x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ปัญหาบ้านพื้นทรุด - ป้องกันยังไงดีกับปัญหาแบบนี้ ?

icon 29 มี.ค. 66 icon 59,332
ปัญหาบ้านพื้นทรุด - ป้องกันยังไงดีกับปัญหาแบบนี้ ?
หลายๆ ท่านคงได้ยิน หรือเคยเจอปัญหาเกี่ยวกับพื้นดินทรุดตัวกันมาบ้าง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นแต่อย่างใด แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ใครอยากจะให้มันเกิดขึ้นกับบ้านเราอยู่ดี เพราะฉะนั้นในการที่จะเลือกซื้อบ้าน เราก็ควรจะศึกษาข้อมูลเรื่องหลักการสร้างบ้านไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภัยเหล่านี้กับบ้านเรา ซึ่งวิธีที่จะป้องกันไม่ให้บ้านเกิดปัญหาเช่นนี้ได้นั้น มีอะไรบ้างเราได้นำมาฝากให้ทุกท่านได้อ่านกันค่ะ
ปัญหาบ้านพื้นทรุด
ปัญหาบ้านพื้นทรุด เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการหมู่บ้านจัดสรร หรือบ้านที่ปลูกสร้างเอง ซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่สาเหตุ 

ขอบคุณภาพตัวอย่างจาก Pantip.com
สาเหตุที่ทำให้เกิดบ้านทรุด
กรณีบ้านทรุด หรือ พื้นที่บริเวณรอบๆ บ้านทรุดจากภาพตัวอย่างข้างต้น อาจจะยังไม่แน่ชัดว่าสิ่งที่จะทำให้พื้นทรุดนั้นเกิดจากอะไร ซึ่งสาเหตุอาจเกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากการก่อสร้าง หรือเกิดจากพื้นดินก่อนการก่อสร้าง ในทีนี้เราจะมาดูสาเหตุหลักๆ ว่าโดยทั่วไปแล้วอะไรที่ทำให้บ้านทรุดได้บ้าง
1. สาเหตุจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน มีหลายปัจจัย แต่ที่เกิดขึ้นบ่อยคือ
  • ก่อสร้างแบบฐานรากตื้น เช่น ใช้เสาเข็มสั้นเกินไปทำให้ปลายเสาเข็มอยู่ในดินอ่อน ไม่หยั่งลงในชั้นดินเหนียวแข็งหรือทรายแน่น เมื่อเกิดการทรุดตัว อาจทำให้ทรุดทั้งหลังในสัดส่วนที่เท่าๆกัน ซึ่งกรณีนี้อาจยังไม่มีความอันตรายมากนัก
  • ก่อสร้างแบบฐานรากเสาเข็มที่ความยาวแตกต่างกัน ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดกับการต่อเติม หรือ ดัดแปลงบ้านที่จะมีความยาวของเสาเข็มสั้นกว่าตัวบ้าน ซึ่งจะทำให้ทรุดไม่เท่ากันทั้งหลัง และอาจทำให้โครงสร้างเกิดการแตกร้าวได้
  • เสาเข็มไม่ได้มาตรฐาน เช่น เสาเข็มแตกหรือหักจากการขนส่งหรือขณะกดลงดิน และถ้ากำลังรับน้ำหนักเสาเข็มไม่เพียงพอ ก็จะทำให้บ้านทรุดตัวได้เช่นกัน
  • ไม่มีเสาเข็ม เช่นในส่วนของพื้นที่จอดรถส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีเสาเข็มรองรับ และเมื่อเกิดการทรุดตัวของดินทำให้ส่วนบริเวณที่ไม่มีเสาเข็มทรุดตัวลงไป พื้นบ้านเกิดการแตกหัก และอาจดึงเอาส่วนที่ติดกันทรุดตามลงไปด้วย
2. เกิดการเคลื่อนตัวของดิน พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้นมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ชั้นดินมีลักษณะเป็นดินเหนียวอ่อน โดยปกติแล้วดินกรุงเทพฯนั้นจะมีการทรุดตัวอยู่ไม่เกิน 10 เซนติเมตรต่อปี ซึ่งถ้าหากมีบ้านโครงการไหน ทรุดตัวเกิน 10 เซนติเมตรต่อปีถือเป็นเรื่องผิดปกติ และการเคลื่อนตัวของดิน อาจเกิดขึ้นได้ดังนี้
  • มีการขุดดินบริเวณใกล้เคียง ทำให้พื้นดินในบริเวณนั้นเสียสมดุล เกิดการเคลื่อนไหลของดินยิ่งเคลื่อนไหลมากอาจทำให้ฐานรากเสาเข็มถูกดันเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมได้มาก
  • การทิ้งระยะถมดินที่น้อยเกินไป เนื่องจากสภาพดินของแต่ละพื้นที่นั้นแตกต่างกัน บางพื้นที่เป็นดินเหนียวแข็ง บางพื้นที่เป็นดินทราย ซึ่งจะมีความแข็งและอ่อนของดินที่แตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นการทิ้งระยะถมดินของแต่ละพื้นที่นั้นจะแตกต่างกันไปตามสภาพดิน ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯมีสภาพเป็นดินเหนียวอ่อน ถ้าหากทิ้งระยะในการถมดินทิ้งไว้ก่อนการสร้างบ้านน้อยเกินไป หลังจากที่เริ่มสร้างบ้านแล้วอาจทำให้ดินเกิดการยุบตัวได้ไวทำให้บ้านทรุดได้
