x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

บ้านอัจฉริยะ กับ Internet Of Things...เมื่อทุกสิ่งเชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ต

icon 7 ต.ค. 64 icon 15,140
บ้านอัจฉริยะ กับ Internet Of Things...เมื่อทุกสิ่งเชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ต
หลายคนคงเคยได้ยินประโยค "Internet Of Things หรือ (IoT)" กันมาบ้างนะคะ ที่ว่ากันว่าคือเทคโนโลยีการเชื่อมต่อทุกสิ่งทุกอย่างโดยอาศัยอินเทอร์เน็ต แต่ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไรล่ะ ? เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอย่างไร ? วันนี้ Checkraka.com จะพาไปรู้จักกับเจ้า IoT นี้กันค่ะ ว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะเข้ามามีบทบาทกับการดำเนินชีวิตของเราอย่างไรบ้าง
"Internet Of Things (IoT)" คือการเชื่อมต่อและสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Device) ผ่านอินเทอร์เน็ตโดยมนุษย์ไม่ต้องควบคุม ภาพรวมคือสิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ "สิ่งของสื่อสารกับสิ่งของ" และ "คนสื่อสารกับสิ่งของ" โดยผ่าน อินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากที่สุดก็คงเป็น "บ้านอัจฉริยะ" หรือ "Smart Home" ที่มี Smart Device เป็นของใช้ภายในบ้านอย่างตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศ หรือใช้ผ่านสมาร์ทโฟนคู่กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีการพัฒนาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อ ในต่างประเทศอุปกรณ์สำหรับ Smart Home ถูกผลิตออกมาจำหน่ายและได้รับความนิยมอย่างมากเลยค่ะ สำหรับในประเทศไทยเองก็มีหลายๆ อุปกรณ์ออกมาให้ยลโฉมกันแล้ว เช่น หุ่นยนต์ดูดฝุ่น เป็นต้น

1. ระบบบ้านอัจฉริยะ (Smart Home) ทำอย่างไร ? มีอุปกรณ์อะไรบ้าง ?

"อินเทอร์เน็ต (Internet)" และ "สมาร์ตโฟน (Smartphone)" เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และสองสิ่งนี้ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งสำคัญของการควบคุมระบบต่างๆ ในบ้านสมาร์ทโฮม ปัจจุบันบริษัทเทคโนโลยีหลายๆ เจ้า พยายามแข่งขันกันโชว์เคสเทคโนโลยีสมาร์ทโฮม แต่งานนี้ต้องยกให้ค่ายใหญ่จากเกาหลีอย่าง "Samsung" เลยค่ะ จากกระแสข่าวการเปิดตัว "ซัมซุง สมาร์ทธิงส์ (Samsung SmartThings)" สายผลิตภัณฑ์อุปกรณ์เพื่อ IoT โดยเฉพาะกำลังเป็นที่จับตามองทีเดียว
ลองจินตนาการนะคะ พอเดินเข้าบ้านเซ็นเซอร์ก็ติดต่อกับไฟในบ้านให้เปิดเอง ถ้าอุณหภูมิในบ้านร้อนเกินไป แอร์ก็จะทำงาอัตโนมัติ...นี่ล่ะค่ะเทคโนโลยีบ้านอัจฉริยะสุดล้ำในอนาคตอันใกล้ที่หลายคนรอคอย เพียงแค่มี "อินเทอร์เน็ต" ไม่ว่าจะเป็น LAN หรือ Wireless เชื่อมต่อกับ "สมาร์ทโฟน" เรียกว่าง่ายๆ แค่ปลายนิ้วสัมผัสจริงๆ สำหรับอุปกรณ์ภายในบ้านที่พัฒนาไปสู่อุปกรณ์สำหรับบ้านอัจฉริยะได้ และตอนนี้เริ่มมีให้เห็น แถมหลายๆ บ้านก็นำไปใช้กันแล้ว

ต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่าง ได้แก่

  • ส่วนประกอบที่เป็น "อุปกรณ์เครื่องใช้" (Physical Components) เช่น เครื่องดูดฝุ่น, แอร์, โทรศัพท์มือถือ
  • ส่วนประกอบที่เป็น "มันสมอง" (Smart Components) เช่น ซอฟต์แวร์, เซ็นเซอร์ และ Digital User Interface
  • ส่วนประกอบที่เกี่ยวกับ "การเชื่อมต่อ" (Connectivity Components) เช่น เสาอากาศ, Port และ Network

2. ประโยชน์แบบล้ำๆ สำหรับคนอยู่อาศัย มีอะไรบ้าง?

