x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

10 ขั้นตอนที่ต้องรู้ในการรีไฟแนนซ์บ้าน

icon 18 ก.ค. 66 icon 10,841
10 ขั้นตอนที่ต้องรู้ในการรีไฟแนนซ์บ้าน
สำหรับคนที่ผ่อนบ้านได้ระยะหนึ่งแล้ว เช่น ผ่อนมาสามปี จนครบเงื่อนไขปลดล็อกและสามารถที่จะรีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่เพื่อให้ดอกเบี้ยลดลง ... การรีไฟแนนซ์บ้านอาจทำให้หลายคนปวดหัว เพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไง จับต้นชนปลายไม่ถูก บทความนี้ขออาสาคลายความกังวลให้ด้วย "10 ขั้นตอนที่ต้องรู้ในการรีไฟแนนซ์บ้าน" จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ติดตามกันได้เลยครับ
ขั้นตอนที่ 1 : ตรวจสอบดอกเบี้ยของธนาคารต่างๆ
ขั้นตอนแรกๆ ที่เราควรทำก็คือ เราต้องตรวจสอบดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารต่างๆ ว่ามีอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างไรบ้าง ทั้งนี้เราต้องเปรียบเทียบว่าธนาคารไหนให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด โดยการเปรียบเทียบข้อมูลถึงข้อดีข้อเสีย เช่น ความสะดวกในการเดินทางไปติดต่อยังสาขาของธนาคาร การบริการของเจ้าหน้าที่ ความรวดเร็วในการประสานงาน ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการรีไฟแนนซ์ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 : คำนวณดูว่าจะประหยัดค่างวดไปได้แค่ไหน
เมื่อได้ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินต่างๆ มาแล้ว เราต้องลองมาคำนวณดูว่าเมื่อรีไฟแนนซ์ไปแล้วจะประหยัดค่างวดได้จริงหรือไม่ และประหยัดได้แค่ไหน ...
โดยจากประสบการณ์แล้ว ส่วนใหญ่การรีไฟแนนซ์ใหม่จะประหยัดเงินไปได้เยอะพอตัวทีเดียว เพราะเมื่อเทียบกับการที่เราไม่รีไฟแนนซ์ และผ่อนกับที่เก่า แต่อัตราดอกเบี้ยหลังผ่อนครบสามปีไปแล้วจะขึ้นแพงกระฉูดมากๆ เลยครับ และถ้าที่ทำงานเรามีสิทธิพิเศษสำหรับบางธนาคาร จะยิ่งเป็นแต้มต่อได้สองเด้ง แบบนี้เราควรรีไฟแนนซ์โดยพลัน
ขั้นตอนที่ 3 : เตรียมหลักฐาน ไปติดต่อกับธนาคาร
เมื่อเราได้เป้าหมายของธนาคารที่เราคิดจะรีไฟแนนซ์แล้ว ก็ต้องเตรียมเอกสารหลักฐานให้พร้อม โดยเอกสารหลักฐานหลักๆ มีดังต่อไปนี้
หลักฐานเกี่ยวกับตัวผู้กู้
  • สำเนาบัตรประชาชน/รัฐวิสาหกิจ หรือ ข้าราชการพร้อมฉบับจริง
  • สำเนาทะเบียนบ้าน ทุกหน้าถึงหน้าเปล่า พร้อมฉบับจริง
  • สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ในมรณะบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่ พร้อมฉบับจริง
  • สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรสพร้อมฉบับจริง
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล(ถ้ามี)พร้อมฉบับจริง
  • หลักฐานเกี่ยวกับรายได้
หลักฐานเกี่ยวกับรายได้
กรณีประกอบอาชีพประจำ
  • ใบรับรองเงินเดือน (ฉบับจริง) หรือ หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการข้อตกลง (ฉบับจริง)
  • สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับรองเงินเดือนปัจจุบัน 3 เดือน ย้อนหลัง (ฉบับจริง )
  • สำเนาบัญชีเงินฝากแสดงรายการย้อนหลัง 6 เดือน หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ พร้อมฉบับจริง หรือ Statement พร้อมรับรอง
กรณีประกอบอาชีพอิสระ
  • สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วนฯ (ภงต.90, 91, ทวิ 50, หนังสือหักภาษี ณ ที่จ่าย) *กรณีประกอบธุรกิจ
  • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้ พร้อมใบเสร็จตัวจริงจากกรมสรรพากร ย้อนหลัง 6 เดือน *กรณีประกอบธุรกิจ
  • รูปถ่ายกิจการ จำนวน 3-4 รูป *กรณีประกอบธุรกิจ
  • สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
  • ใบอนุญาตประกอบการ *กรณีประกอบอาชีพส่วนตัว
  • บัญชีหมุนเวียนในกิจการย้อนหลัง 12 เดือน
หลักฐานเกี่ยวกับหลักประกัน
  • ใบเสร็จการผ่อนชำระย้อนหลัง 24 เดือน จากสถาบันการเงินเดิม (ฉบับจริง) ถ้าเพื่อนๆ เก็บใบเสร็จการผ่อนบ้านของธนาคารเดิมไว้ครบหมด ก็ไม่มีปัญหาครับ แต่ถ้าทำใบเสร็จหายไม่ครบ ต้องไปขอ statement การผ่อนชำระบ้านกับธนาคารเก่า  
  • สำเนาโฉนดที่ดิน/นส.3ก/หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด/อช.2 (2ชุด) พร้อมรับรองจาก สนง.ที่ดิน ซึ่งต้องไปขอคัดสำเนาจากสำนักงานที่ดิน เขตที่บ้านเราอยู่นะครับ เสียค่าธรรมเนียม 50 บาท แนะนำให้ไปแต่เช้านะครับ เพราะสำนักงานที่ดิน คนมาติดต่อเยอะมากๆ
  • สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกัน เช่น โฉนดที่ดิน หรือหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (ขนาดเท่าตัวจริงทุกหน้า)
  • ใบอนุญาตปลูกสร้าง/หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง เช่น สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดิน (ทด.13) หรือหนังสือสัญญาให้ที่ดิน (ทด.14 )
  • แผนที่ตั้งหลักประกันโดยสังเขป
  • สำเนาสัญญากู้เงินกับสถาบันการเงินเดิม
  • สำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน
  • หลักฐานการเป็นเจ้าของอาคาร เช่น หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน ท.ด. 13 หรือใบคำขอเลขที่บ้านในนามผู้ถือกรรมสิทธิ์
ขั้นตอนที่ 4 : ยื่นกู้
เมื่อเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้วก็ทำเรื่องยื่นกู้ซึ่งขั้นตอนจะคล้ายกับการขอสินเชื่อใหม่ โดยทำการกรอกข้อมูลขอรีไฟแนนซ์ที่ธนาคารใหม่ตามแบบฟอร์มที่ทางธนาคารกำหนด
ขั้นตอนที่ 5: เจ้าหน้าที่มาประเมินสินทรัพย์
หลังจากส่งเอกสารยื่นเรื่องไปแล้ว รอประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะมีเจ้าหน้าที่มาประเมินสินทรัพย์ เพื่อประเมินยอดเงินที่จะปล่อยให้กับเรา เราอาจจะต้องลางาน เปิดบ้านเพื่อให้เจ้าหน้าที่มาประเมิน โดยเราต้องจ่ายเงินค่าประเมินให้กับเจ้าหน้าที่ บางแห่งเขาอาจเรียกเก็บเงินตั้งแต่เรากรอกเอกสารที่ธนาคาร
ขั้นตอนที่ 6 : รอผลอนุมัติ
ขั้นตอนนี้ เป็นการอดทนรอคอยเสียหน่อย โดยปกติแล้วควรจะแจ้งผลว่าผ่านการขอสินเชื่อหรือไม่ภายใน 1-2 สัปดาห์ หากช้ากว่านี้ควรรีบโทรไปตามทันที
ขั้นตอนที่ 7 : นัดวันไถ่ถอนกับทางธนาคารเก่า
เมื่อธนาคารใหม่อนุมัติวงเงินมาแล้ว ก็ต้องนัดวันไถ่ถอนบ้านกับทางธนาคารเก่าที่สำนักงานที่ดิน โดยขั้นตอนนี้เราจะเป็นคนติดต่อธนาคารเก่าเอง หรือบางครั้งลองแจ้งให้ทางธนาคารใหม่ช่วยติดต่อให้ ถ้าเราติดต่อเองเราต้องแจ้งชื่อผู้รับมอบอำนาจของทางธนาคารที่จะไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดิน และเราต้องแจ้งยอดหนี้ ซึ่งเป็นเงินต้นบวกกับดอกเบี้ยจนถึงวันไถ่ถอนแก่ธนาคารใหม่
ขั้นตอนที่ 8 : ทำสัญญา โอนทรัพย์ที่ใช้จดจำนอง
จากนั้นทำการติดต่อกับธนาคารใหม่เพื่อนัดวันทำสัญญา และโอนทรัพย์ที่ใช้จำนอง ซึ่งต้องเป็นวันเดียวกันกับวันที่จะชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเดิมที่เราติดหนี้สินเชื่ออยู่
ขั้นตอนที่ 9 : ทำเรื่องโอน ณ.สำนักงานที่ดิน
