x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เงินเดือน 20,000 บาท ซื้อบ้านได้ไหม?

icon 22 ส.ค. 66 icon 53,422
เงินเดือน 20,000 บาท ซื้อบ้านได้ไหม?
การได้เป็นเจ้าของบ้านสักหลังคือความฝันอันยิ่งใหญ่ของคนทำงานหลายๆ คนแต่กว่าจะเก็บเงินก้อนใหญ่เพื่อไปซื้อบ้านในฝัน อาจต้องใช้เวลาเกินครึ่งชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ไม่มากนัก เช่น 20,000 บาท ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงต้องขอสินเชื่อบ้านจากธนาคารเพื่อให้ความฝันเป็นจริงได้เร็วขึ้น แต่จะขอสินเชื่ออย่างไรให้ผ่านการพิจารณาจากธนาคาร เรามี 4 เคล็ดลับดีๆ จาก K-Expert ธนาคารกสิกรไทย มาฝากกันค่ะ
1. สร้างประวัติการชำระหนี้ที่ดี
ประวัติการชำระหนี้ถือเป็นปราการด่านแรกที่ธนาคารจะทำการพิจารณา ถ้าในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาไม่เคยมีประวัติชำระหนี้ล่าช้าหรือเหนียวหนี้ไม่ยอมจ่าย ก็ไม่ต้องกังวลอะไร แต่ถ้าเคยผิดนัดชำระหนี้ หรือจ่ายหนี้น้อยกว่าขั้นต่ำที่ระบุในสัญญา ก็ให้รีบเคลียร์หนี้ในส่วนที่ค้างอยู่ให้สถานะกลับมาเป็นปกติ ส่วนใครที่ผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือน จนทำให้เครดิตบูโรกลายเป็นหนี้เสีย หรือ NPL ก็จะต้องแก้ไขโดยชำระหนี้ให้หมด หรือเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้แล้วชำระให้เรียบร้อย จนหลุดพ้นจากการเป็นหนี้เสีย แล้วค่อยรักษาสถานะทางบัญชีให้เป็นปกติประมาณ 1-3 ปี จึงจะสามารถยื่นขอกู้บ้านได้อีกครั้ง
2. ประเมินความสามารถในการผ่อนชำระหนี้
โดยทั่วไปธนาคารจะดูจากรายได้ของผู้กู้เป็นหลัก ซึ่งธนาคารจะให้เราผ่อนชำระหนี้ได้ไม่เกิน 40-60% ของรายได้ในแต่ละเดือน ถ้าเป็นรายได้พิเศษหรือโบนัส ธนาคารก็อาจจะไม่ได้นำรายได้ส่วนนี้มาคำนวณ โดยรายได้ขั้นต่ำในการขอกู้บ้านจะอยู่ที่ 10,000-15,000 บาท ก่อนจะยื่นกู้ก็ลองคำนวณคร่าวๆ ดูก่อนก็ได้ค่ะ อย่างเช่น ถ้ามีรายได้ 25,000 บาท ธนาคารอาจให้ผ่อนหนี้ทุกชนิดรวมกันไม่เกิน 40% ของรายได้ เท่ากับจะผ่อนหนี้ไม่ได้ไม่เกิน 10,000 บาท เป็นต้น ซึ่งถ้าลองยื่นกู้แล้วพบว่าวงเงินที่ธนาคารอนุมัติน้อยกว่าราคาบ้านที่ต้องการ ก็จะมีทางให้เลือก คือ 1. หาเงินดาวน์เพิ่มเพื่อขอวงเงินกู้น้อยลง 2. หาผู้กู้ร่วมที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด 3. ลดขนาดบ้านที่ต้องการ
3. คำนวณอายุ
สำหรับธนาคารแล้ว อายุไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวเลข เพราะเวลายื่นสินเชื่อบ้าน ธนาคารจะพิจารณาจากอายุงานและอายุของผู้กู้  โดยทั่วไปผู้กู้ต้องมีอายุงานไม่น้อยกว่า 6 เดือน - 2 ปี และต้องผ่านช่วงทดลองงานก่อน สำหรับเจ้าของกิจการก็ควรประกอบกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1-2 ปี ส่วนอายุของผู้กู้นั้นก็ควรมีอายุตั้งแต่ 21 ปี ขึ้นไป ซึ่งสามารถผ่อนชำระสินเชื่อบ้านได้สูงสุดไม่เกิน 30 ปี และผ่อนได้ไม่เกินอายุ 60 ปี สำหรับมนุษย์เงินเดือน และ 65 ปี สำหรับเจ้าของกิจการ เช่น ถ้ามีอายุ 40 ปี และทำงานในบริษัทเอกชน ก็จะผ่อนสินเชื่อบ้านได้สูงสุดไม่เกิน 20 ปี เป็นต้น ระยะเวลาที่ลดลงทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นต้องคำนวณดีๆ ที่สำคัญต้องชั่งใจให้ดีว่าจะจ่ายไหวหรือไม่
4. หาหลักประกัน
ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีใครเดินตัวเปล่าเข้าธนาคารไปขอสินเชื่อบ้าน แต่ต้องมีเงินดาวน์ติดกระเป๋าประมาณ 5-20% ของราคาบ้านที่จะซื้อ ซึ่งบ้านและคอนโดมิเนียมแต่ละโครงการ อาจมีเงื่อนไขจำนวนเงินดาวน์ไม่เท่ากัน ต้องตรวจสอบและคำนวณเงินในกระเป๋าให้ดี ส่วนใครที่อยากเป็นเจ้าของที่ดินเปล่า ธนาคารมักจะไม่อนุมัติวงเงินสินเชื่อ และสำหรับบ้านมือสอง ก็อาจต้องวางเงินดาวน์ประมาณ 20% ของราคาบ้าน 
เมื่อรู้แบบนี้แล้วก็น่าจะทำให้การขอสินเชื่อบ้านกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นนะคะ สรุปแล้วเงินเดือน 20,000 บาท ของเรา ก็มีโอกาสยื่นขอสินเชื่อบ้านได้สบายๆ เพียงแต่ต้องวางแผนทางการเงินตั้งแต่เนิ่นๆ และเมื่อขอสินเชื่อบ้านผ่านแล้ว ก็สามารถหมดภาระหนี้ได้เร็วขึ้นด้วยการโปะหนี้บ้านหรือชำระหนี้มากกว่ายอดผ่อนที่กำหนดไว้ในแต่ละเดือน เพราะการโปะหนี้จะทำให้ยอดเงินต้นลดลง และประหยัดดอกเบี้ยจ่าย ดังนั้น หากได้รับโบนัสหรือเงินก้อนพิเศษเข้ามา การนำไปโปะหนี้บ้านจะช่วยให้ภาระหนี้บ้านหมดไวขึ้นค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ดอกเบี้ยกู้บ้าน กู้บ้าน กู้ธนาคาร ซื้อบ้าน
Property Guru
เขียนโดย ปรียานุช สองศร Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)