x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ใครอยากได้บ้านมาทางนี้: มาตรการ "บ้านล้านหลัง" ของ ธอส. ใครมีสิทธิบ้าง กู้ซื้อบ้านโครงการไหนดี

icon 12 ธ.ค. 61 icon 22,577
ใครอยากได้บ้านมาทางนี้: มาตรการ "บ้านล้านหลัง" ของ ธอส. ใครมีสิทธิบ้าง กู้ซื้อบ้านโครงการไหนดี

ใครอยากได้บ้านมาทางนี้: มาตรการ "บ้านล้านหลัง" ของ ธอส. ใครมีสิทธิบ้าง กู้ซื้อบ้านโครงการไหนดี

เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 61 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการ "บ้านล้านหลัง") เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในระดับราคาที่ไม่สูงนัก และเหมาะสมกับศักยภาพของประชาชนแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มคนวัยทำงานที่กำลังเริ่มต้นสร้างครอบครัว โดยการให้สินเชื่อจะเป็นการให้ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ถ้าเราสนใจสินเชื่อบ้านล้านหลังนี้ คำถามคือใครมีสิทธิบ้าง และต้องทำยังไงถ้าต้องการสินเชื่อนี้ วันนี้ Checkraka สรุปง่ายๆ ให้ดูกันครับ

ใครมีสิทธิขอสินเชื่อ "บ้านล้านหลัง" บ้าง?

โครงการนี้เปิดกว้างไม่จำกัดรายได้ ซึ่งก็คือทุกคนสามารถจองโครงการ และขอสินเชื่อบ้านล้านหลังได้ ส่วนจะกู้ผ่านหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของ ธอส. และเครดิตของผู้กู้ตามหลักการที่ ธอส. จะกำหนดด้วย ซึ่งถ้ามองว่า ธอส. มีวงเงินอยู่ 50,000 ล้านบาท และราคาขายบ้านต้องไม่เกิน 1 ล้านบาท ก็หมายความว่าคนที่จะได้สินเชื่อก็จะมีอย่างต่ำประมาณ 50,000 คน โดยผู้ที่จะขอสินเชื่อได้จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ซึ่งจะได้อัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขการชำระคืนที่ต่างกันดังนี้

(ก) ผู้ขอสินเชื่อรายย่อยมีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาท/คน/เดือน (กรอบวงเงิน 20,000 ล้านบาท) จะได้อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1- ปีที่ 5 คงที่ 3.00% ต่อปี ปีที่ 6 จนถึงตลอดอายุสัญญากู้เงิน MRR- 0.75% กรณีกู้ 1 ล้านบาท ผ่อนชำระ 5 ปีแรก เริ่มต้นเพียง 3,800 บาทเท่านั้น
(ข) ผู้ขอสินเชื่อรายย่อยที่มีรายได้เกิน 25,000 บาท/คน/เดือน (กรอบวงเงิน 30,000 ล้านบาท) จะได้อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1- ปีที่ 3 คงที่ 3.00% ต่อปี ปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญาเงินกู้ MRR- 0.50% กรณีกู้ 1 ล้านบาท ผ่อนชำระ 3 ปีแรก เริ่มต้นเพียง 3,800 บาท

สินเชื่อได้แค่ไหน และเงื่อนไขการชำระคืนจะเป็นอย่างไร

วงเงินทั้งโครงการบ้านล้านหลังนี้ คือ 50,000 ล้านบาท แต่วงเงินกู้สำหรับรายย่อยแต่ละรายจะไม่เกิน 1 ล้านบาท และระยะเวลาผ่อนชำระจะนานได้สูงสุดถึง 40 ปี โดยเงื่อนไขเรื่องดอกเบี้ย และอัตราการผ่อนชำระจะแตกต่างกันสำหรับผู้กู้ 2 ประเภทดังนี้คือ
(ก) ผู้กู้รายได้ไม่เกิน 25,000 บาท/คน/เดือน
  • อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 ถึงปีที่ 5 คงที่ 3.00% ต่อปี
  • ปีที่ 6 จนถึงตลอดอายุสัญญากู้เงิน กรณีสวัสดิการ MRR - 1% ต่อปี กรณีรายย่อย MRR- 0.75% (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ธอส. เท่ากับ 6.75% ต่อปี)
  • กรณีกู้ 1 ล้านบาท ผ่อนชำระ 5 ปีแรก เริ่มต้นเพียง 3,800 บาทเท่านั้น
  • ส่วนกรณีผู้ประกอบอาชีพประจำหรืออาชีพอิสระที่มีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาท สามารถนำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้าน หรือ ผ่อนชำระเงินดาวน์บ้านไม่น้อยกว่า 12 เดือน มาประกอบการพิจารณา เพื่อคำนวณรายได้เพิ่มเติมได้
(ข) ผู้กู้รายได้เกิน 25,000 บาท/คน/เดือน
  • อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1- ปีที่ 3 คงที่ 3.00% ต่อปี
  • ปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญาเงินกู้ กรณีสวัสดิการ MRR- 1% ต่อปี กรณีรายย่อย MRR- 0.50%
  • เงินกู้ 1 ล้านบาท ผ่อนชำระ 3 ปีแรก เริ่มต้นเพียง 3,800 บาท เช่นกัน