  • ตรวจสภาพดินไม่ถูกต้องหรือแม่นยำพอ ทางทีมวิศวกรจะต้องมีการขุดเจาะดินเพื่อตรวจสภาพดินก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าดินมีสภาพอย่างไร สามารถรับน้ำหนักได้เพียงพอหรือไม่ และยิ่งถ้าหากพื้นที่ตรงนั้นเคยมีแอ่งน้ำมาก่อนและไม่มีการตรวจสภาพดิน อาจทำให้การวางรากฐานบ้านเกิดความผิดพลาดได้
แนวทางการป้องกัน
สำหรับแนวทางการป้องกันเหตุการณ์พื้นดินทรุดนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องศึกษากันตั้งแต่ก่อนจะเริ่มสร้างบ้านเลยค่ะ เราไม่สามารถตัดสินได้จากรูปลักษณ์ภายนอกหรือทำเลบ้าน หรือแม้กระทั่งราคาบ้านได้ว่าจะไม่เกิดการทรุด ซึ่งปัจจัยที่เราจะใช้พิจารณานั้น มีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ
1. พื้นที่ในอดีตก่อนสร้างโครงการ - หลายๆ คนซื้อบ้าน โดยดูทำเลเป็นปัจจัยหลัก แต่สิ่งที่ควรคำนึงไม่แพ้กันคือพื้นที่แต่เดิมก่อนจะสร้างโครงการนั้นๆ ว่าเคยเป็นบึง หรือแอ่งน้ำมาก่อนหรือไม่ ซึ่งถ้าหากเป็นบึง หรือแอ่งน้ำมาก่อนก็จะทำให้ดินบริเวณนั้นมีความอ่อน เมื่อมีความอ่อนอัตราการทรุดตัวของดินก็จะมีมากกว่าพื้นดินปกติ แต่นั่นไม่ใช่สาเหตุที่จะทำให้เลือกหรือไม่เลือกที่จะซื้อบ้านตรงนั้น เพราะต้องดูปัจจัยในข้อต่อไปประกอบด้วยค่ะ
2. ระยะเวลาในการถมดินก่อนการก่อสร้าง - สืบเนื่องจากข้อ 1 การที่พื้นที่บริเวณนั้นเคยเป็นบึง หรือแอ่งน้ำมาก่อน ไม่ได้หมายความว่าจะสร้างอาคารบ้านเรือนไม่ได้ สิ่งที่ต้องดูประกอบกันไปคือ ระยะเวลาที่ใช้ในการถมดินก่อนการสร้างบ้าน ถ้าหากพื้นดินเป็นดินอ่อน มีการทรุดตัวได้ง่าย จึงควรที่จะถมดินทิ้งไว้ให้นานกว่า 4-6 ปีเป็นต้นไป ก่อนจะเริ่มมีการก่อสร้างใดๆ ซึ่งเราสามารถสอบถามกับทางโครงการ หรือผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงได้ค่ะ
3. พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย - นอกเหนือจากพื้นที่นั้นเคยเป็นบึง หรือแอ่งน้ำมาก่อนแล้ว ยังต้องดูว่าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยด้วยหรือไม่ สำหรับที่ราบลุ่มของกรุงเทพมหานครที่มีอัตราการเกิดน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง ก็เป็นเหตุทำให้หน้าดินอ่อนและเกิดการทรุดตัวได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
4. วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง - ถ้าหากทำเลนั้นเป็นทำเลที่เราหมายปองไว้ และอยากได้จริงๆ แต่ติดปัญหาดัง 3 ข้อข้างต้นที่กล่าวมา สิ่งที่พอจะสามารถป้องกันปัญหาบ้านทรุดได้อีกนั้นคือการที่โครงการใช้วัสดุในการก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน หรือเกินกว่ามาตรฐานก็ถือว่าเป็นเรื่องดี เช่น เพิ่มมาตรการในการป้องกันอุบัติภัยของโครงการบ้านนั้นๆ ให้มากกว่าบริเวณอื่นๆ (ที่ไม่เสี่ยงภัย) หรือมีระยะเวลาในการรับประกันภัยที่นานขึ้นเป็นต้น
5. การรับประกันของโครงการ - นอกเหนือจากปัจจัยข้างต้นที่กล่าวมา สิ่งที่พอจะทำให้อุ่นใจขึ้นมาได้บ้างก็คงเป็นการรับประกันภัยของโครงการ ส่วนใหญ่แล้วจะรับประกันโครงสร้างบ้านอยู่ที่ 5 ปี ซึ่งถ้าโชคดีได้นานกว่านั้นก็จะดี โดยเราสามารถดูระยะเวลาการรับประกันได้ในสัญญาจะซื้อจะขายบ้าน (กรณีซื้อบ้านโครงการจัดสรร) หรือสัญญารับเหมาก่อสร้างบ้าน (กรณีสร้างบ้านเอง)

การป้องกันบ้านทรุดนั้นเป็นสิ่งที่เราควรใส่ใจก่อนการซื้อบ้าน สำหรับกรณีของบ้านทรุดที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้นั้น ไม่ได้เกิดจากกรณีการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากโครงสร้างตัวบ้านยังคงแข็งแรงใช้งานได้ตามปกติ แต่สาเหตุเกิดจากส่วนที่ไม่ได้ลงเสาเข็มอย่างพื้นถนนหมู่บ้าน และลานจอดรถหน้าบ้าน ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุหลักของการทรุดตัว อย่างไรก็ตาม การแก้ไขงานบ้านทรุดตัวนั้นจำเป็นต้องหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่การซ่อมแซมแก้ไขที่ถูกต้องต่อไปค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง knowledge ข้อมูลความรู้เรื่องบ้าน
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)