ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • ราคาทองคำคิดอย่างไร... ใครกำหนด?

    29 พ.ย. 56 66,577
    ราคาทองคำคิดอย่างไร... ใครกำหนด?
    ปกติเวลาเราซื้อ หรือขายทองจะเห็นว่าร้านค้าทองจะเขียนราคาซื้อ-ขาย ติดไว้ที่หน้าร้าน แล้วเราเคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่า ใครเหรอที่เป็นคนกลางกำหนด แล้วกำหนดโดยใช้เกณฑ์อะไร วันนี้ Checkraka.com มีคำตอบง่ายๆ สั้นๆ มาให้ค่ะ
    ใครกำหนด?
    ในตลาด Gold Spot ของทองคำในเมืองไทยนั้น สมาคมค้าทองคำ (Gold Traders Association) จะเป็นผู้กำหนดราคาทองคำแท่ง และทองรูปพรรณในทุกๆ เช้าเพื่อให้ร้านค้าทองคำทั่วประเทศไทยใช้ในการซื้อ-ขาย โดยใช้เกณฑ์ และพิจารณาปัจจัยหลายอย่างประกอบ โดยมีคณะกรรมการควบคุมราคาทองของสมาคมค้าทองคำเป็นผู้คอยกำกับดูแลตลอดช่วงเวลาการซื้อขาย โดยยึดถือหลักประชาธิปไตยในการกำหนดราคาทองคำ ถือเสียงส่วนมาก 3 ใน 5 เสียงในการตัดสินใจ ซึ่งคณะกรรมการที่กำหนดราคานี้ประกอบไปด้วยผู้แทนจาก
    1. ห้างทองจินฮั้วเฮง
    2. ห้างทองฮั่วเซ่งเฮง
    3. ห้างทองเลี่ยงเส็งเฮงพาณิชย์
    4. ห้างทองหลูชั้งฮวด
    5. ห้างทองแต้จิบฮุย
    ซึ่งร้านห้างทองเหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
    เกณฑ์การกำหนดราคา
    ราคาทองคำในเมืองไทยโดยปกติจะเริ่มมีการกำหนดตั้งแต่ตอนเช้า และอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้วันละหลายครั้ง ขึ้นอยู่กับความผันผวนของปัจจัยต่างๆ บางวันอาจมีการเปลี่ยนแปลงราคาหน้าร้านถึง 4 - 5 ครั้ง สำหรับราคาทองคำในเมืองไทย จะถูกประกาศครั้งแรกโดยสมาคมค้าทองคำ ในเวลาประมาณ 9.30 - 9.50 น.ของแต่ละวันเป็นหลักก่อน โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ (เสาร์-อาทิตย์ราคาจะไม่เปลี่ยนโดยจะใช้ราคาที่ประกาศครั้งสุดท้ายของวันศุกร์) ซึ่งในการกำหนดราคาทองของสมาคมฯ จะมีหลักการคร่าวๆ ดังนี้
    (ก) เริ่มต้นด้วยการนำ หรืออ้างอิงราคา Gold Spot ในตลาดโลกเป็นตัวเริ่ม
    (ข) เสร็จแล้วก็พิจารณาถึงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อ US ดอลล่าร์ บวกหรือลบค่า Premium จากผู้ค้าทองในต่างประเทศ (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าเป็นสภาวะการนำเข้า หรือการส่งออก) แล้วคำนวณออกมาให้เป็นเงินบาท
    (ค) หลังจากนั้น ก็จะต้องทำการแปลงหน่วยน้ำหนักจากหน่วย Ounce (ออนซ์) ให้เป็นหน่วยน้ำหนักของไทย คือ "บาท"
    ทั้งนี้ ในการตัดสินใจประกาศราคาทองในประเทศไทยแต่ละครั้งนั้น ทางสมาคมทองคำจะต้องพิจารณาองค์ประกอบของ Demand และ Supply ทองคำภายในประเทศประกอบด้วย
    ตัวอย่างการคำนวณราคาทองสำหรับราคาในเมืองไทย
    วันนี้ ทีมงาน CheckRaka ขอนำสูตรการคำนวณราคาทองคำในเมืองไทยมาฝากกันค่ะ
    • Gold Spot คือ ราคาทองต่างประเทศ (เทียบกับราคาทองคำในตลาดนิวยอร์ก) สามารถดูได้จากประกาศของสมาคมค้าทองคำ (ยกตัวอย่าง Gold Spot ของวันที่ 1 พ.ย.2556 ดังภาพด้านล่าง)
    • อัตราแลกเปลี่ยน ในที่นี้จะสมมติอัตราแลกเปลี่ยนเป็น Baht/USD โดยสามารถดูได้จากประกาศของสมาคมค้าทองคำ (ยกตัวอย่างอัตราแลกเปลี่ยน Baht/USD ณ วันที่ 1 พ.ย.2556 = 31.20)
    • Premium คือ ต้นทุนในการนำเข้าทองคำจากต่างประเทศ ประมาณ 1 - 2 เหรียญ (ซึ่งก็คือ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการนำเข้า-ส่งออกทองคำ รวมถึง ค่าขนส่ง ค่าความเสี่ยง ดอกเบี้ยธนาคาร ค่าประกันภัยต่างๆ ที่ถูกกำหนดมาโดยผู้ค้าทองในต่างประเทศ)
    • ตัวเลข 32.148 คือ น้ำหนักของทองคำ 1 กิโลกรัม เมื่อเทียบเป็น Ounce (ออนซ์) โดยเทียบจากทองคำต่างประเทศ 99.99% (หรืออาจเรียกว่าเป็นทอง 100% ก็ได้)
    • ตัวเลข 0.965 คือ ค่าความบริสุทธิ์ของทองคำในประเทศไทย 96.5% หรือ 96.5/100
    • ตัวเลข 65.6 คือ น้ำหนักของทองคำ 1 กิโลกรัมเมื่อเทียบเป็นน้ำหนักบาท (96.5%)
    ทีนี้เราลองมาแทนค่าในสูตรดูเอาแบบของจริงเลยนะคะ
    เรามาดูราคาของจริงตามตารางแสดงราคาทองคำที่สมาคมค้าทองคำประกาศ ณ วันที่ 1 พ.ย.56 เวลา 9.25 น.
    จะเห็นได้ว่าราคาขายทองคำที่สมาคมค้าทองคำประกาศออกมาคืออยู่ที่บาทละ 19,600 บาท  แต่ในตัวอย่างข้างบนคำนวณได้ที่ 19,564.80 บาท ซึ่งมีความแตกต่างกันนิดหน่อยที่ 35.2 บาท การที่มีความแตกต่างตรงนี้ก็เป็นเพราะว่า โดยปกตินั้น ราคาทองคำที่สมาคมค้าทองคำประกาศจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าที่คำนวณได้จากสูตรเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น Demand และ Supply ทองคำภายในประเทศ สภาพเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะเป็นตัวแปรที่ส่งผลให้เกิดส่วนต่างระหว่างราคาที่สมาคมทองคำประกาศ กับราคาที่เราคำนวณได้ข้างต้น
    อ่านจบแล้ว หวังว่าจะทำให้เห็นภาพมากขึ้นนะคะว่าราคาแต่ละวันมันขึ้นๆ ลงๆ มาได้อย่างไร และใครเป็นคนกำหนด และตัวเลขพวกนี้มาจากไหน ขอให้เฮงๆ กำไรทองคำกันทุกคนนะคะ

    บทความเกี่ยวกับราคาทองคำอื่นๆ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)