ถ้าทุกอย่างในบ้านสั่งการได้แค่ปลายนิ้วสัมผัส คนอยู่อาศัยอย่างเราก็ได้ความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้น มีเวลาจัดการกับชีวิตหลายๆ ด้านมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การทำงาน, การเรียน, การทำอาหาร, การทำความสะอาดบ้าน, ให้อาหารสัตว์ รวมถึงการทำกิจกรรมอื่นๆ เรื่องเทคโนโลยีถือเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ เชื่อได้ว่าทุกคนมีอุปกรณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีอยู่ในมืออย่างแน่นอน อุปกรณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมาร์ทโฮมที่เริ่มมีให้เห็นในบางบ้านแล้ว มาดูกันค่ะว่าคุ้นหน้าคุ้นตากันบ้างหรือเปล่า
"IP Camera" หรือกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ต่างจากกล้องวงจรปิดทั่วไปตรงที่เราสามารถดูภาพแบบสดๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยตัวกล้องจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ทำให้ตรวจตราความเรียบร้อยในบ้านผ่านแอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนได้สบายๆ
"หุ่นยนต์ดูดฝุ่นอัตโนมัติ" รูปแบบจานทรงกลมเท่ๆ ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ควบคุมด้วยรีโมท ตั้งเวลาเปิด-ปิด ให้ดูดฝุ่นอัตโนมัติได้ สะดวกต่อการทำความสะอาดเข้าตามซอกตามมุม
"เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ" ไม่ต้องห่วงหมาแมวเวลาที่ไม่อยู่บ้าน เครื่องให้อาหารควบคุมด้วยแอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน ตั้งเวลาให้อาหารได้ทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต

เครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติ สั่งการผ่านสมาร์ตโฟน petoneer

3. ข้อควรระวังในระบบบ้านอัจฉริยะ

 
ยังคงเป็นประเด็นที่ยังไม่มีคำตอบแน่ชัดค่ะว่า Smart Home นั้นจะส่งผลเสียต่อผู้ใช้มากน้อยแค่ไหน เพราะอุปกรณ์ทุกอย่างต้องพึ่งพาระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หากวันใดวันหนึ่งเครือข่ายเกิดล่มหรือมีไวรัส หรือโดนแฮ็กเกอร์ผู้ประสงค์ร้ายเจาะข้อมูลจะส่งผลให้เกิดปัญหากับ Smart Home มากน้อยแค่ไหนกัน? อีกแง่หนึ่งหากมนุษย์ใช้ชีวิตอยู่กับเทคโนโลยีมากเกินไปจะส่งผลต่อร่างกายมากน้อยแค่ไหน จะเป็นการเสพติดเทคโนโลยีหรือไม่ แต่ทั้งนี้เหล่าคนรักเทคโนโลยีทั้งหลายที่สนใจเปลี่ยนบ้านให้เป็นบ้านอัจฉริยะ ก็ต้องศึกษาข้อดีรวมถึงปัญหาอื่นๆ ที่จะตามภายหลังด้วยนะคะ

