x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ไขข้อข้องใจ ? "บ้านแฝด" ต่างจาก "ทาวน์เฮ้าส์" ยังไง เลือกซื้อแบบไหนดี

icon 16 พ.ย. 65 icon 38,625
ไขข้อข้องใจ ? "บ้านแฝด" ต่างจาก "ทาวน์เฮ้าส์" ยังไง เลือกซื้อแบบไหนดี
การที่เราจะเลือกที่อยู่อาศัยในลักษณะใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น จำนวนสมาชิกในครอบครัว งบประมาณในการซื้อ ทำเลที่ตั้ง ความสะดวกสบาย เป็นต้น ในวันนี้เราจะมาเปรียบเทียบระหว่างทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม กับ บ้านแฝด ว่ามีข้อดี-ข้อเสีย มีความแตกต่างกันอย่างไร เลือกซื้อแบบไหน ถึงจะเหมาะกับเรา ลองทำความเข้าใจกันถึงรายละเอียดของบ้านทั้งสองแบบกันดูสักนิดเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจกันค่ะ
บ้านแฝด - ความหมาย
"บ้านแฝด" คือบ้านที่สร้างขึ้นเป็นคู่ มีลักษณะเหมือนกันทั้งสองหลัง มีส่วนของบ้านด้านหนึ่ง (ฝาบ้าน) ติดกัน หรือส่วนอื่นติดกันก็ได้ กฎหมายกำหนดให้บ้านแฝดต้องมีขนาดที่ดินไม่ต่ำกว่า 35 ตารางวา ความกว้างของที่ดินสองหลังไม่ต่ำกว่า 16 เมตร โดยแบ่งข้างละ 8 เมตร สูงไม่เกิน 3 ชั้น บ้านแฝดจะมีบริเวณคล้ายบ้านเดี่ยวแต่น้อยกว่า การเว้นระยะด้านหน้าเว้นไม่ต่ำกว่า 3 เมตร ด้านข้างและด้านหลังหลังเว้นไม่ต่ำกว่า 2 เมตร กรณีที่บ้านแฝดไม่ติดถนนสาธารณะ ให้เพิ่มระยะด้านหน้าเป็น 6 เมตร
ตัวอย่างบ้านแฝด 2 ชั้น ที่มีผนังส่วนหนึ่งติดกัน
ตัวอย่างบ้านแฝด 3 ชั้น ที่มีผนังชั้นล่างติดกันทั้งหมด
ปัจจุบันบ้านแฝดถูกพัฒนาขึ้นและปรับเปลี่ยนให้มีลักษณะใหม่ ด้วยชื่อเรียกใหม่ เช่น บ้านแนวคิดใหม่ บ้านรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการบางรายเลยสร้างให้ห้องน้ำ ห้องแม่บ้าน หรือห้องครัวติดกัน แต่ตัวบ้านหลักเหมือนแยกกันเป็น 2 หลัง ซึ่งทำให้มองแทบไม่ออกว่าเป็นบ้านแฝด หรือผู้ประกอบการณ์หลายรายที่ใช้จุดเด่นเรื่องคานเชื่อมที่ใต้ดินมาใช้ในการสร้างบ้านแฝด ทำให้มองไม่เห็นถึงส่วนที่ติดกันของบ้าน เมื่อมองจากภายนอก จึงให้ความรู้สึกเหมือนได้บ้านเดี่ยว ที่มีเนื้อที่ดินเล็กลงเท่านั้นเอง
ตัวอย่างบ้านแฝด 2 ชั้น ที่มีคานเชื่อมใต้ดินตรงโรงจอดรถร่วมกัน ทำให้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าว่าเป็นบ้านแฝด
ตัวอย่าง Lay Out ของบ้านแฝด
ข้อดี - ข้อเสียของบ้านแฝด
ข้อดี 
  • ราคาไม่แพงเท่าบ้านเดี่ยว 
  • มีฟังก์ชั่นการใช้งานในบ้านครบเทียบเท่าบ้านเดี่ยว
  • ให้ความรู้สึกโปร่ง โล่ง เพราะมีหน้าต่างได้หลายด้าน
  • หากบ้านแฝดหลังที่ติดกันเป็นคนรู้จัก หรือสนิทกัน จะรู้สึกอุ่นใจ สามารถช่วยเหลือกันดูแลบ้านในช่วงเวลาที่ไม่อยู่บ้านได้
  • มีพื้นที่ด้านข้างบ้าน ข้างใดข้างหนึ่งของบ้าน อาจจะจัดสวนเล็กๆ ทำทางเดิน ทำให้รู้สึกโปร่งกว่าทาวน์เฮ้าส์ เพราะไม่ได้ถูกขนาบด้วยผนังทั้งสองข้าง
ข้อเสีย
  • ด้วยเนื้อที่ดิน และพื้นที่ใช้สอยที่มากกว่า ทำให้ราคาสูงกว่าทาวน์เฮ้าส์พอสมควร
  • ความเป็นส่วนตัวน้อยกว่าบ้านเดี่ยวเพราะมีผนังด้านหนึ่งติดกับคนอื่น
  • บ้านแฝดที่มีกำแพงหรือผนังด้านหนึ่งติดกันกับเพื่อนบ้าน หากบ้านด้านข้างส่งเสียงดัง อาจทำให้เกิดความรำคาญได้
