 1 - ซอยเพชรเกษม 46 แยก 2 หน้าปั๊ม ปตท. มีลิฟท์ และบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 2 - ซอยเพชรเกษม 46/2 มีบันไดเลื่อน และบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 3 - ซอยเพชรเกษม ฝั่งเลขคี่ หน้าโชว์รูมซูซูกิ มีลิฟท์ และบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 4 - ซอยเพชรเกษม 31 มีบันไดเลื่อน และบันไดขึ้น-ลง

สถานี ภาษีเจริญ

ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม ตรงห้างฯ ซีคอนบางแค ใครที่จะมาห้างฯ นี้สามารถลงที่สถานีนี้ได้เลย 
ทำเลที่ตั้ง และทางเข้า-ออก

ตำแหน่งของสถานีภาษีเจริญ

แผนผังแสดงทางเข้า-ออก ซึ่งมีทั้งหมด 4 ทาง และลิฟท์ 2 ตัว

สถานีภาษีเจริญ สร้างเสร็จประมาณ 98% แล้ว

จุดที่ 1 - ฝั่งห้างฯ ซีคอนบางแค ช่วงร้าน Hollys Coffee มีลิฟท์ และบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 2 - ฝั่งห้างฯ ซีคอนบางแค จุดนี้มีทางเชื่อมจากรถไฟฟ้าเข้าไปในตัวห้างฯ มีบันไดเลื่อน และบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 3 - ซอยเพชรเกษม ฝั่งเลขคู่ หน้าเสนีย์ ฟู้ด มาร์เก็ต มีลิฟท์ และบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 4 - ซอยเพชรเกษม ฝั่งเลขคู่ หน้าคลินิคทันตกรรมสไมล์ ดิจิตัล มีบันไดเลื่อน และบันไดขึ้น-ลง
สถานที่น่าสนใจใกล้สถานีภาษีเจริญ

ห้างสรรพสินค้า ซีคอนบางแค มีทางขึ้น-ลงหน้าห้างฯ และมีทางเชื่อมเข้าสู่ตัวห้างสรรพสินค้า ได้เลยค่ะ

โรงพยาบาลเพชรเกษม 2 สามารถออกทางออกเดียวกับห้างฯ ซีคอน บางแค ได้เลยเพราะอยู่ฝั่งเดียวกัน

สถานี บางแค

ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม หน้าตลาดบางแค ไม่ไกลจากบ้านบางแค
ทำเลที่ตั้ง และทางเข้า-ออก

ตำแหน่งของสถานีบางแค

แผนผังแสดงทางเข้า-ออก ซึ่งมีทั้งหมด 4 ทาง และลิฟท์ 2 ตัว

จุดที่ 1 - หน้าซอยบางแค คอนโดทาวน์ มีลิฟท์ และบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 2 - ซอยเพชรเกษม 62/3 

จุดที่ 3 - ช่วงหน้าตลาดบางแค มีบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 4 - ใกล้กับถนนบางแค มีบันไดเลื่อน บันไดขึ้น-ลง และลิฟท์อยู่ถัดไป
สถานที่น่าสนใจใกล้สถานีบางแค

ตลาดบางแค สามารถออกทางออกจุดที่ 3 ลงมาที่ตลาดนี้ได้เลย

บ้านบางแค ใช้ทางออกจุดที่ 3 แล้วเดินย้อนกลับมาประมาณ 350 เมตร

สถานี หลักสอง

สถานีปลายทางของสายนี้ ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม ใกล้ห้างฯ เดอะมอลล์บางแค และใกล้แยกที่ตัดกับถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก และยังมีอาคารจอดรถให้ถึง 2 อาคาร 
ทำเลที่ตั้ง และทางเข้า-ออก

ตำแหน่งของสถานีหลักสอง

แผนผังแสดงทางเข้า-ออก ซึ่งมีทั้งหมด 4 ทาง และลิฟท์ 2 ตัว

สถานีหลักสอง สร้างเสร็จประมาณ 99% แล้ว

จุดที่ 1 - ซอยเพชรเกษม 82 มีลิฟท์ และบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 2 - หน้าตลาดหลักสอง มีลิฟท์ และบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 3 - หน้าคอนโด เดอะ พาร์คแลนด์ เพชรเกษม มีบันไดเลื่อน และบันไดขึ้น-ลง

จุดที่ 4 - หน้าเดอะมอลล์บางแค  มีบันไดเลื่อน และบันไดขึ้น-ลง
สถานที่น่าสนใจใกล้สถานีหลักสอง

ห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์บางแค สามารถออกทางออกจุดที่ 4 ได้เลยค่ะ
สำหรับสถานีหลักสอง จะมีอาคารจอดรถให้ถึง 2 อาคาร อาคารแรกจะตั้งอยู่ช่วงซอยเพชรเกษม 80 และฝั่งตรงข้ามกันอีกหนึ่งอาคารตั้งอยู่ช่วงซอยเพชรเกษม 47/1

อาคารนี้จะตั้งอยู่ช่วงซอยเพชรเกษม 80 ฝั่งเดียวกับเดอะมอลล์ บางแค

ตรงข้ามกันจะมีอีก 1 อาคาร ตั้งอยู่ช่วงซอยเพชรเกษม 47/1
สำหรับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-หลักสอง) มีกำหนดทดลองระบบเสมือนจริงในเดือนกรกฎาคม 2562 และเปิดให้บริการจริงในเดือนสิงหาคม 2562 ที่จะถึงนี้ ซึ่งน่าจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเข้าเมืองให้กับใครหลายๆ คนได้อย่างดี และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตชาวฝั่งธนฯ ให้ดียิ่งขึ้นไปอีกค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) ความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)