4. Iot กับ Home Automation ในบ้านเรา

สำหรับในประเทศไทยเริ่มมีการตื่นตัวตอบรับ Internet Of Things (IoT) และ บ้านอัจฉริยะ (Smart Home) กันบ้างแล้ว เมื่อปี 2558  ทางบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ประกาศร่วมมือกับ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดตัว "Samsung Smart Home" เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่นำนวัตกรรมเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนเมือง นำร่องคอนโดมิเนียมโครงการใหม่ "คิว เทอร์ตี้ วัน (Q31)" เป็นโครงการแรกที่ตอบรับไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยให้ดียิ่งขึ้น สะดวกสบาย ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในโครงการบ้านอัจฉริยะของอนันดากับซัมซุงนั้น จะถูกเชื่อมต่อผ่าน "ซัมซุง สมาร์ท ฮับ (Samsung Smart Hub)" ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการป้อนและรับส่งคำสั่งต่างๆ ไปสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าของซัมซุง เช่น สมาร์ททีวี (Smart TV) ฯลฯ ให้สามารถทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ "ซัมซุง สมาร์ท โฮม"สามารถติดตั้งได้ง่ายและไม่ต้องเดินสายไฟ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งคำสั่งต่างๆ จะถูกส่งผ่านจากสมาร์ท แอปพลิเคชั่น (Smart Application) ตรงไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีตัวเชื่อมสัญญาณ
โครงการ "Q THIRTY ONE" มีอุปกรณ์หลายอย่างเป็น Smart Device ที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้ดังนี้ค่ะ
  • ด้านความสะดวกสบาย - ซัมซุง สมาร์ท โฮมช่วยให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านสะดวกสบายและประหยัดเวลา เช่น "เครื่องซักผ้า" ทำงานใกล้เวลาเรากลับบ้าน พร้อมให้เรานำขึ้นตากทันทีเมื่อถึงบ้าน หรือสามารถตั้งอุณหภูมิ "เครื่องปรับอากาศ" ให้เหมาะสม และที่ล้ำหน้าไปกว่านั้นยังสามารถเพิ่มความสะดวกให้กับไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยยุคใหม่ เช่น เมื่อตื่นนอน ไฟจะค่อยๆ เปิดขึ้น ม่านก็จะเปิดอัตโนมัติ เครื่องชงกาแฟเปิดและอุ่นพร้อมสำหรับการดื่มกาแฟ
  • ด้านความปลอดภัย - ซัมซุง สมาร์ท โฮมสามารถตั้งค่าการปิดเปิดประตูชั้นต่างๆ ของบ้านได้ หรือสั่งปิดเปิดประตูจากสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ระบบความปลอดภัยที่ช่วยตรวจตราจากการเคลื่อนไหว หากพบความผิดปกติจะส่งภาพมายังสมาร์ท ทีวีทันที เป็นต้น
  • ด้านสุขภาพ - ซัมซุง สมาร์ท โฮมยังช่วยดูแลด้านสุขภาพของคนในบ้านโดยเฉพาะผู้สูงอายุด้วยระบบที่สามารถวัดจัดหวะการเต้นของหัวใจ ความสม่ำเสมอในการหายใจและการเคลื่อนไหวระหว่างนอนหลับ สามารถส่งสัญญาณไปขอความช่วยเหลืออัตโนมัติถ้าผู้สูงอายุไม่ตอบสนองภายในระยะเวลาที่กำหนดได้
ปัจจุบันก็มีหลายโครงการที่หันมาทำบ้านระบบ Home Automation กันเยอะขึ้น ซึ่งบางโครงการได้พัฒนาแอปพลิเคชั่นเป็นของตัวเอง เชื่อมต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน สามารถควบคุม และสั่งการเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆภายในบ้าน ซึ่งก็จะครอบคลุมทั้งด้านความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และสุขภาพ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นเทคโนโลยีที่มาจาก Iot ทั้งนั้นค่ะ ซึ่งมีโครงการที่น่าสนใจ อยู่หลายโครงการเลยทีเดียวค่ะ
SC Asset พัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ชื่อว่า "รู้ใจ Living Solutions Platform" ที่ลูกบ้านสามารถใช้ได้กับทั้งบ้าน ทาวน์โฮม โฮมออฟฟิศ และคอนโดของ SC Asset ได้เลย มีฟีเจอร์ที่ควบคุมการเปิด–ปิดไฟ เครื่องปรับอากาศ กล้องวงจรปิด และสัญญาณกันขโมย ช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของลูกบ้านให้สะดวกสบาย และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ทางด้าน Sansiri มีแอปพลิเคชั่นที่ชื่อว่า "Sansiri Home" ที่เป็นเหมือนเลขาส่วนตัว สามารถสั่งการทุกสิ่งทุกอย่างภายในบ้านได้เพียงปลายนิ้ว ตั้งเวลา เปิด-ปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน และยังสามารถแจ้งซ่อม แจ้งเตือนพัสดุ บริการต่างๆ และช็อปปิ้งผ่านแอปฯ ได้อีกด้วย

การเข้าถึงเทคโนโลยีเป็นเรื่องง่ายขึ้น หลังจากนี้ เราน่าจะได้เห็น "บ้านอัจฉริยะ" กันมากขึ้น และมันแทบจะกลายเป็นส่วนนึงในชีวิตประจำวันของทุกคนไปในตัว ซึ่งก็มีทั้งประโยชน์และมีข้อเสียอยู่เหมือนกัน เป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้เพื่อพร้อมเปิดรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเหล่านี้กันต่อไปค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง smart home
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)