  • บ้านแฝดที่ใช้โครงลานจอดรถร่วมกัน เวลาเลื่อนประตูบ้าน หรือมีรถเข้ามาจอด อาจทำให้ได้ยินเสียงรถชัดเจนกว่าปกติ
  • บ้านแฝดใช้เนื้อที่ดินพอสมควร ทำเลที่ตั้งจึงไม่ได้อยู่ใจกลางเมือง หากอยู่ใจกลางเมืองจะมีราคาค่อนข้างสูงมาก
ทาวน์เฮ้าส์ - ความหมาย
"ทาวน์เฮ้าส์" หรือ บ้านแถว คือที่อยู่อาศัยที่สร้างติดกันหลายหลัง มีผนังติดกันทั้งสองด้าน จึงมีราคาถูกกว่าบ้านแฝด ส่วนใหญ่มี 2 ชั้น หรือชั้นเดียวก็ได้ ตามกฎหมายทาวน์เฮ้าส์ต้องมีขนาดที่ดินไม่ต่ำกว่า 16 ตารางวา มีหน้ากว้างไม่ต่ำกว่า 4 เมตร ลึกไม่เกิน 24 เมตร ทาวน์เฮ้าส์ที่ปลูกเป็นแนวยาว อาจมีตั้งแต่ชั้นเดียวขึ้นไป แต่ต้องไม่เกิน 3 ชั้น (ไม่นับชั้นลอย) ความยาวที่สร้างต่อเนื่องกันในหนึ่งแถวต้องไม่เกิน 40 เมตร ด้านหน้าเว้นไม่ต่ำกว่า 3 เมตร ด้านข้างและหลังเว้นไม่ต่ำกว่า 2 เมตร  กรณีที่ทาวน์เฮ้าส์ไม่ติดถนนสาธารณะ ให้เพิ่มระยะด้านหน้าเป็น 6 เมตร
ตัวอย่างทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น 
ตัวอย่างทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้น 
ตัวอย่าง Lay Out ของทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้น
ข้อดี-ข้อเสียของทาวน์เฮ้าส์
ข้อดี
  • ทาวเฮ้าส์มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับบ้านเดี่ยว และบ้านแฝด ในทำเลเดียวกัน
  • แม้จะมีขนาดที่ดินเล็กกว่าบ้านแฝด แต่พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านมีให้ครบพอๆ กัน
  • เนื่องจากบ้านอยู่ติดกัน ทำให้มีเพื่อนบ้านคอยช่วยเป็นหูเป็นตาให้ เวลาที่เราไม่อยู่บ้าน 
  • การดูแลรักษาง่ายกว่า บ้านแฝด เพราะมีขนาดที่เล็กกว่า และ ไม่ต้องเสียเวลาดูแลสวน ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้พอสมควร
  • ดัดแปลงให้เป็นที่ทำงาน ร้านเล็กๆ และเป็นที่พักอาศัยในหลังเดียวกันได้
  • หากเป็นโครงการที่มีส่วนกลางให้ใช้ ค่าส่วนกลางที่ต้องจ่ายจะน้อยกว่าบ้านแฝดหรือบ้านเดี่ยว เพราะมีพื้นที่น้อยกว่ามาก
  • สามารถหาได้ในทำเลใจกลางเมือง เนื่องจากใช้เนื้อที่ดินในการสร้างน้อย
ข้อเสีย
  • ทาวน์เฮ้าส์ที่หน้าแคบจะมีพื้นที่ใช้งานน้อยกว่า บ้านแฝด 
  • อาจรู้สึกอึดอัดเพราะผนังที่ติดกับคนอื่นไม่สามารถติดตั้งหน้าต่างได้ 
  • การแชร์ผนังกับบ้านหลังอื่น หรือการใช้หลังคาร่วมกัน บางครั้ง เวลาเกิดการรั่วซึม อาจมีสาเหตุมาจากข้างบ้าน
  • มีความเป็นส่วนตัวน้อยกว่าการอยู่บ้านแฝด อาจเกิดปัญหากระทบกระทั่งกับเพื่อนบ้านได้ง่าย เช่น จอดรถล้ำเขตบ้าน, จอดรถปิดทางเข้าหน้าบ้าน, ทิ้งขยะบ้านคนอื่น เป็นต้น
  • ปัญหาเรื่องเสียง เนื่องจากผนังที่ติดกัน หากบ้านข้างๆ ส่งเสียงดัง ทำให้เราได้รับผลจากเสียงนั้นได้ชัดเจนกว่าบ้านแฝดแน่นอน
  • ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เพราะทาวน์เฮ้าส์จะไม่มีพื้นที่สนามหญ้า (ยกเว้นแปลงมุม) สัตว์เลี้ยงเช่น สุนัขตัวใหญ่ ต้องการพื้นที่พอสมควรในการเลี้ยงดู 
เหมาะกับใคร เลือกซื้อยังไง