จากนั้นจะทำเรื่องโอน ณ.สำนักงานที่ดินในเขตที่สินทรัพย์ หรือบ้านของเราตั้งอยู่ โดยธนาคารใหม่จะนำสัญญาไปให้เราเซ็นที่สำนักงานที่ดิน ธนาคารใหม่จะออกเช็คจ่ายให้กับธนาคารเก่า ธนาคารเก่าจะมอบโฉนดที่ได้มาจากสำนักงานที่ดินให้กับธนาคารใหม่ เป็นอันเสร็จสิ้นการโอน โดยมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้
จ่ายให้กับสถาบันการเงินเดิม
  • ค่าเบี้ยปรับในกรณีผู้กู้ไถ่ถอนก่อนกำหนด ต้องเสียค่าปรับเฉลี่ยในอัตราตั้งแต่ 1 - 5% ของวงเงิน ที่ขอกู้ หรือยอดเงินต้นคงเหลือ ซึ่งปกติแต่ละสถาบันการเงินจะมีระยะเวลาห้ามไถ่ถอน 3 ปี ซึ่งผมก็รอให้ครบ 3 ปี จึงทำการรีไฟแนนซ์ ซึ่งทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ประหยัดไปได้เยอะหลายหมื่นเลยนะครับ
  • ค่าขอ statement การผ่อนชำระย้อนหลัง 24 เดือน จากสถาบันการเงินเดิม (ฉบับจริง)
จ่ายให้กับสถาบันการเงินใหม่
  • ค่าธรรมเนียมในการปล่อยกู้ของสถาบันการเงินแห่งใหม่ สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดสินเชื่อรีไฟแนนซ์ในสัญญาฉบับใหม่นั้น บางสถาบันการเงินก็จะไม่ได้เรียกเก็บ ในขณะที่บางแห่งก็จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมปล่อยกู้เฉลี่ยประมาณ 0 -3% ของวงเงินกู้ใหม่ โดยผู้กู้จะต้องจ่ายชำระให้กับทางสถาบันการเงินแห่งใหม่ ซึ่งสถาบันการเงินที่ผมขอรีไฟแนนซ์มีโปรโมชั่นฟรีในส่วนนี้ ประหยัดไปได้อีกแล้วครับ
  • ค่าประเมินราคาของหลักประกัน โดยทั่วๆ ไป ทางสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้แห่งใหม่ จะคำนวณราคาของหลักประกันจากทำเลของหลักประกัน จำนวนวงเงินที่ขอกู้และอิงตามราคาประเมินของกรมที่ดิน ซึ่งจะเฉลี่ยอยู่ตั้งแต่ 0.25 - 2% ของราคาประเมินจากกรมที่ดิน หรือคิดเป็นจำนวนเงินตั้งแต่ 1,500 ถึง 10,000 บาท ซึ่งบางสถาบันการเงินจะมีโปรโมชั่นฟรีในส่วนนี้ โดยส่วนมากโปรโมชั่นพวกนี้มักจะมีในช่วง money expo ต่างๆ
  • ค่าประกันอัคคีภัยกับสถาบันการเงินแห่งใหม่ โดยจะคิดจากมูลค่าของหลักประกัน โดยอัตราค่าประกันอัคคีภัยของสถาบันการเงินแต่ละแห่งอาจจะไม่เท่ากัน ผู้กู้จึงต้องพิจารณาจากนโยบายของแต่ละสถาบันการเงินเป็นสำคัญ
จ่ายให้กับกรมที่ดิน
  • ค่าธรรมเนียมในการจำนองกับกรมที่ดิน โดยค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% ของวงเงินที่ยื่นขอกู้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยจะเป็นการจ่ายชำระให้กับกรมที่ดิน ซึ่งสถาบันการเงินที่ผมขอรีไฟแนนซ์มีโปรโมชั่น ถ้าผ่อนชำระตรงกำหนดงวดครบ 48 เดือน จะได้เงินคืนในส่วนค่าธรรมเนียมการจดจำนองนี้ครับ ถ้ามีวินัยในการชำระเงินผ่อนที่ดี ตรงต่อเวลา ก็จะได้เงินคืนเมื่อครบกำหนด 48 เดือน
  • ค่าอากรแสตมป์ตามวงเงินกู้ที่ยื่นขอ สำหรับการยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านทุกครั้ง ผู้กู้จะมีหน้าที่การจ่ายค่าอากรแสตมป์ ซึ่งคิดจากยอดวงเงินกู้ที่ยื่นขอไว้ ในอัตรา 0.05% ของวงเงินขอกู้ใหม่
ขั้นตอนที่ 10 : ผ่อนชำระค่างวดกับธนาคารใหม่
เมื่อทำทุกอย่างเสร็จสิ้น สิ่งที่เราต้องทำต่อก็คือ ผ่อนชำระค่างวดกับธนาคารใหม่ ด้วยอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ลดลง และช่วยทำให้ภาระการผ่อนค่าบ้านของเราเบาลงได้ ไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ^^

 
แท็กที่เกี่ยวข้อง รีไฟแนนซ์บ้าน ข้อแนะนำในการรีไฟแนนซ์ สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน 10 ขั้นตอนที่ต้องรู้ในการรีไฟแนนซ์บ้าน ขั้นตอนรีไฟแนนซ์บ้าน
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)