บ้าน ทาวน์โฮม หรือทาวน์เฮ้าส์ไหนที่ขอกู้ได้บ้าง

โดยหลักแล้ว ที่อยู่อาศัยที่เราจะขอกู้โครงการบ้านล้านหลังนี้ได้มีทั้งแนวราบ (บ้าน ทาวน์โฮม ทาวน์เฮ้าส์ และบ้านแฝด) และแนวสูง (ห้องชุดคอนโดมิเนียม) โดยครอบคลุมทั่วประเทศเลยที่ราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท และมีทั้งมือหนึ่ง และมือสองโดยรวมแล้วประมาณ 270,000 หลัง จากแหล่งดังต่อไปนี้
  • โครงการของผู้ประกอบการเอกชน เช่น โครงการคอนโดของ บมจ. พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค
  • ทรัพย์รอการขายของ ธอส. https://www.ghbhomecenter.com
  • ทรัพย์รอการขายของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
  • ทรัพย์รอการขายของบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (BAM) และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิทจำกัด (SAM) (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sam.or.th และ http://www.bam.co.th
  • ทรัพย์ขายทอดตลาด-เจ้าหนี้อื่นๆ ของกรมบังคับคดี
  • โครงการของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในเว็บไซต์นี้ https://www.nha.co.th
โดยสัดส่วนของที่อยู่อาศัยที่เข้าร่วมในโครงการนี้เยอะที่สุด คือจากการเคหะแห่งชาติ (ประมาณ 74,000 หลัง) และทรัพย์ขายทอดตลาดของกรมบังคับดี (ประมาณ 77,000 หลัง) ตามมาด้วยทรัพย์รอการขาย หรือขายทอดตลาดของ ธอส. (ประมาณ 60,000 หลัง) และโครงการใหม่มือหนึ่งของผู้ประกอบการของเอกชน (ประมาณ 45,000 หลัง) ตัวอย่างของโครงการจากเอกชนก็เช่น
อยู่รวย คอนโด นวมินทร์ 135

บรรยากาศ Sales Office โครงการอยู่รวย คอนโด นวมินทร์ 135
พลัม คอนโด พหลโยธิน 89

ภาพจำลองบรรยากาศห้องตัวอย่าง โครงการพลัม คอนโด พหลโยธิน 89
ลุมพินี ทาวน์ชิป รังสิต คลอง 1

บรรยากาศห้องตัวอย่าง โครงการลุมพินี ทาวน์ชิป รังสิต คลอง 1

หากสนใจต้องทำยังไงบ้าง?

ถ้าเรากำลังมองหาบ้าน หรือคอนโด และบ้านหรือคอนโดนั้นราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท เราจะสามารถขอกู้จากโครงการบ้านล้านหลังนี้ได้ โดยขั้นตอนจะเป็นดังนี้
(ก) เลือกโครงการที่สนใจ โดยอาจเข้าไปดูในเว็บไซต์เหล่านี้
(ข) หากเลือกได้แล้วให้ติดต่อจองไว้และติดต่อยื่นคำขอกู้กับ ธอส. โดยสามารถยื่นกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2562 เป็นต้นไป และจะต้องปิดสินเชื่อ และโอนกรรมสิทธิ์ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2562 หรือภายใต้กรอบวงเงินที่ ธอส. อาจกำหนด
ใครสนใจอยากได้บ้านพร้อมสินเชื่อในโครงการ "บ้านล้านหลัง" นี้ เตรียมตัวกันได้เลยนะครับ ยิ่งเตรียมตัวพร้อม เตรียมตัวดี โอกาสได้สินเชื่อยิ่งสูงครับ โดยหากใครสนใจวิธีการเพิ่มโอกาสขอสินเชื่อให้ได้ ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบทความนี้นะครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ธอส. บ้านล้านหลัง ธอส มาตราการรัฐ
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)