ทาวน์เฮ้าส์ - เหมาะสำหรับครอบครัวขนาดเล็ก 2 - 4 คน หรือมากกว่านั้นหากเป็นทาวน์เฮ้าส์หลายชั้น คนที่มีงบประมาณไม่มากนัก แต่ต้องการที่อยู่อาศัยที่มีฟังก์ชั่นครบ ทาวน์เฮ้าส์สามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี จำนวนรถก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อคิดที่จะเลือกซื้อทาวน์เฮ้าส์ เพราะมีพื้นที่ในการจอดรถได้จำกัด หากทาวน์เฮ้าส์ที่มีหน้าหว้าง 4 เมตร จะจอดรถได้คันเดียว ถ้าหน้ากว้าง 5.7 เมตรขึ้นไป จะจอดรถได้ 2 คัน ครอบครัวไหนต้องการพื้นที่ด้านข้างบ้าน ก็สามารถซื้อทาวน์เฮ้าส์หลังมุม ก็จะได้เนื้อที่ด้านข้างบ้านเพิ่มขึ้นมา แต่สิ่งที่ตามมาด้วยคือราคาที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเองค่ะ 
บ้านแฝด - เหมาะสำหรับผู้ที่อยากได้การใช้งาน หรือฟังก์ชั่นที่ใกล้เคียงกับบ้านเดี่ยว มีงบพอสมควรแต่ยังมีไม่มากพอที่จะซื้อบ้านเดี่ยว อาจจะเป็นครอบครัวที่มีเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ ที่ต้องการใช้พื้นที่สนามหญ้าข้างบ้าน เนื่องจากบ้านแฝดมีผนังด้านเดียวที่ติดกับบ้านหลังอื่น อีกด้านเป็นพื้นที่ว่าง และหากบ้านอีกหลังที่ติดกับคุณ คือ เพื่อน พี่น้อง หรือคนรู้จัก ก็จะช่วยให้คุณลดปัญหาเกี่ยวกับเพื่อนบ้านหรือเรื่องความปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น การมีบ้านแฝดจึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยคุณประหยัดงบประมาณในการซื้อบ้านได้มากทีเดียว ปัจจุบันบ้านแฝดถูกพัฒนาขึ้นและปรับเปลี่ยนให้มีลักษณะใหม่ ซึ่งมองแทบไม่ออกว่าเป็นบ้านแฝด เนื่องจากใช้คานเชื่อมที่ใต้ดิน ทำให้มองไม่เห็น จึงให้ความรู้สึกเหมือนได้บ้านเดี่ยว ที่มีเนื้อที่ดินเล็กลงเท่านั้นเองค่ะ ตัวอย่างบ้านแฝด
1. อณาสิริ รังสิต คลอง 2 บ้านแฝดสไตล์ Modern Japansese โดดเด่นด้วยการวาง Facade บ้านให้ไม่ซ้ำกัน
2. อณาสิริ บางนา บ้านแฝด 2 ชั้น ที่มีผนังติดกัน วิวทะเลสาบ
3. อณาสิริ รามคำแหง บ้านแฝด 2 ชั้น สไตล์เมดิเตอร์เรเนียน บรรยากาศอบอุ่นและสดใส
ไม่ว่าจะเป็นบ้านแฝด หรือทาวน์เฮ้าส์ต่างก็เป็นที่อยู่อาศัยที่ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนที่จะเลือกซื้อ เพราะปัจจุบันการเลือกซื้อบ้านหนึ่งหลังราคาก็ไม่ได้ถูกมากนัก และยังต้องรับภาระเรื่องค่าใช้จ่ายไปอีกหลายปี ทั้งนี้ทั้งนั้นการตัดสินใจเลือก ก็ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นราคา ทำเลที่มีความสะดวกสบาย และบ้านนั้นเหมาะกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว ทางเราหวังว่า บทความนี้จะช่วยให้ความรู้เพิ่มเติม และช่วยให้ทุกท่านตัดสินใจซื้อบ้านแบบที่เหมาะสมและถูกใจกันนะคะ
สำหรับใครที่เริ่มสนใจบ้านแฝดฟังก์ชันบ้านเดี่ยว เรามี 4 โครงการบ้านแฝดจากแสนสิริมาแนะนำ กับบ้านแฝดราคาไม่เกิน 4 ล้าน ที่ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นเจ้าของได้ รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก http://bit.ly/3WUCKW0
ค้นหาโครงการ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม คอนโด จากแสนสิริ ที่ตรงใจและตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคุณได้ที่นี่ คลิกเลย http://bit.ly/3hrYHLz
แท็กที่เกี่ยวข้อง ทาวน์เฮ้าส์ เลือกซื้อบ้าน บ้านแฝด ข้อดี town house บ้านแถว
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)